Factors Affecting the Policy Interest Rate in Thailand(ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทย)

Authors

  • พิริยะ เคี้ยนสมบูรณ์ (Piriya Khensomboon)
  • ดร. อรุณ เกียระสาร (Dr. Arun Kiarasarn)

Keywords:

Policy Interest Rate(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย), Bank of Thailand(ธนาคารแห่งประเทศไทย)

Abstract

อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอัตราดอกเบี้ยชี้นำที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยต่างๆในระบบการเงินของประเทศเปลี่ยนแปลงตาม รวมทั้งยังทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคการผลิตเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายเดือน ตั้งแต่ มกราคม 2543 ถึง ธันวาคม 2549 รวม 72 เดือน โดยใช้วิธีสมการถดถอย และทดสอบ cointegration เพื่อหาผลของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในระยะยาว และนำค่าที่คาดประมาณได้มาทำการวิเคราะห์ถึงขนาดและทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลการศึกษา พบว่า ในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารพาณิชย์ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ มีผลกระทบเป็นบวกต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ กลับมีผลกระทบทางลบ ส่วนในระยะสั้น พบว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆเช่นเดียวกับระยะยาวยกเว้นอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา

Policy Interest Rate is an important tool to improve the stability of economic system. Because Policy Interest Rate is the leading interest which influenced interest rates in domestic monetary system and the production cost of production sector. Therefore, the study of factors affecting the policy interest rate can influence the direction of the economy. Monthly data over the period of January 1998 to December 2006 (totally 72 months) are used for estimating factors effecting policy interest rate. Regression and cointegration techniques are used for estimating the coefficient of the factors affecting the policy interest rate and analyzing the magnitude and the direction of policy interest rate. The empirical results indicated that in the long-run, Core inflation, Inter bank rate, and Minimum loan rate have positive effects, while Fed fund rate, Headline inflation and Saving rate have negative effects on Policy interest rate. In the shot-run, It is found that Policy interest rate is affected by the same factors, except the Fed fund rate.


Downloads

Published

2014-11-22

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์