The Application of Health Belief Model and Social Support on Preventive Dental Caries and Gingivitis Behavior of Primary School Students at Nakha Sub-district, Muang District, Udon Thanee Province

Authors

  • สุกัญญา แซ่ลี้ (Sukanya Saelee) Khon Kaen University
  • นิรมล เมืองโสม (Dr.Niramon Muangsom) Khon Kaen University

Keywords:

Health belief model(แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ), Social support(การสนับสนุนทางสังคม), Dental caries(ฟันผุ), Gingivitis(เหงือกอักเสบ), Primary school students(นักเรียนชั้นประถมศึกษา)

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียนประถมศึกษา ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาประกอบด้วย การบรรยายประกอบสไลด์ วิดีโอเทป ภาพพลิก โปสเตอร์ ตัวแบบ อภิปรายกลุ่ม สาธิตและฝึกปฏิบัติ และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในการกระตุ้นเตือนจากผู้ปกครอง ครู และเพื่อน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกค่าปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา และ เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม ทำให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากผลการวิจัยแสดงว่า โปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ดำเนินการในเด็กนักเรียนประถมศึกษา ทำให้นักเรียนมีความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ และปริมาณแผ่นคราบ จุลินทรีย์ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรพิจารณานำไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบกับนักเรียนกลุ่มอื่นๆ ต่อไป 

The purpose of this quasi-experimental research was to determine the effects of the application of Health Belief Model and Social Support on dental caries and gingivitis preventive behavior among students at grade 6 primary school at Nakha Sub-district, Muang District, Udon Thanee Province. The sample consisted of 62 students and were divided into two groups; 32 students in the experiment and 30 students in the comparison group. Participants of the experiment group also received a Dental Health Education Program that was comprised of lectures by slides, video, group discussion, modeling, and social support motivation from parents, teachers and friends. The comparison group received a normal Dental Health Education Program. Interview technique with structured questionnaires and dental plaque examination records were used for data collection. Descriptive statistics and inferential statistics were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test. The results showed that the application of Health Belief Model and Social Support on dental caries and gingivitis prevention behavior could enhance a significant increase in knowledge, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits of dental caries and gingivitis prevention behavior and dental caries and gingivitis prevention behavior were improved significantly (p-value < 0.05). The results of this study also suggested that this health education program was suitable for promoting of dental health other groups of students.

Downloads

Published

2014-11-22

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ