The Development of Performance Appraisal System of Governmental Teachers(การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู)

Authors

  • จตุรงค์ อินทรรุ่ง (Chaturong Intrararoong)
  • ดร.สุภัทรา เอื้อวงศ์ (Dr.Supathra Urwongs)
  • ดร.ศิริเดช สุชีวะ (Dr.Siridej Sujiva)

Keywords:

Development(การพัฒนา), Performance appraisal system(ระบบประเมินผลปฏิบัติงาน), Governmental teachers(ข้าราชการครู)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ระบบ การสังเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ และการประเมินระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการประเมิน ผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ประเมิน และเนื้อหาการประเมิน 2) กระบวนการ ประกอบด้วย ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการประเมิน ดำเนินการประเมินตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลข้อมูล 3) ผลผลิต ประกอบด้วย ผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูจำแนกตามรายบุคคล ผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในภาพรวมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูครูในภาพรวมของโรงเรียน 4) ข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วยข้อมูลย้อนกลับสำหรับผู้ถูกประเมินรายบุคคล กลุ่มสาระการเรียนรู้ และสำหรับโรงเรียน

The research objective is to develop the performance appraisal system of governmental teachers in affiliated with the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. There are 4 steps in research method, which are system analysis, system synthesis, system design and system evaluation. In this research, the evaluation tool for performance appraisal system among governmental teachers is the form of rating scale. The research result was found that performance appraisal system has 4 main elements, which are 1) The input factors are combined with evaluation objectives, performance evaluator, evaluation tools and performance appraisal description. 2) The process are combined with 5 steps which are describing appraisal system, conducting appraisal program according to specific elements and indicators, analyzing the data, and interpreting the research results. 3) The output are teacherûs individual performance appraisal, teacherûs performance appraisal in learning department perspective, and teacherûs performance appraisal in school perspective. 4) The feedback is combined with participantûs individual feedback data, learning departmentûs feedback data, and schoolûs feedback data.


Downloads

Published

2014-11-22

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์