Mealns to Improve Childrenûs Television Programe(แนวทางการพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก)

Authors

  • ภัทราณีย์ พัวโสพิศ (Patranee Puasopis) Khon Kaen University
  • ดร.วิภาวี กฤษณะภูติ (Dr.Wipavee Grisanaputi) Khon Kaen University

Keywords:

Models of current children's(รูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึ่งประสงค์สำหรับเด็ก), Television programming(แนวทางการพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก), Means to improve children's television programe(สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง11 จังหวัดขอนแก่น)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบและปัญหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในปัจจุบัน : กรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก และ 3) หาแนวทางการพัฒนาความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) โดยมีแนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guide) เป็นเครื่องมือหลักและได้เลือกกรณีที่น่าสนใจคือผู้ให้ข้อมูลที่ชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง สัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) รวมทั้งได้ใช้การสังเกต (Observation) ประกอบอีกด้วยและได้ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า  1. รูปแบบและปัญหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ รูปแบบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กด้านเนื้อหาของรายการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน และผลงานนักเรียน สอนให้เด็กรู้จักตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สอนให้เด็กแสดงความสามารถ เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชื่อมโยงสู่ชุมชน สำหรับด้านวิธีการนำเสนอ ได้แก่ใช้พิธีกรหลักในการดำเนินรายการและให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม หรืออยู่ในเหตุการณ์ร่วมกับครูและผู้ปกครอง มีการดำเนินรายการภาคสนามให้เด็กได้เล่าประสบการณ์หรือนำชมผลงานด้วยตนเอง ปัญหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จังหวัดขอนแก่น ปัญหาด้านเนื้อหา ได้แก่ การดำเนินรายการที่มีเนื้อหาเดิม ๆ ใช้ภาษายาก ฟังไม่เข้าใจ เนื้อหาของรายการไม่กระชับ และไม่สามารถแยกได้ว่ารายการใดเป็นรายการสำหรับเด็ก ขาดรายการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ปัญหาด้านวิธีการนำเสนอรายการ ได้แก่ การใช้วิธีการเดิม ๆ ไม่มีความหลากหลาย บางครั้งผู้ดำเนินพูดเร็วเกินไป การนำเสนอขาดความต่อเนื่องและความชัดเจน ไม่มีดาราและเด็กมีส่วนร่วม เด็กยังไม่กล้าแสดงออก  2. ความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก ได้แก่ต้องการเกมส์ฝึกสมอง รายการตอบปัญหา รายการกีฬา รายการทอร์คโชว์ การช่วยเหลือคนยากไร้ ฝึกให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูล และต้องการรายการบันเทิงอาทิ การ์ตูน ละคร ภาพยนตร์ ด้านวิธีการนำเสนอ ได้แก่ การให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสนอรายการให้มากขึ้น เพิ่มเวลาในการนำเสนอรายการและให้นักเรียนแสดงออกให้มากขึ้นเพื่อให้เขากล้าแสดงออก ด้านเวลาในการเสนอรายการ ได้แก่ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 12.00-13.00 น.ที่จะทำให้เด็กได้มีโอกาสรับชมรายการมากขึ้น โดยเฉพาะผลงานของโรงเรียน วันธรรมดาต้องการช่วงเวลา 17.00– 20.00 น. ควรเป็นรายการที่มีสาระ ให้ความรู้ และเป็นรายการที่น่าสนใจ สร้างสรรค์ ไม่มีความรุนแรง  3. แนวทางการพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์ที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก แนวทางการพัฒนาด้านเนื้อหา ได้แก่ รายการที่ให้ความรู้ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รายการที่นำเด็กมาแสดงความสามารถ เน้นเนื้อหาชีวิตในชนบท แนวทางการพัฒนาด้านวิธีการนำเสนอ ได้แก่ การเปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอรายการและร่วมรายการเพิ่มมากขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์รายการเพิ่มขึ้น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย แนวทางการพัฒนาด้านอื่น ๆ ควรเชื่อมโยงรายการไปยังช่องต่าง ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวคิดเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์

This research aims to 1) study models and problems of current childrenûs television programming for a case study of National Radio and Television Channel 11 of Khon Kaen Province, 2) examine the needs of desirable childrenûs television programming and 3) provide means to improve childrenûs television programming. This is qualitative research. The informants including eight primary school students each from Baan Daeng Yai and Baan Noon Toon Samakkee Suksa schools, eight high school students each from Nakhorn Khon Kaen and Fhang Vittayakhom, two parents from each level, two community residents from each of four communities and five television production staff. The research tool for data collection was Semi-Structured Interview (SSI) with Interview Guide as a major tool. Interesting cases were chosen to have a further in-depth interview. Observation was also used to collect data. The results were analyzed using the descriptive analytical approach. Results are as follows: 1. The models of the current childrenûs television programming on Channel 11 consist of models of program content and program presentation. The models of program content are composed of content concerning school activities and students' work, teaching students to know themselves, to be able to work with others, teaching students to show their potential, local tradition and culture. The models of program presentation use a main emcee to host the program, allowing students to join the program or follow the program with teachers or parents, having field programs letting students tell their own story, experience or show their work. The problems of childrenûs television programming on Channel 11 are the problems of program content and program presentation. The problems of program content are repetitive content, difficult language causing confusion and misunderstanding, redundant content, inability to distinguish children's programming from regular programming, and lack of tourism program. The problems of program presentation include using the same presentation style with no variety of presentation, the emcee sometimes speaks too quickly, discontinuous and unclear presentation, no movie stars, and students not brave enough to show off their work. 2. Needs of a desirable childrenûs television programming are the needs for the programs of logic game, question and answer game, sports, talk shows, helping the poor, training children to help others, and other entertainment; such as cartoons, period dramas, and movies. The needs for program presentation are an increased of number of children participating in the program, more time for the show, and encouraging students to show off more. The best time for the show should be Saturday and Sunday during 12:00 - 13:00 P.M. because it allows children to be able to watch the show. The best time for the weekdays is between 17:00 - 20:00 P.M. The show should contain knowledge and creativity, without violence. 3. Means to improve childrenûs television programming are composed of the improvement of content and the improvement of presentation. Means to improve the content of childrenûs television programming are to be a program with knowledge, use easily understood language, allow children to show off their potential, and focus on local life. Means to improve the presentation of childrenûs television programming are to provide children with more opportunity to be an emcee and to join the program, better promote the programs, and use easily understood language. Means to improve other aspects are that the channel should link its program to other channels in order to exchange culture and concepts and enhance its knowledge and experience.


Downloads

Published

2014-11-22

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์