การจัดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้รถตัด เมื่อพิจารณาเงื่อนไขความเหมาะสมของแปลงและประเภทของรถตัดอ้อย
คำสำคัญ:
การจัดตารางการเก็บเกี่ยว, เครื่องจักรแบบขนานที่ไม่เกี่ยวข้องกัน, รูปแบบทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาการจัดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้รถตัด ซึ่งพิจารณาเงื่อนไขความเหมาะสมของแปลงและประเภทของรถตัดอ้อยด้วยการพัฒนารูปแบบทางคณิตศาสตร์ จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้รถตัด ยังขาดประสิทธิภาพในการจัดการที่ดี ทำให้ส่งผลต่อต้นทุนการเก็บเกี่ยว ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงคุณภาพของอ้อย จึงจำเป็นจะต้องมีการจัดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้รถตัดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรูปแบบการเก็บเกี่ยวของรถตัดอ้อยเป็นปัญหาในลักษณะเครื่องจักรแบบขนานที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ภายใต้เงื่อนไขการใช้รถตัดอ้อยที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่การเก็บเกี่ยว และเงื่อนไขด้านเวลาในการเตรียมแปลงก่อนการเก็บเกี่ยวที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เวลาแล้วเสร็จของการเก็บเกี่ยวอ้อยทุกแปลงที่ต่ำที่สุด จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ารูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการพัฒนาคำตอบและด้านระยะเวลาในการค้นหาคำตอบ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบระยะเวลาที่โรงงานกรณีศึกษายอมรับได้
References
Office of Agricultural Economics [Internet]. 2016 [cited 2020 May 21]. Available from: http://www.oae.go.th/view/1/ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร/TH-TH
Kusoncum C, Sethanan K, Pitakaso R, Hartl RF. Heuristics with novel approaches for cyclical multiple parallel machine scheduling in sugarcane unloading systems. Int J Prod Res. 2020; 1–19.
Office of the Cane and Sugar Board. Thailand Sugar Cane Production Report Production Year 2017/2018 [Internet]. 2018 [cited 2020 May 23]. p. 1–114. Available from: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
Kusoncum C, Sethanan K, Pattanapairoj S, Neungmatcha W. Algorithms Development for Scheduling and Sequencing of Sugarcane Truck to Dump Tippler in Cane and Sugar Industry in Central Region of Thailand. KKU Res J. 2019; 19(4): 111–126. Thai.
Sethanan K. Metaheuristics and Applications for Industry. 1st ed. Khonkaen: Klhangnanawitthaya; 2015. Thai.
Sethanan K, Neungmatcha W. Multi-objective particle swarm optimization for mechanical harvester route planning of sugarcane field operations. Eur J Oper Res. 2016; 252(3): 969–984.
Worasan K, Sethanan K, Pitakaso R, Moonsri K, Nitisiri K. Hybrid particle swarm optimization and neighborhood strategy search for scheduling machines and equipment and routing of tractors in sugarcane field preparation. Comput Electron Agric. 2020; 178: 105733.
Fanjul-Peyro L. Models and an exact method for the Unrelated Parallel Machine scheduling problem with setups and resources. Expert Syst with Appl X. 2020; 5: 100022.
Office of the Cane and Sugar Board. Thailand Sugar Cane Production Report Production Year 2019/2020 [Internet]. 2019 [cited 2020 Dec 10]. p. 1–3. Available from: http://www.ocsb.go.th/upload/production/fileupload/142-6015.pdf