กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ทางด้านการคมนาคม: การศึกษาพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อรถสองแถวประจำทางภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Clean Development Mechanism (CDM) for Transportation Sector: A Study of Alternative Fuel for Song Thaew in Khon Kaen University)
Keywords:
Clean development machanism(กลไกการพัฒนาที่สะอาด), Carbon dioxide emission(การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์), Alternative fuel(เชื้อเพลิงทางเลือก)Abstract
บทความนี้จะเสนอแนวทางในการคำนวณหาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของรถสองแถวประจำทางที่ให้บริการผ่านภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามกระบวนการของกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) พร้อมทั้งศึกษาการเลือกใช้เชื้อเพลิงเพื่อลดปริมาณการปล่อย CO2 โดยที่การคำนวณปริมาณการปล่อย CO2 นั้นใช้วิธีการคำนวณแบบ Bottom-Up for Network (การคำนวณปริมาณการปล่อย CO2 จากค่าเฉลี่ยของข้อมูลยานพาหนะในโครงข่ายถนน) ตามกระบวนการ CDM การคำนวณจากวิธีที่กล่าวมา จะอธิบายจาก 3 กรณีการเลือกใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยจะเลือกใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติอัด (CNG), น้ำมันไบโอดีเซลซึ่ง มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงที่ได้จากพืช 5 เปอร์เซ็นต์ (B5) และน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน (Baseline Case) ว่ามีปริมาณการปล่อย CO2 แตกต่างกันเท่าใด ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่เหมาะสมของการเลือกใช้เชื้อเพลิงของระบบขนส่งสาธารณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการลดปัญหามลพิษทางอากาศ ผลการศึกษาพบว่าการเลือกใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) สามารถลดปริมาณการปล่อย CO2 และปริมาณพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ได้สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ที่ได้ทำการศึกษา
This paper presents a methodology for calculating an amount of Carbon Dioxide (CO2) emissions from Song Thaew (public transportation) of Khon Kaen University following the Clean Development Mechanism (CDM). This study also selects the suitable energy to decrease Carbon Dioxide (CO2) emissions of Song Thaew. A Bottom-Up for Network approach is used to calculate an amount of Carbon Dioxide (CO2) emissions which discusses in 3 case studies of alternative types of fuel energy including: 1) Compressed Natural Gas (CNG), 2) Biodiesel (B5) mixed with 95% diesel and 3) An existing used Diesel (Baseline Case). To compare of CO2 emissions from different fuel usage, it aims to provide a decision support for selecting fuel for Song Thaew of Khon Kaen University to reduce an air pollution problem. The comparitive results can be concluded that CNG is more effective than the others fuel in term of less CO2 emission and fuel consumption aspects.