การจำลองการเคลื่อนที่ของฟอสฟอรัสภายใต้สภาพที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำในดินทราย (Simulation of Phosphorus Movement under Unsaturated Condition in Sandy Soils)

Authors

  • พรชัย มั่นคง (Pornchai Mankong)
  • ดร.วิทยา ตรีโลเกศ (Dr.Vidhaya Trelo-ges)
  • ดร.วิชัย ศรีบุญลือ (Dr.Vichai Sriboonlue)

Keywords:

Phosphorus(ฟอสฟอรัส), Sandy soils(ดินทราย), Unsaturated soil(ดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ)

Abstract

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นเวลาหลายปี มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต ธาตุอาหารสามารถสูญเสียหรือถูกชะล้างออกโดยน้ำได้ง่ายในดินทราย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส จึงทำการศึกษาการเคลื่อนที่ของฟอสฟอรัสโดยใช้ชุดดินดินน้ำพอง และ ชุดดินบ้านไผ่ บรรจุดินลงในท่อพลาสติดสูง 120 ซม. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 ซม. เท่ากับความหนาแน่นรวมของดินจากภาคสนาม 1.640 และ 1.675 Mg/m3 ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (0-46-0) อัตรา 187.5 กก./เฮกตาร์ เมื่อได้รับน้ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7, 14, 21 และ 28 วัน ในการไหลแบบไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของฟอสฟอรัสในแท่งดิน (soil column) เก็บตัวอย่างดินทุกๆ ระยะ 10 ซม. เพื่อวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในดิน ผลการศึกษาพบว่า ได้แบบจำลองการเคลื่อนที่เป็นรูปสมการเส้นตรง y = ax + b แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง (x) กับปริมาณฟอสฟอรัส (y) โดยค่า R2 ของชุดดินบ้านไผ่มีค่ามากกว่าชุดดินน้ำพอง แนวโน้มของปริมาณฟอสฟอรัสลดลงตามความลึกดิน ทั้งสองชุดดินมีการชะล้างเล็กน้อยที่ความลึก 20-60 ซม. และเคลื่อนที่ลงมาสะสมที่ความลึก 60-90 ซม.  ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการจำลองการเคลื่อนของฟอสฟอรัสในแท่งดินของดินทราย เพื่อหาสมการพื้นฐานที่ได้จากชุดดินศึกษาในห้องปฏิบัติการ

Northeast Thailand is typically located in undulating terrain. Filed crops are grown as monoculture in a continuous fashion as they have been cultivated for many years. This has caused land degradation. A high fertilizer rate has been used to maintain acceptable yields. And soils in Northeast Thailand mostly are sandy and coarse in texture, low in plant nutrient contents due to leaching, especially phosphorus. The studies were consisted of phosphorus movement through unsaturated zone in soil columns. Soil samples from Nam Phong soil series (Ng: Grossarenic Haplustalfs) and Ban Phai soil series (Bpi: Arenic Paleustalfs) were packed into a plastic tube 120-cm-long as soil column with inner diameter of  7.5 cm at bulk density of 1,640 and 1,617 Mg/m3.  Phosphorus fertilizer (0-46-0) was applied to the top of soil columns at the rate of 187.5 kg ha-1. Soil samples were collected at each 10 -cm-long to analyze total phosphorus (TP) in soils. Simulation of phosphorus movement in soil column can be calculated from linear equation y = ax + b.  Correlation between soil depth (x) and TP (y) at 7, 14, 21 and 28 days in Bpi has higher correlation than Ng. The study showed that, trend of TP concentration decreased with soil depth in both sandy soils, while in lower layer depths (20-60 cm), the Total phosphorus concentration decreased indicating little leaching. TP was leached from the top soil and accumulated in the depth of 60-90 cm depths. The simulation of P movement in soil columns from this study was basically empirical equation derived from laboratory experimental data.

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ