สิ่งจูงใจในการผลิตหญ้าแพงโกล่าในพื้นที่นาของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม (Incentives for Pangola Grass (Digitariaeriantha) Production in Paddy Land of Farmers in Changwat Khon Kaenand Changwat Maha Sarakham)

Authors

  • กุหลาบทิพย์ ชาหอมชื่น (Kularbthip Chahomchuen)
  • ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี (Dr.Prasit Prakongsri)
  • ดร.สุรเดช พลเสน (Dr.Suradej Pholsen)

Keywords:

Incentives for production(สิ่งจูงใจในการผลิต), Pangola grass(หญ้าแพงโกล่า)

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา สิ่งจูงใจในการผลิตหญ้าแพงโกล่าในพื้นที่นาของเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 จากเกษตรกรผู้ผลิตหญ้าแพงโกล่าในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคามจำนวน 130 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดของข้อมูล ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ (Chi-square) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แครเมอร์วี (Cramer’s V) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีสิ่งจูงใจในการผลิตหญ้าแพงโกล่าในระดับมาก 4 ด้าน คือ 1) ประสบการณ์และความสนใจในการผลิตหญ้าแพงโกล่า 2) คุณสมบัติที่ดีของหญ้าแพงโกล่าที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีและปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี 3) ความสะดวกในการผลิต โดยมีขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อนและการปลูกหนึ่งครั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นเวลายาวนาน และ 4) ผลตอบแทนจากการผลิตที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน สิ่งจูงใจที่มีระดับปานกลางจำนวน 5 ด้าน คือ 1) ความพร้อมด้านความรู้และปัจจัยการผลิต 2) ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์และความปลอดภัยจากสารเคมีปราบศัตรูพืช 3) ความเหมาะสมทางด้านสภาพกายภาพของพื้นที่ 4) การตลาดและการจำหน่ายผลผลิต โดยผลผลิตหญ้าแพงโกล่าเป็นที่ต้องการของตลาด มีแหล่งรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง และ 5) การส่งเสริมและบริการสนับสนุน ซึ่งมีการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต และการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตหญ้าแพงโกล่า สิ่งจูงใจที่มีระดับน้อยจำนวน 2 ด้าน คือ 1) ความภาคภูมิใจในความสำเร็จ และ 2) การได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น

The aims of this research were to study incentives for pangola grass production in paddy land of farmers. The data of research were collected by interviewing during April to May 2007 from 130 farmers who grew pangola grass production in Changwat Khon Kaen and Changwat Maha Sarakham. Data were statistically analyzed and expressed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. Chi-square and correlation coefficient (Cramer's V). The study results showed that the incentives for grass production of the farmers classified in high level were 1) experiences and interest of the farmers 2) good characteristics on high productivity, high quality, and good adaptation of pangola grass 3) convenience of production, simple production process and harvest for several times by each growing and 4) net profit of production. There were 5 aspects classified in medium level including 1) knowledge and input factors 2) animal feed security and pesticide safety 3) physical land suitability 4) marketing and product distribution; e.g. pangola grass was one of the market need and had a continuous demand and 5) extension and promotion in input and training of pangola grass production technique. Two aspects, classified in low level, were 1) pride of success and 2) respectfulness from others


Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ