การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (The Development of Mathayomsuksa-3 Student, Problem Solving Ability and Learn)

Authors

  • ปราณี หีบแก้ว (Pranee Heepkaew)
  • น้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ (Noytip Limyingcharoen)
  • สุมนชาติ เจริญครบุรี (Sumonchat Jaroenkornburi)

Keywords:

Problem solving ability(ความสามารถในการแก้ปัญหา), Problem-Based Learning, PBL(กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองไผ่พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 21 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบบันทึกประจำวันของผู้วิจัย แบบบันทึกการสังเกตการสอนของครูโดยผู้ร่วมวิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานการณ์ปัญหาที่ใช้ควรเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อนักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และได้ทดลองแก้ปัญหาตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทของนักเรียน ใช้กระบวนการกลุ่มในการให้นักเรียนอภิปราย สรุปองค์ความรู้ และนำเสนอผลงาน นอกจากนั้นครูควรเสริมแรงและดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ที่จำเป็นเพิ่มเติม และใช้การประเมินตามสภาพจริง ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ส่งผลให้นักเรียนจำนวนร้อยละ 80.95 ได้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาร้อยละ 75.12 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนจำนวนร้อยละ 85.71 ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ร้อยละ 74.40 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้

The purposes of this study were to develop learning activities based on the Problem-Based Learning (PBL), to develop Mathayomsuksa-3 students, problem solving ability and learning achievement in the science unit on "Resources and Environment" .The target group consisted of 21 Mathayomsuksa-3 students in Nongpai Pittayakom School under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 5 during the second semester of the 2008 academic year. The study followed classroom action research procedure consisting of 3 spirals. The research tools included 1) 12 lesson plans based on the PBL on the unit of "Resources and Environment" 2) the reflection tools which consisted of the researcher,s diary, a teaching behavior observation form to be filled up by the co-researcher, a student interview form, and end-of-spiral quizzes, and 3) the evaluation tools which consisted of a problem-solving ability test and a learning achievement test to be administered at the end of the third spiral. The collected qualitative data were analyzed by means of a content analysis while the quantitative data were analyzed by means of basic statistics of percentage, arithmetic mean and standard deviation.

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์