ความสัมพันธ์ของแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดินกับการเจริญเติบโตของยางพาราที่ปลูกในดินลูกรังและดินร่วนปนทราย

Authors

  • กาญจนา เห็นงาม
  • ยุพา หาญบุญทรง
  • ทัศนีย์ แจ่มจรรยา

Keywords:

Diversity(ความหลากหลาย), Soil insects and Soil invertebrates(แมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน), Para-rubber(ยางพารา)

Abstract

การศึกษาความสัมพันธ์และบทบาทของแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดินของแปลงยางพารากับปัจจัยต่างๆในดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพาราในแปลงอายุ 6 และ 15 ปีที่ปลูกในดินลูกรังและในดินร่วนปนทราย โดยสำรวจบริเวณผิวหน้าดินในดินใต้ทรงพุ่มต้นยางพาราในพื้นที่ 20 ตารางเซนติเมตร จำนวน 40 จุดต่อแปลง พบว่า แปลงยางพาราอายุ 15 ปีที่ปลูกในดินร่วนปนทราย มีความหนาแน่นของแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังรวมมากที่สุด คือในช่วงฤดูฝน เท่ากับ 36.26 ± 2.33 ตัว/20 ตร.ซม./เดือน รองลงมา ฤดูหนาวและฤดูร้อน เท่ากับ 34.62±2.05 และ 30.22±2.34 ตัว/ 20 ตร.ซม./เดือน และ ค่าดัชนีความหลากหลายของ มด สูงที่สุดเท่ากับ 2.92±0.6 รองลงมา ด้วง แมงมุม ปลวกและไส้เดือน คือ เท่ากับ 1.64±0.11, 1.22±0.12, 0.16±0.05 และ 0.05±0.04 ตามลำดับ มีอัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุช่วงฤดูฝนสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 36.00±8.85 เมื่อเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตพบว่าแปลงยางพาราอายุ 15 ปีทั้ง 2 แปลงมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน ส่วนยางพาราอายุ 6 ปีที่ปลูกในดินร่วนปนทราย มีความหลากหลายของแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดินและการเจริญเติบโตของต้นยางพารามากกว่าแปลงยางพาราอายุ 6 ปีที่ปลูกในดินลูกรัง และดินในแปลงยางพาราที่ปลูกในดินร่วนปนทรายสูงทั้ง 2 อายุ มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกของมากกว่าแปลงที่ปลูกในดินลูกรัง ต้นยางพาราจึงมีการเจริญเติบโตมากว่าแปลงที่ปลูกในดินลูกรัง

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ