ผลของขมิ้นชันต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งและเอนไซม์แสดงการทำงานของตับ ในหนูแฮมสเตอร์ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี

Authors

  • ศิรินทิพย์ บุญจรัสภิญโญ
  • ธิดารัตน์ บุญมาศ
  • เตือนใจ ศรีสว่างวงศ์
  • ฉันทนา อารมย์ดี
  • อนุชา พัวไพโรจน์

Keywords:

Turmeric(ขมิ้นชัน), Hamster(แฮมสเตอร์), Opisthorchiasis(โรคพยาธิใบไม้ตับ), Cholangiocarcinoma(มะเร็งท่อน้ำดี)

Abstract

โรคมะเร็งท่อน้ำดีจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะขมิ้นซึ่งมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการเกิดมะเร็ง ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของขมิ้นต่อพยาธิสภาพของตับหนูที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้หนูแฮมสเตอร์ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini : OV) และเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) ด้วยสารก่อมะเร็ง Nitrosodimethylamine (NDMA) โดยศึกษาการแสดงออกของยีนกลุ่มกระตุ้นการตายของเซลล์ (BAX, p53) ยับยั้งการตายของเซลล์ (Akt/PKB,c-ski) และ telomerase ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้รับอาหารขมิ้นเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารขมิ้น โดยวิธี Reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) และตรวจเอนไซม์แสดงการทำงานของตับ Alanine transaminase (ALT), Alkaline phosphatase (ALP) และ direct bilirubin พบว่าขมิ้นไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติในหนูสภาวะปกติ มีผลต่อการลดปริมาณเซลล์อักเสบ การสร้างท่อน้ำดีใหม่ (new bile duct formations) มากขึ้น และยังพบว่ามีการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งสูงมาก เพิ่มระดับ ALT และ ALP ลดระดับ direct bilirubin จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ทำลายเซลล์ตับและเซลล์ท่อน้ำดี ช่วยบีบขับน้ำดี และการเพิ่มจำนวนของท่อน้ำดีอีกด้วย

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ