ผลของการเตรียมย้ายออกจากหอผู้ป่วยระยะวิกฤตต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

Authors

  • มนทิราวรรณ พิมพ์ศรี
  • สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ

Keywords:

Transferal preparation(การเตรียมย้าย), Anxiety(ความวิตกกังวล), Open heart surgery(ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด)

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของการเตรียมย้ายออกจากหอผู้ป่วยระยะวิกฤตต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยใช้ทฤษฎีการปรับตนเองของ Leventhal and Johnson (1983) เป็นกรอบในการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยระยะวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 30 ราย ให้ตัวอย่าง 15 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมย้ายตามปกติ และตัวอย่าง 15 รายหลังเป็นกลุ่มทดลองได้รับการเตรียมย้ายตามรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประเมินความวิตกกังวลของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวลในขณะเผชิญ (The State Anxiety Inventory; Form X-I) ของ Spielberger และคณะ (1967) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบที (Independent t-test) พบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ได้รับการเตรียมย้ายออกจากหอผู้ป่วยระยะวิกฤตตามรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังการเตรียมย้ายน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมย้ายตามปกติ (P<0.5)

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ