การจัดการความรู้เรื่องอาหารธรรมชาติ : ศึกษากรณีบ้านหินเหิบ ต.พระยืน อ.พระยืน จ.ขอนแก่น

Authors

  • อุทุมพร หลอดโค
  • วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์

Keywords:

Knowledge management(การจัดการความรู้), Natural food collection(อาหารธรรมชาติ), Social relations(ความสัมพันธ์เชิงสังคม), Gender relations(ความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชาย)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้เรื่องอาหารธรรมชาติ และเพื่อวิเคราะห์กลไกทางสังคมที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้เรื่องดังกล่าวในระดับครัวเรือนและชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้มุมมองของแนวคิดการจัดการความรู้ เพื่อศึกษาเรื่องอาหารธรรมชาติ ในหมู่บ้านหินเหิบ ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การจดบันทึกภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลเน้นวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งได้แก่ ชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินวิถีชีวิตของการเก็บหาอาหารธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ถูกสร้างขึ้น ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยมีกลไกทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชาย สถาบันครอบครัว ความสัมพันธ์เชิงสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า มีการสร้างความรู้ใหม่โดยต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อชาวบ้านในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์