ผลการดำเนินงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco-school) กรณีศึกษา โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น

Authors

  • สุจิตตา โยวะผุย
  • คงศักดิ์ ธาตุทอง

Keywords:

The outcomes(ผลการดำเนินงาน), Eco-school(โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการดำเนินงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนยั่งยืน (Eco-school) ในจังหวัดขอนแก่น และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาแก่โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคูและโรงเรียนเทศบาลบ้านตูม ทั้งหมด 827 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูรวมจำนวน 37 คน และนักเรียนจำนวน 171 คน รวมทั้งสิ้น 208 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแยกเป็น 2 ส่วนคือ แบบสอบถามเพื่อศึกษารูปแบบของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามกรอบ 5 ด้านของกรมสามัญศึกษา และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อศึกษาระดับของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมตามกรอบที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้นใหม่ 8 ด้าน แบบแสดงความคิดเห็น แบบบันทึกการสัมภาษณ์และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาพรวมของรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามกรอบของกรมสามัญศึกษา 5 ด้าน 1)มีการดำเนินการตกแต่งห้องเรียนและจัดเตรียมห้องเรียน โดยครู นักเรียนและภารโรงร่วมกันจัด 2)มีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกหรือทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมโดยการตั้งชุมนุมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และร่วมกันคัดเลือกผู้มีความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม 3)มีการสอดแทรกกิจกรรมการอนุรักษ์เข้าไปในการจัดโครงการ กิจกรรมชุมนุม และให้ครูกับนักเรียนในชุมนุมสิ่งแวดล้อมช่วยรณรงค์การใช้วัสดุที่ไม่ก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม 4)เน้นการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนัก และจัดสอดแทรกในรายวิชาที่เรียน 5)จัดการบริการข้อมูลข่าวสาร และร่วมกับชุมชนในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
2. ระดับความคิดเห็นของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามกรอบที่สังเคราะห์ใหม่ 8 ด้าน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” 
3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครู แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารและครูในโรงเรียนยังต้องการ การพัฒนาทั้งทางด้านทักษะและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน และควรได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ
4. ความคิดเห็นของนักเรียน แสดงให้เห็นว่านักเรียนพอใจกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนหลายด้าน และเสนอแนะว่าโรงเรียนควรจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

Downloads

Published

2014-11-26

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์