การประหยัดพลังงานโดยเครื่องทำน้ำเย็นชนิด Oil-Free Magnetic Bearing VSD Centrifugal Chiller ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Authors

  • อรรถวิทย์ ดีนาง (Attawit Deenang) Khon Kaen University
  • ดร.ธนากร วงศ์วัฒนาเสถียร (Dr.Tanakorn Wongwuttanasatian) Khon Kaen University

Keywords:

Chiller(เครื่องทำน้ำเย็น), Part Load(สภาวะโหลดไม่เต็มพิกัด)

Abstract

 เครื่องทำน้ำเย็น CH1 และ CH2 (เครื่องเดิม) แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ คอมเพรสเซอร์ชนิด centrifugal constant speed ในระบบปรับอากาศของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขนาดทำความเย็น เครื่องละ 490 ตัน/ชั่วโมง เดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยส่วนมากเครื่องจะทำงานในสภาวะโหลดไม่เต็ม พิกัด ทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงเกินความจำเป็น ทางโรงพยาบาล ฯ จึงทำการติดตั้งเครื่องทำน้ำเย็น CH3 (เครื่องใหม่) คอมเพรสเซอร์ชนิด Oil free Magnetic Bearing VSD Centrifugal Chiller ขนาด ทำความเย็น 400 ตัน/ชั่วโมง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานได้ดีที่สภาวะโหลดไม่เต็มพิกัด ทำให้สามารถ เลือกเดินเครื่องทำน้ำเย็นให้เหมาะสมกับโหลดที่ใช้งานในอาคารโรงพยาบาลฯ การศึกษานี้ทำการตรวจวัด การใช้พลังงานของเครื่องทำน้ำเย็นทั้งเครื่องเดิมและเครื่องใหม่ เพื่อวิเคราะห์โหลดความเย็นและคำนวณ สมรรถนะของเครื่องเพื่อนำข้อมูลไปบริหารจัดการเดินเครื่องให้เกิดการลดใช้พลังงาน ผลการตรวจวัด พบว่าภาระโหลดความเย็นสูงสุดแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ 870 ตันและ 350 ตัน สามารถออกแบบการเดินเครื่อง ตามช่วงเวลา คือช่วง 8.00−18.00 น. เดินเครื่องทำน้ำเย็น CH1 คู่กับ CH3 ขนาดทำความเย็นรวม 890 ตัน/ชั่วโมง และช่วง 18.00−8.00 น.เลือกเดินเครื่อง CH3 เพียงเครื่องเดียวขนาดทำความเย็น 400 ตัน/ ชั่วโมงใช้พลังงานรวม 8,002 kWh /วัน ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานในส่วนของเครื่องทำน้ำเย็นของระบบ ปรับอากาศลงคิดเป็น 24.59 %

 In Srinagarind hospital, an air-condition system is composed of 2 chillers (CH1, CH2). Each chiller is a centrifugal constant speed compressor having capacity of 490 tons. Both operate 24 hrs under part load during 6 pm-8 am (14 hrs) and 90% full load during 8 am-6 pm (10 hrs). This results in inefficient energy consumption during part load operation. Thus, a brand new chiller (CH3) Oil-Free Magnetic Bearing VSD Centrifugal chiller has been installed to overcome the problem under part load condition. Combine operation of CH1 and CH3 is found to be suitable during off peak hours (8 am-6 pm) and operating CH3 during peak hours (6 pm-8 am) this combined operation consumes 8,002 kWh per day giving 24.59 % of energy saving compared with the previous CH1 and CH2 operation of the air-conditioning system. 

 

Downloads

Published

2015-02-14

Issue

Section

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี