การหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ในเครื่องดื่มน้ำผลไม้(Determination of Phenolic Compounds and Antioxidant Potential in Fruit Beverages)
Keywords:
Fruit berverage(เครื่องดื่มน้ำผลไม้), Phenolic compounds(สารประกอบฟีนอลิก), Antioxidant(ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ)Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณและเปรียบเทียบสารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มน้ำผลไม้ ด้วยวิธีมาตรฐาน ได้แก่ ปริมาณสารฟีโนลิกทั้งหมด โดยใช้วิธี Folin-Ciocalteu และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging capacity (DPPH) และวิธี 1, 10-Phenantroline (Phen) จากทั้งหมด 10 ตัวอย่าง พบว่าเครื่องดื่มน้ำสมอไทยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุด คือ 2765.00±0.00 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อ 1 มิลลิลิตรของ ตัวอย่าง เครื่องดื่มน้ำมะตูมกลิ่นตะใคร้และใบเตยเท่ากับ 1749.76±0.02 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อ 1 มิลลิลิตร ของตัวอย่างและ น้ำองุ่นแดงเท่ากับ 1501.80±0.02 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่างตาม ลำดับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่า เครื่องดื่มน้ำสมอไทยมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงสุด คือ 2453.32±0.08 ไมโครกรัมบีเอชทีต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่างน้ำองุ่นแดงเท่ากับ 2412.64±0.06 ไมโครกรัมบีเอช ทีต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่างและเครื่องดื่มน้ำมะตูมกลิ่นตะใคร้และใบเตยเท่ากับ 2406.32±0.20 ไมโครกรัมบี เอชทีต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง ตามลำดับและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Phen มากที่สุดคือเครื่องดื่ม น้ำสมอไทยมีค่าเท่ากับ 3131.61±0.02 ไมโครกรัมเฟอรัสซัลเฟตต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง น้ำองุ่นแดงเท่ากับ 2833.97±0.03 ไมโครกรัม เฟอรัสซัลเฟต ต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง และเครื่องดื่มน้ำมะตูมกลิ่นตะใคร้และ ใบเตยเท่ากับ 2802.64±0.01 ไมโครกรัมเฟอรัสซัลเฟตต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง ตามลำดับ
This study aimedfor determinating and comparing of phenolic compounds in various fruitbeverags.The Folin-Ciocalteu analysis was used for the standard method of phenolic determination and the antioxidant was evaluated by 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging capacity (DPPH) and1, 10-Phenantroline (Phen) methods. The results showed that the maximum total phenolic compounds, obtained from anchorthai beverages is 2765.00±0.00 μg gallic/ 1 mL sample, whereasthoseobtained frombaelodour lemongrass and pandan indicated 1749.76±0.02 μg gallic/ 1 mL sample and red wine 1501.80±0.02 μg gallic/ 1 mL sample, respectively. For antioxidants capacity, it was found that anchor thai beverages yieldedmaximum of 2453.32±0.08 μg BHT/ 1 mL sample and the red wine 2412.64±0.06 μg BHT/ 1 mLsample and bael odour lemongrass and pandan beverages gave 2406.32±0.20 μg BHT/ 1 mL sample, respectively using DPPH method. Finally, by using Pnen technique, the highestquantitywas anchor thai beverages 3131.61±0.02μg of ferrous sulphate/1 mL sample and red wine2833.97±0.03 μg of ferrous sulphate/1 mL sample and bael odour lemongrass and pandan 2802.64±0.01 μg of ferrous sulphate/1 mL sample, respectively