The organization of teaching and learning activities based on storyline method on energy and environment conservation. (การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสเตอรีไลน์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม)

Authors

  • สุรินธร วังคะฮาด (Surintara Wangkahard) Khon Kaen University
  • ดร.คงศักดิ์ ธาตุทอง (Kongsak Thathong) Khon Kaen University
  • ดร.อรทัย มูลคำ (Orathai Moolkum) Khon Kaen University
  • ดร.นพดล เจนอักษร (Nopado l Cllenaksara) Khon Kaen University

Keywords:

Stroyline Method, Energy and Environmental Conservation

Abstract

This Qualitative Research aimed to study the output of teaching and learning activities based on Storyline Method of Steve Bell on energy and environmental conservation. The participants were 29 of Mathayomsuksa I (Seventh Grade) students at a secondary school, Roi-et province. Research methods were: teaching plans based on  Storyline Method and various instruments were used for collecting data. The triangulation technique was used for validating data. Data were analyzed and reported as a descriptive report. The results were:  the Storyline Method encouraged students to think, investigate, act and evaluate the tasks, and learn by themselves. The students were more confident and self-motivated. They could plan to work, discover new learning problems and solve them together. They were happy. The Storyline Method helped the learners assimilate knowledge system little by little. It offered opportunities to think , do, and solve problem and learners could carry out in real life. Some difficulties of this study were: the storyline activities were hard to fit into both regular curriculum schedule and daily timetable of in-site research teachers and students. These may come from insufficient understanding of all concerns about  the Storyline Method.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการศึกษากระบวนการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสเตอรีไลน์(Storyline Method) ของ Steve Bell เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนตามหลักการของ Storyline Method เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้พหุวิธีการและตรวจสอบความครบถ้วนและคุณภาพข้อมูลโดยใช้การตรวจแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูล ทำโดยการตีความ สร้างข้อสรุป และเขียนรายงานการวิจัยในลักษณะการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า การสอนแบบ โดย Storyline Method เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด   ค้นคว้า แสดงออกและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นอิสระ ทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ใฝ่ที่จะเรียนรู้ รู้จักวางแผนการทำงานเป็นทีม ได้เผชิญปัญหาและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน นอกจากนี้การสอนแบบนี้ยังทำให้นักเรียนค่อยๆ เรียนรู้ทีละน้อย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ปัญหาที่พบในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร และตารางสอนของครูและนักเรียนยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากผู้เกี่ยวข้องยังไม่เข้าใจการเรียนการสอนโดย Storyline Method ดีเท่าที่ควร

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-14

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์