อิทธิพลของปริมาณและสัดส่วนกรดไขมันอิ่มตัวกับไม่อิ่มตัวในอาหาร ต่อค่าไอโอดีนนัมเบอร์ และการสะสมไขมันในซากไก่เนื้อ (Influence of Levels and Proportions of Saturated to Unsaturated Fatty Acid on Iodine Number and Broiler Carcass Fat Deposition)

Authors

  • ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส (Sasiphan Wongsuthavas) Khon Kaen University
  • ดร.สุวิทย์ ธีรพันธุวัฒน์ (Dr.Suwit Terapuntuwat) Khon Kaen University
  • ดร.วีระศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว (Dr.Weesasak Wongsrikeao) Khon Kaen University
  • ดร.สุภร กตเวทิน (Dr.Suporn Katawatin) Khon Kaen University

Keywords:

Saturated fatty acid, Unsaturated fatty acid, Abdominal fat deposition, Iodine number

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาปริมาณและสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในอาหารต่อค่าไอโอดีนนัมเบอร์และการสะสมไขมันในซากไก่เนื้อ ได้คำนวนให้ปริมาณไขมันในอาหาร 3 ระดับคือ ร้อยละ 3.0, 6.0 และ 9.0 โดยปรับให้มีสัดส่วนกรดไขมันอิ่มตัวต่อกรดไขมันไม่อิ่มตัว 5 ส่วน คือ 1:1, 1:2, 1:3, 1:4, และ 1:5 ใช้ไก่เนื้อพันธุ์อาร์เบอร์ เอเคอร์ (อายุ 1-8 สัปดาห์) เพศผู้ 105 ตัว เพศเมีย 105 ตัว เลี้ยงบนกรงขังเดี่ยว (กรงละ 1 ตัว) มีอาหาร และน้ำให้กินเต็มที่ จัดแผนการทดสอบ 3x5 Factorial in Randomized Complete Block Design มีปัจจัยที่ศึกษาคือ ไขมัน 3 ระกับ สัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวต่อกรดไขมันอิ่มตัว 5 ระดับ และเพศ(ผู้และเมีย,เป็นบล็อค) เมื่อเพิ่มระดับไขมันจาก ร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 6.0 และร้อยละ 9.0 มีผลทำให้ปริมาณไขมันช่องท้องของไก่เนื้อมีน้ำหนักมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) เมื่อระดับไขมันในอาหารสูง(ร้อยละ 2.26, 2.37 และ 3.04 ตามลำดับ) แต่ไม่มีผลต่อค่าไอโอดีนนัใเบอร์ (P>0.05)เมื่อพิจารณาที่กรดไขมัน 5 สัดส่วน  พบว่า กรดไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มากขึ้น ทำให้การสะสมกรดไขมันอิ่มตัวในซากมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามปริมาณไขมันในช่องท้องของไก่เนื้อลดลงจาก ร้อยละ 3.08 เป็น 2.81, 2.61, 2.23 และ 2.07 ตามลำดับ ในส่วนของเพศไก่เนื้อมีผลต่อปริมาณไขมันในช่องท้อง โดนพบว่า เพศผู้ (ร้อยละ 2.34) มีการสะสมไขมันช่องท้องน้อยกว่าเพศเมีย (ร้อยละ 2.78)(P<0.05)จากการทดลองจะเห็นว่า ระดับกรดไขมันไม่อิ่มตัวในอาหารที่สูงขึ้น มีผลทำใ้กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงขึ้น แต่ปริมาณไขมันในช่องท้องของไก่เนื้อมีค่าลดลง

The purpose of this study as to evaluate the levels and proportionals of saturated to unsatusated fatty acid on iodine number and broiler carcass fat deposition. The experiment diets were formulated to contain 3 levels of fats (3.0, 6.0 or 9.0 percent) and 5 ratio of saturated fatty acid (SFA) to unsaturated fatty acid (UFA) (1:1, 1:2, 1:3, 1:4 or 1:5). Arbor Acres broilers (105 male and 105 female, at the ages of 1 to 8 weeks)were assigned in individual cages. Feed and water wre given ad libitum. The experiment animals were subjected in 3x5 Factorail in Randomized Complete Block Design. Two factors were observedthat the abdominal fat deposition found in the broilers was signuficantly (P<0.01) increased to be 2.26, 2.37 and 3.04 persent of the dietary fat levels at 3.0, 6.0 and 9.0 percent, respectively.But resulted in iodine number not was significantly different. Increase in proportion of UFA:SFA contained diets sigficantly increase in iodine number. In Contrast, the less of abdomainal fats(3.08, 2.82, 2.61, 2.23 and 2.07 percent, respectively) in highter UFA ratio diets were observed. Abdominal fat of higher UFA contained broiler sied in cresased unsaturated fatty acid deposition but decrease carcass abdominal fat.

Downloads

Published

2015-02-15

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ