Anaerobic Contact Process for Treating Synthetic Slaughterhouse Wastewater (การบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์จากเลือดสัตว์โดยใช้ระบบ แอนแอร์โรบิคคอนแทค)

Authors

  • สรยุทธ วินิจฉัย (Sorayut Winitchai) Khon Khan University
  • รศ. ดร. วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ (Assoc. Prof. Dr. Wanpen Wirojanagud) Khon Khan University
  • รศ. ศุภฤกษ์ สินสุวรรณ (Assoc. Prof. Suparerk Sinsupan) Khon Khan University
  • อ. อาวุธ ยิ้มแต้ (Mr. Arwut Yimtae) Khon Khan University

Keywords:

Slaughterhouse, Anaerobic Contact Process, COD, VFA

Abstract

The objective of this research is to study the chemical oxygen demand (COD) removal efficiency of synthetic slaughterhouse wastewater by Anaerobic Contact Process at difference COD loadings of 0.5, 1 and 3 kg. COD/m(3)-day respectively. The synthetic wastewater and sludge recycle were fed into the reactor by continuous flow of 20 litter/day with the sludge age control of 60 days and the hydraulic retention time at 24 hours. Biogas productions were 0.30, 0.29 and 0.25 m(3)/kg COD removed and 74, 112 and 331 mg/l of volatile fatty acids (VFA), respectively. VFA increased as the COD loading increased from 1 to 3 kg COD/m(3)-day as indicated by VFA 112 mg/l and 311 mg/l, respectively. While biogas produced per COD removed tended to decrease at higher COD loading as shown by 0.29 and 0.25 m(3)/kg COD removed at 1 and 3 kg COD/m(3)-day respectively. The average filtrated COD removal efficiency were 92.98, 94.06 and 56.85% while the total COD removal efficiency were 82.26, 79.19 and 51.46% respectively. The average suspend solids of effluent were 38.4, 87.6 and 107.7 mg/l respectively. The filtrate COD removal efficiency was higher than the average total COD removal efficiency due to suspend solids in wastewater caused COD of wastewater increased. Suspended solids of the effluents were higher as COD loading increased. In conclusion VFA and suspend solids of effluents increased as the COD loading increased. While biogas produced per COD removed tended to decrease at a higher COD loading. The soluble COD removal efficiency was decreased as the COD loading increased from 0.5 or 1 to 3 kg COD/m(3)-day. This would be the result of VFA and suspended solids accumulated in the effluent.Thus, the optimum loading was 1 kg COD/m(3)-day.

 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีใน น้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ ด้วยระบบแอนแอร์โรบิคคอนแทคโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์จาก เลือดสุกร ดำเนินการศึกษาโดยเติมน้ำเสียสังเคราะห์เข้าสู่ถังปฏิกิริยาปริมาตร 20 ลิตร อย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการไหลของน้ำเสียและอัตราการสูบเวียนสลัดจ์เท่ากับ 20 ลิตร/วัน ควบคุมอายุสลัดจ์ที่ 60 วัน โดยแบ่งภาระบรรทุกซีโอดีออกเป็น 0.5 1 และ 3 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ โดยที่ทุกชุดการทดลองมีเวลากักน้ำเสียเท่ากับ 24 ชั่วโมง พบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพต่อปริมาณซีโอดีที่ถูกกำจัด มีแนวโน้มลดลงคือ 0.30 0.29 และ 0.25 ลบ.ม./กก. ซีโอดีที่ถูกจำกัดในขณะที่กรดไขมันระเหยในถังปฏิกิริยา ที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อภาระบรรทุกซีโอดีเพิ่มขึ้น คือ 74 112 และ 331 มก./ล. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบว่าการเพิ่มขึ้นของค่ากรดไขมันระเหยต่อภาระบรรทุกซีโอดี ที่ภาระบรรทุกซีโอดี 1 และ 3 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน พบว่าที่ภาระบรรทุกซีโอดี 3 กก. ซีโอดี 1 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีปริมาณค่ากรดไขมันระเหยต่อภาระบรรทุกซีโอดีสูงกว่า ที่ภาระบรรทุกซีโอดี 1 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน คือ 112 และ 331 มก./ล. ตามลำดับ โดยที่ค่าปริมาณก๊าซชีวภาพต่อภาระบรรทุกซีโอดีมีแนวโน้มลดลงเมื่อภาระบรรทุกซีโอดี เพิ่มขึ้นคือ 0.29 และ 0.25 ลบ.ม./กก. ซีโอดีที่ถูกกำจัด ที่ภาระบรรทุกซีโอดี 1 และ 3 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีละลายได้ ร้อยละ 92.98 94.06 และ 56.85 ตามลำดับ โดยที่สามารถกำจัดซีโอดีทั้งหมดได้ร้อยละ 82.26 79.19 และ 51.46 ตามลำดับ พบว่าค่าตะกอนแขวนลอยในน้ำทิ้งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อภาระบรรทุกซีโอดีเพิ่มขึ้นคือ 38.4 87.6 และ 107.7 มก./ล. และเมื่อพิจารณาพบ ซึ่งสังเกตได้ว่าประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีละลายมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพในการกำจัด ซีโอดีทั้งหมดเนื่องจากตะกอนแขวนลอยที่แขวนลอยอยู่ในน้ำทิ้งมีผลทำให้ค่าซีโอดีของน้ำ ทิ้งเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่า การสะสมของกรดไขมันระเหยและตะกอนแขวนลอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่สัดส่วนปริมาณก๊าซชีวภาพต่อภาระบรรทุกซีโอดีมีแนวโน้มลดลง เมื่อภาระบรรทุก ซีโอดีสูงขึ้น ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีละลายลดลงเมื่อภาระบรรทุกซีโอดี เพิ่มจาก 0.5 หรือ 1 เป็น 3 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากกรดไขมัน ระเหยและตะกอนแขวนลอยที่สะสมอยู่ในน้ำทิ้ง ภาระบรรทุกซีโอดีที่เหมาะสมในการใช้งาน คือ 1 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-21

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ