A study on the Delay of Wet Paddy Deterioration by Suction Aeration. (การศึกษาวิธีชะลอการเสื่อมคุณภาพข้าวเปลือกความชื้นสูง โดยการดูดระบายอากาศออก จากกองข้าว)

Authors

  • ลือพงษ์ ลือนาม (Luepong Luepnam) Khon Khan University
  • รศ. ดร. วินิต ชินสุวรรณ (Asso. Prof. Dr. Winit Chinsuwan) Khon Khan University
  • รศ. ดร. ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์ (Asso. Prof. Dr. Thavachai Thivavarnvong) Khon Khan University
  • ผศ. สมนึก ชูศิลป์ (Asst. Prof. Somnuk Chusilp) Khon Khan University

Keywords:

Wet paddy, Sunction acration

Abstract

The objective of this study is to develop methodology in order to delay the deterioration of wet paddy by aeration when reduction of moisture content can not be done. The study covers the study on behavior of heat generation in the paddy pile without aeration, determination of piping pattern suitable for aeration and determination of minimum aeration flow rate required for the delay of deterioration. Results of the study reveal that the use of continuous aeration flow rate of 0.5, 1.0, and 1.5 m3/min per cubic metre of paddy with the vertical single tube pattern can lower the temperature in the pile to the ambient temperature within 10 to 20 hours for the paddy having 29.39% wb initial moisture content. The aeration also decreases moisture content of the paddy eventhough some wet spots and mold are observed near the floor and at the tube ends. Without aeration, the temperature in the pile rises rapidly to 60 °C within 20 hours and to 80 °C within 40 hours. The high temperature decreases the whiteness of polished rice within 2 to 3 days. After 7 days the whiteness decrease s to 20 units lower than those with aeration.

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีะชะลอการเสื่อมคุณภาพข้าวเปลือก ความชื้นสูงโดยการดูดระบายอากาศออกจากกองข้าว ในระหว่างการขนย้ายและ/หรือไม่สามารถ ลดความชื้นได้ ซึ่งแบ่งการศึกษาวิจัยเป็น การศึกษาลักษณะพฤติกรรมของอุณหภูมิและการ สะสมความร้อนภายในกองข้าว การศึกษารูปแบบการจัดวางท่อระบายอากาศออกจากกองข้าว และการศึกษาอัตราการดูดระบายอากาศออกจากกองข้าว ซึ่งมีผลการศึกษาโดยสรุป ดังนี้ 1 การศึกษาลักษณะพฤติกรรมของอุณหภูมิและความร้อน สำหรับการกองข้าวอยู่กับที่ ภายในและภายนอกอาคาร ความชื้นเริ่มต้นประมาณ 23 %wb พบว่า พฤติกรรมของอุณหภูมิภายใน กองข้าว บ่งชี้ถึงตำแหน่งเริ่มต้นการสะสมความร้อนบริเวณกลางกอง และการเคลื่อนที่ของ อากาศร้อนชื้นภายในกองข้าว ซึ่งมีลักษณะสมมาตรเชิงเรขาคณิตตามแกนกอง จากขอบฐาน กรวยกองโดยรอบเคลื่อนที่เข้าหากลางกอง แล้วนำพาความร้อนและไอน้ำขึ้นสู่ยอดกรวยกอง จนอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 60 องศาเซลเซียส ทำให้คุณภาพข้าวลดลงโดยเฉพาะความขาวของ ข้าวสาร 2 การศึกษารูปแบบการจัดวางท่อดูดระบายอากาศออกจากกองข้าวความชื้นเริ่มต้น 20.4 %wb พบว่าการดูดระบายอากาศอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการไหล 2 ลบ.ม./นาที-ลบ.ม. ข้าวเปลือกในการจัดวางท่อดูดรูปทรงท่อเดี่ยวและท่อแยก ช่วยลดอุณหภูมิภายในกองข้าว ให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิอากาศแวดล้อมภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยยังรักษาคุณภาพข้าว ไว้ได้ดี และยังช่วยลดความชื้นข้าวเปลือกให้ต่ำลง ซึ่งกรณีจัดวางท่อดูดรูปทรงท่อแยก ข้าวเปลือกที่ผิวท่อดูดเกิดการงอกเป็นต้นอ่อนและมีราสีขาวเล็กน้อย แต่ไม่เกิดขึ้น กับกรณีจัดวางท่อดูดรูปทรงท่อเดียว เนื่องจากมีรูปแบบสอดคล้องกับรูปทรงกองข้าว ทำให้ระบายความร้อนและไอน้ำออกจากกองข้าวได้ดี ส่วนกรณีไม่มีการดูดระบายอากาศ อุณหภูมิภายในกองข้าวเพิ่มสูงถึง 60 องศาเซลเซียส 3 การศึกษาอัตราการดูดระบายอากาศออกจากกองข้าว สำหรับการจัดวางท่อเดียว ความชื้นเริ่มต้น 29.3 %wb พบว่า การดูดระบายอากาศด้วยอัตราการไหล 0.5, 1.0 และ 1.5 ลบ.ม./นาที-ลบ.ม.ข้าวเปลือก ช่วยลดอุณหภูมิภายในกองข้าวให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิ อากาศแวดล้อมภายในเวลา 10-20 ชั่วโมง เป็นการป้องกันการสะสมความร้อนภายในกองข้าว ถึงแม้ข้าวเปลือกบริเวณระหว่างปลายท่อและพื้นมีความชื้นค่อนข้างมาก มีราสีขาวเล็กน้อย ก็ตาม แต่โดยรวมข้าวยังคงคุณภาพดีไม่เกิดความเสียหาย และอัตราการไหล 1.0 และ 1.5 ลบ.ม./นาที-ลบ.ม.ข้าวเปลือก ยังมีส่วนช่วยลดความชื้นข้าวเปลือกให้ต่ำลงด้วย ซึ่งการไม่ดูดระบายอากาศ เกิดความร้อนสูงภายในกองข้าว จนอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วต่อเนื่องถึง 60 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 20 ชั่วโมง และเพิ่มสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 40 ชั่วโมง ทำให้ความขาวของข้าวสารลดลงภายในเวลา 2-3 วัน เมื่อทดลองเป็นเวลา 7 วัน ลดลงต่ำกว่าทั้งสามกรณีถึง 20 หน่วย ดังนั้น อัตราการไหล 0.5 ลบ.ม./นาที-ลบ.ม.ข้าวเปลือก จึงเพียงพอสำหรับการดูด ระบายความร้อนออกจากกองข้าว ในการชะลอการเสื่อมคุณภาพของข้าวเปลือกความชื้นสูง โดยยังคงรักษาคุณภาพข้าวไว้ได้ดี

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-21

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ