Effect of the Use of Whole Cassava Hay in High-Quality Feed Block Supplementation on Milk Production in Lactating Dairy Cows (ผลของมันสำปะหลังตากแห้งทั้งต้น (มันเฮย์) ในอาหารก้อนคุณภาพสูงต่อผลผลิต น้ำนมในโคนม)

Authors

  • สราวุธ เกาะขุนทด (Sarawuth Koakhunthod) Khon Khan University
  • ศ. ดร. เมธา วรรณพัฒน์ (Prof. Dr. Metha Wanapat) Khon Khan University
  • ผศ. ดร. ฉลอง วชิราภากร (Asst. Prof. Dr. Chalong Wachirapakorn) Khon Khan University
  • ผศ. งามนิจ นนทโส (Asst. Prof. Ngarmnit Nontaso) Khon Khan University

Keywords:

Cassava hay, feed block, milk production

Abstract

This experiment was conducted to investigate the effect of cassava hay (CH) in high-quality feed block (HQFB) supplementation on milk production in lactating dairy cows. Six Holstein-Friesian crossbreds cows were randomly allocated in a Switchback design. There were three treatments : treatment 1- non-supplementation of HQFB, treatment 2 - supple­ mentation of HQFBl (without CH) and treatment 3- supplementation of HQFB2 (with CH). The cows were offered concentrate with a ratio to milk yield of 1:2. Urea-treated rice straw was given ad libitum as a roughage source. It was found that ruminal pH, concentration of NH-N, pH and microbial population were not significantly different (p>0.05). Total dry

3 matter intake, digestion coefficient of dry matter and milk yield in HQFB supplemented groups were significantly higher than non supplemented group (p<0.05). However, fat corrected milk (3.5%FCM), % of milk fat, o/o of total solids and economical return were highest in HQFB2 supplemented  group (p<0.05).

 

การศึกษาผลของมันสำปะหลังตากแห้งทั้งต้น (มันเฮย์) เป็นแหล่งโปรตีน ในอาหารก้อนคุณภาพสูงเสริมในโคนม ที่มีผลต่อปริมาณการกินได้ ความสามารถ ในการย่อยได้ นิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ผล ผลติและองค์ประกอบน้ำนมในโคนม ตลอดจนผลตอบแทนเปรียบเทียบเชิงเศรษฐกิจ ใช้ โคนมพันธุ์ผสมโอลสไตน์-ฟรีเซี่ยน จำนวน 6 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 382(+,ฑ)78 กิโลกรัม และมีจำนวนวันของการให้นมเฉลี่ย 146(+,ฑ)13 วัน จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้ได้ รับอาหารทดลอง 3 สูตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมอาหาร ก้อนคุณภาพ) กลุ่มทดลองที่ 2 เสริมอาหารก้อนคุณภาพสูงสูตรที่ไม่มีมันเฮย์ กลุ่มทดลองที่ 3 เสริมอาหารก้อนคุณภาพสูงสูตรที่มีมันเฮย์ โดยใช้แผนการ ทดลองแบบสลับ (Switch back design) โคนมทุกตัวได้รับฟางหมักยูเรีย 5 เปอร์ เซ็นต์ เป็นอาหารหยาบให้กินแบบเต็มที่ และไดรับสัดส่วนอาหารข้นต่อปริมาณ น้ำนมเป็น 1 ต่อ 2 โคนมทุกตัวถูกเลี้ยงในคอกขังเดี่ยว มีน้ำสะอาดให้ดื่ม ตลอดเวลา การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ระยะการทดลอง ระยะการทดลองละ 21 วัน ผล การทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้อย่างอิสระของอาหารหยาบ ไม่แตกต่างกันทาง สถิติ (P>0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง ปริมาณการกินได้ของอาหารก้อนคุณภาพสูง ในกลุ่มทดลองที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ปริมาณการกินได้ ทั้งหมดเมื่อคิดเป็นกิโลกรัมต่อวัน (9.2, 10.1 และ 11.1 กิโลกรัมต่อวัน) และกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนัก เมแทบอลิก (107.3, 121.4, และ 125.4 กรัมต่อ กิโลกรัมน้ำหนักเมแทบอลิก) ในกลุ่มทดลองที่ 2 และ 3 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ((P<0.05) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของอินทรีย วัตถุ (58.8, 59.6 และ 62.7 เปอร์เซ็นต์) และเซลยูโล-ลิกนิน (33.5, 34.7 และ 37.6 เปอร์เซ็นต์) ในกลุ่มทดลองที่ 3 มีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง ( 53.1, 54.7 และ 57.1 เปอร์เซ็นต์) ในกลุ่มทดลองที่ 3 สูงกว่ากลุ่มทดลอง ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีน (57.8, 64.0 และ 64.4 เปอร์เซ็นต์) และผนังเซลล์ (48.9, 51.8 และ 52.0 เปอร์เซ็นต์) ในกลุ่มทดลองที่ 2 และ 3 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (P<.05) ค่าความเป็นกรด-ด่างของเหลวในกระเพาะรูเมน ค่าความ เข้มข้นของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนของของเหลวในกระเพาะรูเมน และค่าความเข้มข้น ของยูเรีย-ไนโตรเจนในกระแสเลือด ในแต่ละกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ความเข้มข้นของกรดไขมันระเหยได้ทั้งหมด (91.7, 96.3 และ 99.7 มิลลิโมล่าร์) และความเข้มข้นของกรดโพรพิออนิก (22.2 22.6 และ 23.1 โมล ต่อ 100 โมล) ในกลุ่มทดลองที่ 3 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และ 1 ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่าความเข้มข้นของกรดอะซิติก ( 65.9, 64.9 และ 64.4 โมลต่อ 100 โมล) และสัดส่วนของกรดอะซิติกต่อกรดโพร พิออนิก (2.8, 2.7 และ 2.7) ในกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ค่าความเข้มข้นของกรดบิวทีริก และ ปริมาณแก็สเมทเธน ในแต่ละกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) จำนวนประชากรของแบคทีเรีย และซูโอสปอร์ของเชื้อรา โดยวิธีนับตรง แบคทีเรียที่มีชีวิตทั้งหมด แบคทีเรียที่ย่อยสลายเซลยูโลส แบคทีเรียที่ ย่อยสลายโปรตีน และแบคทีเรียที่ย่อยสลายแป้ง ในกลุ่มทดลองที่ 3 มีแนวโน้ม เพิ่มสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) จำนวน โปรโตซัวในกลุ่มทดลองที่ 3 มีแนวโน้มลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ผลผลิตน้ำนมในกลุ่มทดลองที่ 2 และ 3 (8.85 และ 9.36 กิโลกรัมต่อ วัน) สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 (7.55 กิโลกรัมต่อวัน) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<0.05) ผลผลิตน้ำนมเมื่อปรับไขมันนมที่ 3.5 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่ม ทดลองที่ 3 (9.94 กิโลกรัมต่อวัน) สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 (8.73 กิโลกรัม ต่อวัน) และ กลุ่มทดลองที่ 1 (7.66 กิโลกรัม) ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (P<0.05) ปริมาณไขมันนมที่ผลิตได้ต่อวัน (0.27, 0.29 และ 0.37 กิโลกรัมต่อวัน) ปริมารโปรตีนในน้ำนมที่ผลิตได้ต่อวัน (0.23, 0.25 และ 0.31 กิโลกรัมต่อวัน) ในกลุ่มทดลองที่ 3 สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนม (3.67, 3.32 และ 3.91 เปอร์เซ็นต์) กลุ่มทดลองที่ 3 มีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ แต่ไม่มี ความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05)เปอร์เซ็นต์ โปรตีนในน้ำนมในกลุ่มทดลองที่ 3 (3.37 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 (2.98 และ 2.85) อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เปอร์เซ็นต์แลคโตสในน้ำนมในกลุ่มทดลองที่ 3 และ 1 (4.96 และ 4.96 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 (4.78 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เปอร์เซ็นต์ของแข็งทั้งหมดในน้ำนม (12 .4, 11.6 และ 12.9 เปอร์เซ็นต์) ในกลุ่มทดลองที่ 3 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่าง กลุ่มทดลองที่ 1 และ 3(P>0.05) และเปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันในน้ำนม ในกลุ่มทดลองที่ 3 (9.03 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 (8.75 เปอร์ เซ็นต์) และกลุ่มทดลองที่ 2 (8.32 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผลตอบแทนเปรียบเทียบเชิงเศรษฐกิจเมื่อปรับไข มันนมที่ 3.5 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มทดลองที่ 3 (56.9 บาทต่อตัวต่อวัน) สูง กว่าการทดลองที่ 2 และ 1 (44.9 และ 42.2 บาทต่อตัวต่อวัน) แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นการใช้มันเฮย์เป็นแหล่งโปรตีนในอาหาร ก้อนคุณภาพสูง เสริมในโคนม มีผลเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ ประสิทธิภาพ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนม ตลอดจนให้ผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า

 

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-21

Issue

Section

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ