Factors Influencing Decision Making on Selecting the Status of Professional nurses In the Autonomous Government Hospital Pilot Project (ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกสถานภาพของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลนำร่องของการเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ)

Authors

  • กัลยา เรืองบุตร (Kanlaya Ruangboot) Khon Khan University
  • รศ. วิภาพร วรหาญ (Asso. Prof. Wiphaporn Vorahan) Khon Khan University
  • ผศ. นิลาวรรณ ฉันทะปรีดา (Asst. Prof. Nilawan Chanthapreeda) Khon Khan University
  • ผศ. อนุสรณ์ สุนทรพงศ์ (Asst. Prof. Anusorn Sunthornpong) Khon Khan University

Keywords:

Decision making, Autonomous government hospital, Professional nurses

Abstract

The purpose of this descriptive research was to study the factors influencing decision making on selecting the status of professional nurses in the Autonomous Government Hospital Pilot Project . The study samples were composed of 212 executive nurses and 318 staff nurses, who were working in hospitals of the Autonomous Government Hospital Pilot Project. The research instruments were questionnaires that constructed by the researcher and consisted of professional nursescharacteristics, knowledge about the Autonomous Government Hospital, perception of motivators for making decisions on selecting their status and their value of being a government officer. The questionnaires were validated by 7 experts. The reliability coefficients of questionnaires on knowledge about the Autonomous Government Hospital were 0.80 (for Kuder Richardson 20 test) and the reliability coefficients of questionnaires on perception of motivators for making decision on selecting their status and their value of being a government officer were 0.84 and 0.77 (for Cronbachs Alpha coefficient test) respectively. The data were collected during January to February 2001. The returned and completed questionnaires of executive nurses numbered 184(86.8%) and staff nurses numbers 381(100.0%). The data was analyzed by using SPSS for window for percentage, mean, standard deviation, Chi-square, and Multiple Logistic Regression. The results showed that 47.3% of professional nurses decided to be an Autonomous Government Hospitals officer. Most all professional nurses had moderate levels of knowledge about Autonomous Government Hospital, perception of motivators for making decisions on selecting their status, and their value of being a government officer. Age, education level, salary, experiences, position, knowledge about personal management, perception of benefits, job security, policy and administration, supervision, recognition, and value in benefits and job security had statistically significant relationships with decision making on selecting a status. Age, education level, experiences, position, knowledge about personal management, perception to supervision, and job security value could explain 14.0% of variations in decision making on selecting a status of professional nurses. This research findings suggest that administrators should enhance knowledge about the Autonomous Government Hospital and motivation for making decision on selecting a status of professional nurses. As a result, the Autonomous Government Hospital Project will be successful.

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เลือกสถานภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลนำร่องของการเป็นโรงพยาบาลในกำกับ ของรัฐทั้ง 7 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษา ปัจจัยด้านลักษณะประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ การรับรู้ต่อสิ่ง จูงใจในการเลือกสถานภาพ และค่านิยมในการเป็นข้าราชการ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม ความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลในกำกับของรัฐโดยวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (K-R 20) ได้ค่าความ เที่ยง 0.80 แบบสอบถามการรับรู้ต่อสิ่งจูงใจในการเลือกสถานภาพและค่านิยมในการเป็น ข้าราชการ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บาค (Cronbachs Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.77 ตามลำดับ กลุ่ม ตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในกลุ่มงานการพยาบาลในโรงพยาบาลนำร่อง ของการเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นทั้งหมด 212 คน และระดับปฏิบัติการจำนวน 381 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ได้แบบสอบถามกลับคืนและข้อมูลมีความครบถ้วนในกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง และระดับต้น 184 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.8 และกลุ่มพยาบาลระดับปฏิบัติการ 381 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการถดถอยพหุแบบลอจิสติค ผลการิวจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพตัดสินใจเลือกที่จะเป็นพนักงานโรงพยาบาล ร้อยละ 47.3 ส่วนใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดมีความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ มีการรับรู้ต่อสิ่งจูงใจในการเลือกสถานภาพ และค่านิยมในการเป็นข้าราชการ ในระดับ ปานกลาง ปัจจัย อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย/เดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่งทางการบริหาร ความรู้ด้านการบริหารงานบุคคล การรับรู้ต่อสิ่งจูงใจด้านสวัสดิการ ด้านความมั่นคงในงานด้านนโยบายและการบริหาร ด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา และ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และค่านิยมในการเป็นข้าราชการด้านสวัสดิการและด้าน ความมั่นคงในงาน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกสถานภาพอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ โดยปัจจัย อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่งทางการบริหาร ความรู้ ด้านการบริหารงานบุคคล การรับรู้ต่อสิ่งจูงใจด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา และค่านิยม ในการเป็นข้าราชการด้านความมั่นคงในงาน ร่วมกันอธิบายความผันแปรที่เกิดขึ้นได้ร้อยละ 14.0 จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพได้รับความรู้เกี่ยวกับ โรงพยาบาลในกำกับของรัฐและส่งเสริมให้มีการรับรู้ต่อสิ่งจูงใจในการเลือกสถานภาพมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงความสำเร็จในการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐต่อไป

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-21

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์