The Development of an Information Technology-Based Instructional System for Higher Education Students (การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา)
Keywords:
Instructional System, Information Technology-Based, Higher EducationAbstract
The purposes of this study were to develop an information technology-based instructional system for higher education students, and to scrutinize its effects on their learning achievement development and ability to use information technology. The population of the study was Khon Kaen University students, and the sample groups were 68 students form the Faculty of Education taking 214 250 Curriculum Development in Science and Mathematics, and 48 students from the Faculty of Associated Medical Sciences taking 472 333 Electrotherapy II. The results of the study signify that the developed instructional system consist of the following components: curriculum analysis, learning objective specification, staff and learning resources preparation, learning network arrangement, and instructional evaluation. The instructional activities are arranged in two forms: (1) synchronous learning comprising five steps-definition and analysis of the problem, planning to solve the problem, search and discussion, presentation, and evaluation; (2) asynchronous learning which allows the students to work on content-related projects due to their interests. Accordingly, the results of the effects of the system show that the students learning achievement of both courses were higher, as the criteria stated, and their ability to use information technology in both courses was in the range of fair to good levels.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอน ที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ ผู้เรียน ประชากรที่ศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษาคณะ ศึกษาศาสตร์ ที่เรียนรายวิชา 210 250 การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ที่เรียนรายวิชา 472 333 ไฟฟ้าบำบัด 2 จำนวน 68 และ 48 คน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบคือ วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียน เตรียมบุคลากรและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จัดเครือข่ายการเรียนรู้ และประเมินการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน 2 รูปแบบ คือ (1) การเรียนแบบประสานเวลา ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ นิยามและ วิเคราะห์ปัญหา วางแผนเพื่อแก้ปัญหา สืบเสาะและอภิปรายเพื่อหาคำตอบ เสนอคำตอบ และประเมินการเรียนการสอน (2) การเรียนแบบไม่ประสานเวลาโดยให้ผู้เรียนทำโครงงาน ตามความสนใจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียน และจากการศึกษาผลการใช้ระบบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชาสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด และความ สามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชา มีระดับความสามารถเฉลี่ย อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี