A Construction of Supplementary Reading Book in Life - Experience Group on "Our Si Sa Ket Province" for Prathom Suksa four Students (การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง จังหวัด ศรีสะเกษของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี

Authors

  • ยุพิน โพธิ์ทอง (Yupin Poethong) Khon Khan University
  • รศ. ดร. เพ็ญณี แนรอท (Asso. Prof. Dr. Pennee Narot) Khon Khan University
  • ผศ. จุมพล ราชวิจิตร (Asst. Prof. Jumpol Rachvijit) Khon Khan University

Keywords:

Supplementary reading books, Si Sa Ket province

Abstract

The purpose of the present study were to construct supplementary reading books in life-experience group on our Si Sa Ket province for Prathom Suksa four students with the efficiency ratio, base on standard criteria, of 80/80 and to study the learning achievement of students through the use of supplementary reading books. The sample group participating in a testing of the efficiency of supplementary reading books were slected by purposive sampling from Prathom Suksa four students under Rasisalai District Primary Education Office in Si Sa Ket province. The supplementary reading books were tried-out in tree step : one-to-one testing with the students in Ban Nong Ngong school (3 students) with an efficiency ratio of 68.67/66.67, small group testing with the students in Ban Jig school (9 students) with an efficiency ratio of 71.56/73.33 and field-testing with the students in Ban Wan (Ratratnukun) school (1 class) with an efficiency ratio of 80.09/81.59. The improved supplementary reading books were used with an experimental group of the students in Muang Kong (Kong Kha Wittaya) school (1 class) for the improvement of the efficiency as expected criteria. The instruments used in the study which were constructed by the researcher included : 1) ten supplementary reading books on our Si Sa Ket province, 2) a 40-item test with a reliability of .72, 3) ten lesson plans using with the supplementary reading books. The findings showed that the supplementary reading books on our Si Sa Ket province as constructed had an efficiency ratio of 82.35/81.30 which was higher than the expected ratio. The statistical significant differences of the learning achievement was at .05 level.

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจังหวัดศรีสะเกษของเรา สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้หนังสือหนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพหนังสือหนังสืออ่านเพิ่มเติมได้มาจากการสุ่ม แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยทำการทดลอง เพื่อหาประสิทธิภาพหนังสือหนังสืออ่านเพิ่มเติม 3 ขั้นตอน คือ ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองโง้ง จำนวน 3 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ 68.67/66.67 ทดลอง แบบกลุ่มเล็กกับนักเรียนโรงเรียนบ้านจิก จำนวน 9 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ 71.56/73.33 ทดลองแบบภาคสนามกับนักเรียนโรงเรียนบ้านหว้าน (รัฐราษฎร์นุกูล) จำนวน 1 ห้องเรียน ได้ค่าประสิทธิภาพ 80.09/81.59 และกลุ่มทดลองในขั้นการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ที่ปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นนักเรียนโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องจังหวัดศรีสะเกษของเรา จำนวน 10 เล่ม 2) แบบทดสอบ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.72 3) แผนการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 10 แผน ผลการศึกษา พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องจังหวัดศรีสะเกษของเรา มีค่าประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ 82.35/81.30 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-21

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์