Science curriculum support activities using local wisdom "herb medicine" : action research (การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง “พืชสมุนไพร” : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ)
Keywords:
Local wisdom, Herb medicine, Action researchAbstract
The purpose of the present study was to organize curriculum supporting activities based on local wisdom and action research procedures to develop Matthayom Suksa V (Grade 11) student's participation and learning achievement in physical and biological science subject regarding medicine and life on the topic "Herbal Medicine". The research team consisted of the researcher, 2 teachers who served as co- researchers, and 20 Grade 11 students. The study followed Kemmis & McTaggart's action research procedures. The results of this study showed that teaching method employed and activities carried out in this project enhanced the students as the center of the activities. The reflective information give an insight into the flaws in the experiment when teaching / learning activities were going on and thus allowed readjustment of the activities for the better teaching. Besides, the experts were able to impart local wisdom to the younger generations. The student's test score had increased. The problem s encountered during the experiment, such as teaching learning activities took place when the weather was quite warm caused some students became less attentive. U se of local dialect on part of experts caused some misunderstanding in communication.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชสมุนไพร มาจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ เรื่องพืชสมุนไพร ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 2 คน และนักเรียนจำนวน 20 คน รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมดังกล่าวช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อบกพร่องระหว่างการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถแก้ไขปรับปรุงสิ่งต่างๆได้ในทันที วิทยากรท้องถิ่นได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นการสืบทอดสายธารด้านพืชสมุนไพรให้คงอยู่ต่อไป และ การสอนดังกล่าวช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงขึ้น ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบได้แก่ ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ค่อยเหมาะสม เพราะสภาพอากาศร้อนทำนักเรียนขาดสมาธิในการเรียน และการใช้ภาษาถิ่นของวิทยากรบ้างครั้งทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการสื่อสาร