การสร้างแบบทดสอบวัดความสามรถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (The Construction of A Critical Reading Test for Prathom Suksa V Student)
Keywords:
Critical Reading, TestAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างเกณฑ์ปกติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่นำมาศึกษามี 7 ด้าน คือ การจำแนกข้อเท็จจริงและความคิดเห็น การลำดับเรื่อง การจับใจความสำคัญของเรื่องการทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นล่วงหน้า การสรุปความ การเข้าใจจุดมุ่งหมาย ทัศนคติและลีลาการนำเสนอของผู้เขียน และการประเมินเรื่องการศึกษาครั้งนี้แบงออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การดำเนินการสร้างแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การปรับปรุงและหาคุณภาพของแบทดสอบ ระยะที่ 3 การสร้างเกณฑ์ปกติ ผลจากการศึกษาพบว่าแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่สร้างขึ้นมีคุณภาพที่ยอมรับได้ นั่นคือ ความตรงเช้งโครงสร้างมีดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งได้ค่า GFI เท่ากับ 0.85 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.69 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.67
The purposes of this study were to construct a critical reading test and to construct a local norm for prathom suksa v students. There were 7 components of critical reading: distinguishing fact and opinion, sequencing of content, getting the author’s main poinE, drawing conclusion, recognizing the author’s purpose, attitude and mood or tone, and evaluating of concepts. This study was divided into 3 phases. Phase 1 was constructing test. Phase 2 was revision and investigating the quality of test. Phase 3 was constructing a local norm. Results from the study showed that the quality of the developed critical reading test was acceptable. The construct related validity evidence which indicated by the GFI was 0.93, AGFI was 0.93 and RMR was 0.008. The reliability coefficient was 0.85 with the difficulty and discrimination indices ranged from 0.30 to 0.69 and 0.20 to 0.67, respectively.