การวิเคราะห์สารสนเทศที่ใช้ในการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏ (Analysis of Information Usedfor Quality Assessment of Rajabhat Universities)

Authors

  • สมบูรณ์ ชาวชายโขง (Somboon Chaochaikong) Khon Kaen University
  • ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ (Dr.Lampang Manmart)

Keywords:

Quality assessment (การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย), Performance indicators (ตัวชี้วัด), Assessment information (สารสนเทศเพื่อการประเมิน)

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มิติและตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ผลิตสารสนเทศเพื่อประเมินคุณภาพตามตัวชี้วัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารการประเมินคุณภาพของหน่วยงานประเมินทั้งในประเทศและระดับสากล ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) QS Intelligence Unit (QS), Times Higher Education (THE), National Taiwan University (NTU)และ Shanghai Ranking Consultancy (SRC) ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมีมิติการประเมินคุณภาพ5 มิติ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ไม่ซ้ำกัน 74 ตัวจากทั้งหมด 94 ตัว มีสารสนเทศที่ใช้ตอบตัวชี้วัดทั้งหมด 56 ตัว คือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 40 ตัว มีสารสนเทศที่ใช้ตอบ 55 ตัว และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 34 ตัว มีสารสนเทศที่ใช้ตอบ 1 ตัว เนื่องจากมีโครงสร้างการประเมินเหมือนกันแต่มีค่าของคะแนนเท่านั้นที่ต่างกันและพบว่ามีกลุ่มข้อมูลที่ผลิตสารสนเทศทั้งหมด 9 กลุ่ม คือ 1) ข้อมูลอาจารย์ 2) ข้อมูลนักศึกษา 3) ข้อมูลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 4) ข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 5) ข้อมูลศิษย์เก่า 6) ข้อมูลโครงการบริการวิชาการแก่สังคม 7) ข้อมูลงบประมาณ 8) ข้อมูลคะแนนผลการประเมินของตัวชี้วัด และ 9) ข้อมูลเกณฑ์การประเมินสำหรับตัวชี้วัดเชิงคุณภาพผลการวิจัยดังกล่าว จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏต่อไป

ABSTRACT

This research was part of The Information System for Quality Assessment in Rajabhat University. This study is aimed to analyze dimensions, indicators, information and data for quality assessment of the Rajabhat Universities. The study methods relied on archival research of domestic and international organizations i.e. the office of the public sector development commission, theoffice for national education standards and quality assessment, the office of higher education commission, QS Intelligence Unit (QS), Times Higher Education (THE), National Taiwan University (NTU) and Shanghai Ranking Consultancy (SRC). The study revealed that there were 5 assessment dimensions i.e. graduated production,research task, academic services, art and culture enhancement and organization management and there were 74 different indicators out of  94. In addition, it showedthat there were 9 data groups i.e. 1) staff 2) student 3) alumni 4) research and innovation 5) research and innovation publications 6) social academic service project 7) budget 8) performance and 9) qualitative assessment criteria that formed 56 information (55 quantitative information for 40 quantitative indicators but 1 qualitative information for 34 qualitative indicators). These important data will be used to design the database structure of the information system for quality assessment in the Rajabhat universities.

Downloads

Additional Files

Published

2016-01-22

Issue

Section

บทความวิจัย