กระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มธุรกิจชุมชนผ้าย้อมคราม (Knowledge Management Process of Indigo Dyed Cloth Community Business)

Authors

  • สุทิศา ซองเหล็กนอก (Sutisa Songleknok) Khon Kaen University
  • ดร.สมาน ลอยฟ้า (Dr.Smarn Loipha Khon Kaen University
  • ดร.ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ (Dr.Chollabhat Vongprasert) Khon Kaen University

Keywords:

Knowledge management (การจัดการความรู้), Indigo dyed cloth (ผ้าย้อมคราม), Community business (ธุรกิจชุมชน)

Abstract

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของธุรกิจชุมชนผ้าย้อมครามตามห่วงโซ่คุณค่า  และปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้และธุรกิจชุมชนผ้าย้อมคราม เก็บรวบรวมข้อมูลจากปรากฏการณ์ของหน่วยศึกษาที่มีการจัดการความรู้และการจัดการธุรกิจชุมชนที่ดี คือ ฑีตาผ้าย้อมครามธรรมชาติ และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านถ้ำเต่า วิธีการวิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับบริบทชุมชนและการจัดการความรู้ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่ากลุ่มธุรกิจชุมชมทั้งสองกลุ่มมีกระบวนการจัดการความรู้ที่แฝงรวมอยู่ในกระบวนทำงาน ความรู้ส่วนใหญ่เป็นความรู้ฝังลึก ประกอบด้วยกระบวนการจัดการความรู้ 6 ขั้น ดังนี้  (1) การระบุถึงความรู้  (2) การแสวงหาและจัดหาความรู้  (3) การสร้างความรู้ (4)  การจัดระบบและจัดเก็บความรู้  (5)  การแลกเปลี่ยนและการถ่ายทอดความรู้ (6) การใช้ความรู้ ซึ่งมีกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างเป็นองค์รวมและเกิดขึ้นกับสมาชิกและกลุ่มเครือข่ายผลิต  ปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้และธุรกิจชุมชนผ้าย้อมครามตามห่วงโซ่คุณค่าคือ ผู้นำ รายได้ ความไว้ใจ

ABSTRACT

This qualitative research aimed to examine the knowledge management of indigo dyed cloth community business through a value-chain analysis approach, and examine factors facilitating the knowledge management and indigo dyed cloth community business. The data collection, retrieved from case studies having good knowledge management and community business management systems and outcomes, involved Teeta natural Indigo-dyed textile and Baan Tam Tao Farm Women’s Group. Participation and non-participation observation and in depth interview techniques were conducted with key informants concerning the context of community and knowledge management. The data was analyzed and synthesized through content analysis technique. The findings revealed that both community enterprise groups reported their working process are implicitly contained or embedded in existing knowledge management, identified as tacit knowledge. In this research, the process of knowledge management was categorized into six stages as follows: (1) Knowledge goal and identification (2) Knowledge acquisition (3) Knowledge creation (4) Knowledge organization and storage (5) Knowledge transfer and sharing, and (6) Knowledge utilization. The working process among those components was integrated as a whole process and could be seen in operation in individual members, as well as within network production groups. The factors facilitating the success of learning management process and community business of indigo dying cloth through a value chain analysis approach, were found to be leader, profit, and trust.

Downloads

Additional Files

Published

2016-01-26

Issue

Section

บทความวิจัย