การอบแห้งแครอทโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบสูบความร้อนสุญญากาศ ( Drying of Carrots by Using a Vacuum Heat Pump Dryer)

Authors

  • สิริธร สุภาคาร (Sirithon Supakarn) Graduate School, Khon Kaen University
  • รตินันท์ เหลือมพล (Ratinun Luampon)
  • สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ (Somnuk Theragulpisut)
  • อภิชาติ อาจนาเสียว (Apichart Artnaseaw)

Keywords:

ความชื้นสมดุล (Equilibrium moisture content) อบแห้งสุญญากาศ (Vacuum drying) อบแห้งแครอท (Carrot drying)

Abstract

การอบแห้งผลผลิตทางการเกษตรมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการอบแห้งซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ความชื้นสมดุล ในการศึกษานี้จึงได้ศึกษาเพื่อหาความชื้นสมดุลของการอบแห้งแครอทด้วยเครื่องอบแห้งระบบสุญญากาศโดยใช้ความร้อนจากเครื่องสูบความร้อน ทำการทดลองที่อุณหภูมิ 50 55 และ 60 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 0.2 บาร์ และภายในห้องอบแห้งมีความชื้นสัมพัทธ์ในช่วง 10-75 %RH ซึ่งควบคุมโดยใช้สารละลายเกลืออิ่มตัว จากการทดลองในสภาวะความดันต่ำกว่าบรรยากาศ พบว่า เมื่ออุณหภูมิในการอบแห้งต่ำ ทำให้ความชื้นสมดุลของผลิตภัณฑ์และค่าความชื้นสัมพัทธ์ในห้องอบแห้งสูง จากข้อมูลการทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบสมการความสัมพันธ์ Oswin GAB Peleg Modified Oswin และ Modified GAB พบว่า รูปแบบสมการ Peleg สามารถทำนายความชื้นสมดุลได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง (R2 = 0.99) จากการอบแห้งแครอทภายใต้สภาวะสุญญากาศ สามารถทำนายอัตราส่วนความชื้นของการอบแห้งแครอทได้ โดยเมื่อใช้อุณหภูมิในการอบแห้งสูง มีผลให้อัตราการอบแห้งเพิ่มขึ้นและใช้เวลาในการอบแห้งน้อยลง และจากการศึกษารูปแบบสมการการอบแห้งแบบชั้นบาง พบว่า รูปแบบสมการ Midilli อธิบายการอบแห้งของแครอทได้

Drying of agricultural products depends on several factors, one of which is the equilibrium moisture content (EMC). The main objective of this research is to experimentally determine the EMC of carrot under vacuum conditions by using a vacuum heat pump dryer. Experimental drying of the products was carried out at the pressures of 0.2 bar and the drying temperatures of 50, 55 and 60°C respectively. A saturated salt solution was used to control the drying relative humidity to be in the range of 10-75 %RH. From this study, it was discovered that under vacuum drying the equilibrium moisture content of the products and the relative humidity tended to increase as the drying temperature decreased and that both the EMC and RH tended to decrease with the drying pressure. Compare to the correlations proposed by Oswin, GAB, Peleg, modified Oswin and modified GAB, it was found that the functional form of Peleg fitted the data the best with R2 of 0.99. The values of the moisture content of the products which were monitored at different times during drying were used with the EMC values obtained from the proposed equations to determine the moisture ratios of the product at different drying times. Among nine well-known correlations, the functional form proposed by Midilli gave the best results in predicting the drying of carrot under vacuum.   

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-13

Issue

Section

บทความวิจัย