ผลของการฝึกผสมผสานแบบ เอส เอ พี ที่มีต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไวและปฏิกิริยาตอบสนองของนักกีฬาบาสเกตบอลชายในระดับเยาวชน (Effects of Complex SAP Model Training on Muscle Power and Strength, Speed, Flexibili

Authors

  • เสถียร เหล่าประเสริฐ (Satian Laoprasert) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.คุรุศาสตร์ คนหาญ (Dr.Kurusart Konharn)
  • ดร.สมชาย รัตนทองคำ (Dr.Somchai Rattanathongkom)
  • ประพันธ์ศักดิ์ เดชศรี (Prapansak Detsri)
  • จิระวุฒิ กมลตรี (Jirawut Kmontree)
  • จิระชัย คาระวะ (Jirachai Karawa)

Keywords:

สมรรถนะ (Performance), การฝึกพลัยโอเมตริก (Plyometric training), สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ (Skill-related physical fitness)

Abstract

กีฬาบาสเกตบอลจำเป็นต้องอาศัยสมรรถภาพทางร่างกายที่ดีของนักกีฬา เช่น พลังและความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว และปฏิกิริยาตอบสนอง ขณะที่การนำเอาสมรรถภาพด้านต่างๆเหล่านี้มาสร้างเป็นรูปแบบการฝึกอย่างบูรณาการเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนซึ่งอยู่ในช่วงวัยของการเจริญเติบโต การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกผสมผสานแบบ เอส เอ พี ที่มีต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว และปฏิกิริยาตอบสนองของนักกีฬาบาสเกตบอลชายในระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลเพศชายระดับเยาวชน  จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน (อายุ 16.50 ± 1.00 ปี ดัชนีมวลกาย 21.08 ± 3.17 กิโลกรัมต่อเมตร2) ได้รับการฝึกความเร็วร่วมกับความแคล่วคล่องว่องไว (SA) และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน (อายุ 16.57 ± 1.04 ปี ดัชนีมวลกาย 20.06 ± 3.64 กิโลกรัมต่อเมตร2) ได้รับการฝึกผสมผสานแบบเอส เอ พี ประกอบด้วย การฝึกความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไวร่วมกับการฝึกพลัยโอเมตริกโดยทำการฝึกวันละ 120 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12  สัปดาห์ และนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบหาค่าทีระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent Sample t - test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measure ANOVA) แล้วทำการทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ระหว่างก่อนการฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 8 และ 12 ผลการวิจัยพบว่า พลังและ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และปฏิกิริยาตอบสนองของกลุ่มทดลองมีผลการทดสอบดีกว่ากลุ่มควบคุมหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12  (p<.05) ขณะที่พลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และปฏิกิริยาตอบสนอง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12 มีผลการทดสอบดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก หลังสัปดาห์ที่ 4 และ 8 (p<.05) สรุปได้ว่าการฝึกผสมผสานแบบ เอส เอ พี ช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายหลักของนักกีฬาบาสเกตบอลในระดับเยาวชนให้ดีขึ้นได้

Basketball player requires physical fitness; muscle power, muscle strength, speed, flexibility, agility and reaction time. Therefore, combinations of physical fitness to develop training program for adolescents are necessary. The purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effect of SAP model training on muscle power, muscle strength, speed, flexibility, agility and reaction time in young male basketball players. The participants were 60 young male basketball players. They were divided into two groups: control group comprised of 30 players (aged 16.50 ± 1.00 years BMI 21.08 ± 3.17 kg/m2) and received speed and agility (SA) program and the experimental group comprised of 30 players (aged 16.57 ± 1.04 years BMI 20.06 ± 3.64 kg/m2) received speed, agility and plyometric (SAP) program. They were trained 120 minute/day for 3 days a week for 12 weeks consecutively. Data was analyzed independent t-test and One-way Analysis of Variance (ANOVA) with repeated measure, a Bonferroni post hoc test was calculated with an alpha level of .05 for all statistical tests (p<.05). The findings showed that there were significant improved of muscle power, muscle strength, speed, agility and reaction time between the control group and experimental group after 12 weeks of training (p<.05). While, was significant difference of muscle power, muscle strength, speed, agility and reaction time in the experimental group after training 12 weeks more than after training 4 and 8  weeks (p<.05). This study conclude that SAP model training program is effective program to enhance skill-related physical fitness among young male basketball players.

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-14

Issue

Section

บทความวิจัย