พฤติกรรมการล้างมือของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร (Hand Washing Behavior of Child Caregivers in the Preschool Child Development Center at Bangkok)

Authors

  • ไมลา อิสสระสงคราม (Mila Issarasongkhram) Graduate School, Khon Kaen University
  • ทัศนีย์ บุญประคอง (Thassanee Boonprakong)
  • เกษม จันทร์แก้ว (Kasem Chunkao)

Keywords:

การล้างมือ (Hand washing), ผู้ดูแลเด็ก (Child caregiver), ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (Preschool child development center)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการล้างมือของผู้ดูแลเด็ก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้ออำนวย  และปัจจัยส่งเสริมกับพฤติกรรมการล้างมือของผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานครจำนวน 346 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการล้างมือของผู้ดูแลเด็กที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการฟอกมือ ร้อยละ 97.1 รองลงมา การฟอกมือครบทุกส่วน ร้อยละ 91.9 2) ผู้ดูแลเด็กมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการล้างมือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการล้างมือและพฤติกรรมการเสริมแรงของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดี  3) ความรู้เกี่ยวกับการล้างมือมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการล้างมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการล้างมือมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการล้างมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการล้างมือแก่ผู้ดูแลเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ และควรมีการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องใช้ในการล้างมืออย่างเพียงพอ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ผ้าเช็ดมือหรือกระดาษเช็ดมือ สำหรับใช้ 1 คนต่อ 1 ครั้ง

The objective of this study was to compare  hand washing behavior of  346 child caregivers between predisposing factors , reinforcing factors and enabling factors  of  child caregivers in the preschool child development center at Bangkok. The finding showed: 1) The child caregivers had the most incorrect hand washing behavior 97.1 percent. The second complete hand washing 91.9 percent. 2) The child caregivers had a moderate level knowledge about hand washing but the overall of facilities and equipment used for hand washing behavior and reinforcement of personnel was poor level. 3) A knowledge about the hand  washing  was  positively correlated moderately with hand washing behavior significant statistically at 0.001. The facilities and equipment used to wash a high positive correlation with hand washing behavior statistically significant at 0.001. Based on the major findings, it was recommended as follows: The administrator should develop knowledge about hand washing to child caregivers in order to raise awareness of the importance of hand washing and should be use to support adequate equipment  such as hand washing sinks, soap, hand towel or paper towel for one person one time.

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-15

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Article)