แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร (Motivation and Organization Support Affecting to Drug Management of Health Care Personnel at Sub-District Health Promoting Hospi

Authors

  • ปรัตถกร วงศ์กาฬสินธุ์ (Paratthakon Wongkalasin) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.ประจักร บัวผัน (Dr.Prachak Bouphan)

Keywords:

แรงจูงใจ (Motivation), การสนับสนุนจากองค์การ (Organization support), การบริหารเวชภัณฑ์ (Drug management)

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร จำนวน 168 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 116 คน และเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2559 ถึง 26 เมษายน 2559 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ภาพรวมระดับแรงจูงใจ ระดับการสนับสนุนจากองค์การ ระดับการบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.69 (SD=0.52), 3.60 (SD=0.51) และ 3.94 (SD=0.51) ตามลำดับ และแรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการบริหารเวชภัณฑ์ (r=0.706, p-value<0.001) การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับการบริหารเวชภัณฑ์ (r=0.730, p-value<0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านสถานภาพการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากองค์การด้านวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร้อยละ 60.8 (R2=0.608, p-value < 0.001)

 

This cross-sectional descriptive research was aimed to study motivation and organizational support affecting to drug management of health personnel at sub-district health promoting hospital in Sakon Nakhon province, Thailand. The total number of volunteers in this study were 168 where 116 volunteers were provide a quantitative data through a self-administered questionnaire. Data collection was carried out from April 7th to April 26th, 2016. The data was then analyzed using a package computer program. Descriptive statistics, Pearson’s correlation and multiple linear regression, content analysis were utilized to analyze the data. The results show that the level of motivation, organization support and drug management was high 3.69 (SD=0.52), 3.60 (SD=0.51), 3.94 (SD=0.51), respectively. And motivation had moderate level positive relationship with drug management. And organization support had high level positive relationship with drug management. There were five factors : policy and administration, material, work it self, job security, and working conditions. Together, could predict to drug management at 60.8 percent (R2= 0.608, p-value <0.001)

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-15

Issue

Section

บทความวิจัย