การพัฒนาเทคนิคการระเบิดเปลือกดินที่เกิดแรงสั่นสะเทือนต่ำที่เหมืองแม่เมาะ (Development of Low-Vibration Overburden Blasting at Mae Moh mine)

Authors

  • จิราวรรณ ดำรงฤทธิ์ (Jirawun Dumrongrit) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.พิษณุ บุญนวล (Dr.Pitsanu Bunnaul)
  • ดร.วิษณุ ราชเพ็ชร (Dr.Vishnu Rachpech)
  • กฤษณ์ สารทะวงษ์ (Krit Santawong)
  • วิสวัส หลีวิจิตร (Witsawas Lheewijit)

Keywords:

เทคนิคการระเบิดแรงสั่นสะเทือนต่ำ (Low-vibration blasting technique), การระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด (Stem-plug blasting)

Abstract

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการระเบิดที่เกิดแรงสั่นสะเทือนต่ำกว่าการระเบิดแบบปกติที่เหมืองแม่เมาะใช้ในปัจจุบัน สำหรับประยุกต์ใช้ในการระเบิดดินแดงที่เหมืองถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เทคนิคที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด  เทคนิคการใช้การเว้นช่องว่างอากาศในรูเจาะ  เทคนิคการใช้แก็ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกันและเทคนิคที่อาศัยการสลายพลังของคลื่นด้วยกันเอง ผลการศึกษาพบว่าเทคนิคที่ลดแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุดคือเทคนิคที่อาศัยการสลายพลังกันเองของคลื่น แต่เมื่อพิจารณาครบทั้งด้านการแตกของดิน การลดแรงสั่นสะเทือน และความยากง่ายในขั้นตอนการปฏิบัติแล้วเทคนิคที่ดีที่สุดคือการระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิดที่สามารถลดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 44.78%

The purpose of this study was to develop a blasting technique with lower vibration for blasting application at Maemoh Lignite mine, Lampang Province. Blasting techniques to be included in this study were stem-plug blasting., air-deck blasting, deck-charged blasting and waveform interference technique. Waveform interference technique was found to provide the most reduction in vibration.  However, if fragmentation and ease of operation were included into consideration stem-plug blasting technique was the best. With this technique, the reduction in vibration was 44.78%.

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-15

Issue

Section

บทความวิจัย