วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal <p> วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” (Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี (Theoretical Contributions) ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ (Managerial Contributions) นักวิจัยหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการวิจัยที่ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เทคโนโลยีทางการศึกษา และการจัดการเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาชีพของอาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการ ในด้านการจัดการเทคโนโลยี</p> <p> </p> <p><em>ตั้งแต่ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป ทางวารสารได้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความเป็น 3 ท่าน (จากเดิม 2 ท่าน)</em></p> คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม th-TH วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2730-3756 ส่วนหน้า https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254633 <p>ส่วนหน้า</p> ผศ.ดร.อภิดา รุณวาทย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 1 6 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์สตอเรจแบบโอเพ่นซอสบนเซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ชวลไลเซชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/250047 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของคลาวด์สตอเรจทั้ง 5 โปรแกรม ได้แก่ Nextcloud, ownCloud, Seafile, Pydio และ Tonido แบบโอเพ่นซอสบนเซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ชวลไลเซชั่น โดยมีการทดลอง 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 ทำการทดสอบการวัดความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล (Bandwidth) วิธีที่ 2 ทำการทดสอบค่าการตอบกลับต่อผู้ใช้งาน (Response Time) โดยจำลองสถานการณ์ให้ผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดข้อมูลพร้อม ๆ กัน จำนวน 40 เครื่อง วิธีที่ 3 ทำการทดสอบค่าการร้องขอของผู้ใช้ในการทำงาน 1 รอบต่อนาที (Throughput) โดยการรับค่าตอบกลับจากเครื่องลูกข่าย ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้าน เวลาตอบสนอง(Response Time) โปรแกรม Nextcloud มีประสิทธิภาพในการตอบกลับต่อผู้ใช้งานได้ดี ส่วนการเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้าน ทรูพท (Throughput ) จะเห็นได้ว่า Seafile มีการร้องขอได้เร็วกว่า Nextcloud ที่มีประสิทธิภาพในการตอบกลับต่อผู้ใช้งานได้ดีกว่า และผลการทดสอบประสิทธิภาพด้าน Bandwidth ในการอัปโหลดไฟล์ จะเห็นได้ว่า Seafile อัปโหลดได้เร็วที่สุดเป็นลำดับแรก ส่วน Tonido มีการ Download ไฟล์ได้เร็วที่สุดเป็นลำดับแรก</p> จรวย สาวิถี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 7 17 การพัฒนาระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/251566 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบกระบวนการในการจัดส่งปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) พัฒนาระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาใช้สนับสนุนการให้บริการแก่ผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและเจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จำนวน 6,237 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลกระทบการนำระบบมาใช้ในการสนับสนุนการให้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการในการจัดส่งปริญญาบัตร มีผู้ประสงค์ทำการยืนยันขอรับปริญญาบัตร จำนวน 6,237 คน ได้ใช้บริการระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 1,202 คน เป็น 19.27 % 2) ผลการพัฒนาระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พบว่า มีกี่องค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ใช้บริการ ด้านผู้ให้บริการและด้านระบบขนส่ง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อมารับปริญญาบัตรตัวตนเองที่มหาวิทยาลัย ทั้งสิ้น 612,816 บาท จากจังหวัดที่ทำการจัดส่งจำนวน 55 จังหวัด และ 3) ผลการศึกษาผลการทดลองใช้ระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาใช้สนับสนุนการให้บริการแก่ผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.76, SD. = 0.42) ดังนั้นจึงสรุปผลได้ว่า การนำระบบขอรับบริการจัดส่งปริญญาบัตรผ่านบริการขนส่งสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาใช้ในสนับสนุนงานบริการของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> วีรอร อุดมพันธ์ ศรายุทธ เนียนกระโทก แสงเพ็ชร พระฉาย กฤติกา เผื่อนงูเหลือม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 18 27 การสังเคราะห์และพัฒนาคู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/253008 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 2) พัฒนาคู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินเครื่องมือการวิจัย จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 จำนวน 3 คน และ กลุ่มที่ 3 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบคัดกรองวิสาหกิจชุมชนของกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กลไกการการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ (1) นโยบาย หลักการ แนวคิด บริบท ปัญหา และความต้องการ (2) กลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ตัวชี้วัด และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.60, SD.=0.65) และ 2) คู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วยคู่มือ 3 รายการ คือ คู่มือสำหรับวิสาหกิจชุมชน คู่มือสำหรับพี่เลี้ยง และคู่มือสำหรับผู้นำชุมชน โดยคู่มือทั้ง 3 รายการ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ (1) ส่วนระบบคัดกรองสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ (2) ส่วนการวางแผนการจัดจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบคัดกรองวิสาหกิจชุมชน โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.54, SD.=0.52) และ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.65, SD.=0.51)</p> ธีระพงษ์ เลิศทิฐิวงศ์ วรปภา อารีราษฎร์ ธรัช อารีราษฎร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 28 41 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/253003 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) พัฒนาคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีองค์ประกอบ 7 ส่วน ประกอบด้วย (1) ด้านนโยบาย (2) ด้านบริบทความต้องการ (3) ด้านหลักการและทฤษฎี (4) ด้านการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ (5) ด้านเทคโนโลยี (6) ด้านบุคลากร และ (7) ด้านตัวชี้วัดความสำเร็จ 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.77, SD.=0.45) และ 3) คู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวน 2 เล่ม ได้แก่ คู่มือระดับมหาวิทยาลัย และคู่มือระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 รูปแบบการดำเนินงาน หน่วยที่ 2 การวางแผนการดำเนินงาน หน่วยที่ 3 การลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน หน่วยที่ 4 การตรวจสอบผลการดำเนินงานตามกรอบ หน่วยที่ 5 การสะท้อนผลและปรับปรุงการดำเนินงานตามกรอบ ความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.63, SD.=0.48)</p> จักรกริช คำสม ธรัช อารีราษฏร์ อภิชาติ เหล็กดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 42 55 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของ วิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252341 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านโลจิสติกส์ รวมจำนวน 5 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศ รวมจำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา แบบประเมินประสิทธิภาพระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลา มีการทำงานหลัก 6 โมดูล ประกอบด้วย (1) จัดการข้อมูลของผู้จัดหาวัตถุดิบ (2) จัดการข้อมูลของลูกค้า (3) จัดการรายการสั่งซื้อวัตถุดิบ (4) จัดการสต๊อกสินค้า (5) การสั่งซื้อสินค้า และ (6) ออกรายงานสรุปผลข้อมูล ระบบสารสนเทศทำงานแบบเว็บแอปพลิเคชันโดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้ตามสิทธิ์ที่กำหนด 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.84) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.88) ระบบสารสนเทศช่วยลดเวลาในการทำงานโดยเวลาเฉลี่ยของทุกงานก่อนใช้ระบบ 9.74 นาที และหลังจากใช้ระบบ 4.53 นาที ลดลง 5.21 นาที คิดเป็นร้อยละ 53.47 และจากการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติทดสอบทีพบว่า ค่า p-value ของทุกงานมีค่าเท่ากับ .000 ซึ่งน้อยกว่า .05 (α=.05) จึงสรุปได้ว่า หลังจากใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะทำให้เวลาการทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นนี้มีประโยชน์ สามารถบริหารจัดการโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนลูกตาลกรอบบ้านพังเถียะ จังหวัดสงขลาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ</p> เอกรินทร์ วาโย กุลยุทธ บุญเซ่ง ธีระเดช เพชรแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 56 73 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/251840 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ 2) พัฒนาระบบระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ในการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภายในกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ มีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การทำ ETL (2) สร้างคลังข้อมูล (3) สร้าง Cube และ (4) การออกแบบรายงาน ได้นำไปให้บริการกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภายในกรมโยธาธิการและผังเมือง 2) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงานมาสรุปผ่านเว็บบราวเซอร์และมือถือได้ และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.26,SD.=0.73) ดังนั้นจึงสรุปผลได้ว่ากรมโยธาธิการและผังเมือง ได้นำระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยด้วยเทคนิคระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ในสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พรธิยา แถวโนนงิ้ว วีรอร อุดมพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 74 84 การพัฒนาสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกาย ด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252655 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา 2) ศึกษาคุณภาพของสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในการใช้สื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และบุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพภาพสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา พบว่า สื่อมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแสดงผลภาพและส่วนแสดงผลข้อมูล โดยสื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถให้ข้อมูลมีรายละเอียดที่ชัดเจน 2) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในการใช้สื่อเชิงโต้ตอบแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีทัวร์เสมือนจริง 360 องศา พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ภาภรณ์ เหล่าพิลัย ทินกร โพธิโสภา กิตติศักดิ์ สร้อยสันเทศ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 85 95 การพัฒนาระบบลาออนไลน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/250616 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบลาออนไลน์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบลาออนไลน์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบลาออนไลน์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารและบุคลการที่ทำหน้าที่งานบุคคล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบลาออนไลน์ และแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบลาออนไลน์สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบลาออนไลน์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ประกอบด้วย3ส่วนได้แก่ (1) ผู้ใช้ระบบ (2) หัวหน้างาน (3) ส่วนของผู้บริหาร ระบบสามารถการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูลและการนำเสนอรายงานได้อย่างถูกต้อง ระบบสามารถทำงานได้จริงและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบลาออนไลน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพระบบภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านจะเห็นว่า ด้านส่วนติดต่อผู้ใช้งานอยู่ในระดับดีมาก ด้านบันทึกผลและด้านการรายงานผลอยู่ในระดับดีและ 3) ผลการศึกษาผลการทดลองใช้ต่อระบบลาออนไลน์ พบว่า ระบบบริหารบุคคล สามารถเข้าถึงเมนูต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน รูปแบบการนำเสนอข้อมูลเป็นรายงานที่สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว</p> สุภเวช บุตรศรีภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 96 105 ระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงอบยางพาราแบบก้อนถ้วย ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252303 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงอบยางพาราแบบก้อนถ้วยด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง 2) เปรียบเทียบการอบยางพาราแบบก้อนถ้วยในโรงอบ 3) เปรียบเทียบระยะเวลาการอบยางพาราแบบก้อนถ้วยที่มีผลต่อความชื้นในก้อนยางพารา และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงอบยางพาราแบบก้อนถ้วยด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 30 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทุกสรรพสิ่ง ด้วยโปรแกรม Arduino IDE เขียนด้วยภาษา C++ ระบบสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงอบยางพาราแบบอัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ผ่าน Line Notify มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ไดอะแกรม และสถาปัตยกรรมระบบ 2) ผลการเปรียบเทียบการอบยางพาราแบบก้อนถ้วยในโรงอบที่มีการควบคุมสภาพอากาศ โดยเวลาน้อยกว่าโรงอบที่ไม่มีการควบคุมสภาพอากาศ คิดเป็นร้อยละ 95.83 ส่งผลให้ราคายางพาราแบบก้อนถ้วยเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 42.86 3) ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาการอบยางพาราแบบก้อนถ้วยที่มีผลต่อความชื้นในก้อนยางพารา จะใช้ระยะเพียง 40 นาที ซึ่งทำให้ก้อนยางพารามีความชื้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและ 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบ พบว่า ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.46 เนื่องจากระบบสามารถใช้งานง่าย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และมีความปลอดภัยในการป้องกันไฟลัดวงจร</p> อมิตตา คล้ายทอง ปฏิกมล โพธิคามบำรุง ลัดดาวัลย์ หวังเจริญ อลงกรณ์ โถงโฉม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 106 119 การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252340 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 อำเภอเมืองลพบุรี จำนวน 30 โรงเรียน และคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 อำเภอเมืองลพบุรี จำนวน 15 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ การคัดกรองบุคคลที่มีสมาธิสั้นและการคัดกรองบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถประเมินผลได้แบบเรียลไทม์ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการประเมินความสอดคล้องของแอปพลิเคชันจำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ด้านประสิทธิผล และด้านการเรียนรู้ พบว่าแอปพลิเคชันมีความเหมาะสมในทุกรายการประเมินของทุกด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.64, SD.= 0.16) สามารถสรุปได้ว่าแอปพลิเคชันที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและสามารถนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้ และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันคัดกรองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.78, SD. = 0.22)</p> กิตติ โพธิสมภาพวงษ์ สมโภชน์ สายบุญเรือน สวิชญา ศรีไพร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 120 131 การพัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252807 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ทดสอบผลการทำงานของแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวใน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าส่วนการทำงานประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนผู้ดูแลระบบ ส่วนนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว และส่วนนักท่องเที่ยวใช้งาน 2) ผลทดสอบผลการทำงานของแอปพลิเคชัน พบว่า มีผลการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.81, SD. = 0.21) ประกอบด้วยการทดสอบฟังก์ชันการทำงาน การทดสอบการเชื่อมต่อกับบริการอื่น ๆ การคลิกทดสอบโปรแกรมไปเรื่อย ๆ ตามการทำงานของระบบ และการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ โดยสามารถทำงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งานของแอปพลิเคชันใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน้าจอ สามารถค้นหาและแสดงข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามหมวดหมู่และเงื่อนไข มีการจำแนกสิทธิ์ของการใช้งานในกรณีเข้าใช้งานปกติและการเข้าใช้งานโดยมีการพิสูจน์ตัวตนในการเข้าสู่แอปพลิเคชัน เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้แอปพลิเคชันได้ และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.65, SD. = 0.34) ประกอบด้วยการใช้ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสม การใช้สีพื้น และสีตัวอักษะ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันของการออกแบบแต่ละหน้าจอ มีการใช้ข้อความและภาพในการสื่อความหมาย การแสดงผลการโต้ตอบต่อผู้ใช้มีความเหมาะสมและใช้ข้อความ คำศัพท์ที่ใช้เข้าใจง่าย คุ้นเคย และง่ายต่อการจดจำ</p> สุรสิทธิ์ ศักดา วลัยรัชช์ นุ่นสงค์ อรยา สุขนิตย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 132 143 การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล แบบ Unsupervised Learning https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252989 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันสำรวจข้อมูลผู้สอนเพื่อการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน และ 2) เพื่อวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ 1) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ 3) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 4) สาขาวิชานวัตกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และ 5) สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนวิชาการรู้ดิจิทัล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความถนัดด้านเนื้อหาการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน 2) แบบสอบถามสัมพันธภาพด้านการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันสำรวจข้อมูลผู้สอนเพื่อการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน พบว่า เว็บแอปพลิเคชัน มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ (1) จัดการข้อมูลระบบ และ (2) แบบสอบถาม และในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.42, SD.=0.56) และ 2) ผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มผู้สอนด้วยเทคนิคแบบเคมีน ร่วมกับการสร้างกฎความสัมพันธ์ด้วยวิธีอัลกอริทึมอพริโอริ พบว่า ผลการจัดกลุ่มผู้สอนในภาพรวมที่เหมาะสมได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 3.00 (2) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.10 (3) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.41 และ (4) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.91 ด้วยกฎความสัมพันธ์ 21 กฎ</p> นพรัตน์ โพธิ์สิงห์ เอกธนัช เหลืองศิริวรรณ วีระชัย บุญปก ทวีวัฒน์ มูลจัด Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 144 158 การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในรูปแบบของโมบายแอปพลิเคชัน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252487 <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีแบบเจาะจงได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จำนวน 3 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) แบบประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน 3) แบบประเมินประสิทธิผลแอปพลิเคชัน และ(4) แบบสอบถามความพึงพอใจแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนของครูประจำชั้น (2) ส่วนของครูผู้สอน (3) ส่วนของนักเรียน (4) ส่วนของผู้ปกครอง สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้งาน 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.41, SD. = 0.55) 3) ผลศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแอปพลิเคชัน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.38, SD. = 0.65) และ 4) ผลศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.44, SD. = 0.63) ดังนั้นการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะทำให้ครูสามารถมอบหมายงานและติดตามการส่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายงานผลการเรียนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้ผู้ปกครองสามารถรับทราบการมอบหมายงานและผลการเรียนของนักเรียน เพื่อนำไปใช้ในการติดตามและสนับสนุนการเรียนของนักเรียน และนักเรียนก็สามารถเข้าไปตรวจสอบมอบหมายงานและผลการเรียนของตนเองได้ ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและนักเรียน</p> แพรวศรี เดิมราช พรรณี แพงทิพย์ สิทธิชัย แพงทิพย์ ซอและ เกปัน สุลัยมาน เภอโส๊ะ รุสนี กาแม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 159 172 ส่วนท้าย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254634 <p>ส่วนท้าย</p> อภิดา รุณวาทย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-27 2024-06-27 11 1 173 176