วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal <p> วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” (Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี (Theoretical Contributions) ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ (Managerial Contributions) นักวิจัยหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการวิจัยที่ครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เทคโนโลยีทางการศึกษา และการจัดการเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาชีพของอาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการ ในด้านการจัดการเทคโนโลยี</p> <p> </p> <p><em>ตั้งแต่ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป ทางวารสารได้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความเป็น 3 ท่าน (จากเดิม 2 ท่าน)</em></p> th-TH apida.ru@rmu.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิดา รุณวาทย์) kanjana.do@rmu.ac.th (ดร.กาญจนา ดงสงคราม) Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ส่วนหน้า https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/257219 <p>ส่วนหน้า</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิดา รุณวาทย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/257219 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 Design and Development of a Gamified Mobile Application for Nakhon Pathom Community Ecotourism https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254206 <p> Gamification and mobile applications have been widely utilized across various sectors to enhance engagement, influence behavior, and improve outcomes. In the tourism industry, gamification and mobile applications have similarly been adopted to advance tourism marketing efforts. This study aimed to develop a gamified mobile application for community ecotourism and evaluate its appearance, functionality, usability, and user satisfaction. A mixed-methods approach was employed in the research. The sample comprised 30 ecotourism entrepreneurs and 400 tourists in Nakhon Pathom, Thailand. Data was collected through non-participant observation, in-depth interviews, and software evaluation questionnaires. Qualitative data were analyzed using triangulation, while quantitative data were analyzed using descriptive statistics. The gamified mobile application was designed by a user interface (UI) designer and developed using a visual programming language with a non-relational cloud database. The application featured three main components, with user roles categorized into two groups: game masters (representing ecotourism entrepreneurs) and players (representing tourists). The game elements included points, badges, leaderboards, and feedback mechanisms. Technologies integrated into the application included QR codes, GPS, Google Maps API, and geo-fencing. The application's core functionality was centered on Google Maps' place markers, with each place marker containing gamified activities. Ecotourism entrepreneurs managed the game content and supported players, while tourists participated in the game by visiting locations, engaging in gamified activities, and providing feedback. The application underwent testing and evaluation by developers and users. The overall user evaluation results indicated high levels of satisfaction, with scores for appearance, functionality, usability, and overall user satisfaction averaging at a high level (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.17, SD = 0.54). The findings suggest that the proposed gamified mobile application represents a viable solution to promote community ecotourism in Nakhon Pathom, effectively meeting the needs and expectations of tourists.</p> Paripas Srisomboon Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254206 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้สมัครในการเลือกสาขาวิชาในระบบ TCAS โดยเทคนิคเหมืองข้อมูล https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255043 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้สมัครในการเลือกสาขาวิชาในระบบ TCAS โดยเทคนิคเหมืองข้อมูล และ 2) สร้างรูปแบบจากผลการวิเคราะห์ที่ได้มาสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลการรับสมัคร และการวางแผนการรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบ TCAS มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบ TCAS ปีการศึกษา 2561–2564เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดข้อมูลผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบ TCAS จำนวน 58,110 2) ชุดข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการค้นหากฎความสัมพันธ์ (Association rule) แบบวิธีอัลกอริทึมเอไพรออริ (Apriori Algorithm)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้สมัครในการเลือกสาขาวิชาในระบบ TCAS โดยเทคนิคเหมืองข้อมูล พบว่า ปัจจัยคุณลักษณะของผู้สมัครในการเลือกอันดับสาขาวิชา ได้แก่ เพศ, จังหวัด, คะแนนความถนัดทั่วไป (GAT), คะแนนความถันดทางด้านวิชาชีพ (PAT) โดยการวิจัยได้กำหนดความเชื่อมั่นของกฎความสัมพันธ์ร้อยละ 80(Confidence=0.8) เพื่อให้ได้กฎความสัมพันธ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และ 2) ผลการสร้างรูปแบบจากผลการวิเคราะห์ที่ได้มาสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลการรับสมัคร และการวางแผนการรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบ TCAS มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า สามารถสร้างกฎความสัมพันธ์ที่ได้ทั้งหมด 36 กฎความสัมพันธ์ นำกฎความสัมพันธ์ที่ได้สร้างเป็นกฎการตัดสินใจ (Decision Rule) เพื่อใช้ในการวางแผนการประชาสัมพันธ์คัดเลือกในการเลือกสาขาวิชาของผู้สมัคร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต่อไป</p> อนันต์ ปินะเต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255043 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง ในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254705 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา 2) ทดลองใช้ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกร บ้านคำปลาฝา ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา 2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัด ค่าพารามิเตอร์ ดังต่อนี้ 1) ค่าอุณหภูมิ และ 2) ค่าความชื้นสัมพัทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา พบว่า มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ (1) ระบบตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น (2) ระบบป้อนข้อมูล (3) ระบบจัดเก็บข้อมูล และ (4) ระบบประมวล พบว่า การทำงานของระบบที่แสดงข้อมูลผ่านจอแสดงค่าต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการการทดสอบระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมในโรงเรือนจำลอง พบว่า ระบบสามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 0 – 100 ˚C และความชื้นสัมพัทธ์ได้ตั้งแต่ 20%RH – 80%RH โดยมีค่าความเหมาะสมภายในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา ที่วัดได้คือ อุณหภูมิอยู่ที่ 30 ˚C และ ความชื่นอยู่ที่ 60%RH ตามลำดับ ระบบยังสามารถแสดงสถานะค่าอุณหภูมิและความชื้นของโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนาได้ตลอดเวลา แสดงข้อมูลผ่านจอ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรรับรู้ข้อมูลได้ตลอดและสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์การวางแผนในการเพาะพันธุ์กบนาได้ตลอดทั้งปี แม้ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบใหม่ พบว่า ระบบใหม่มีประสิทธิภาพมากกว่าในด้านการเปลี่ยนถ่ายน้ำอัตโนมัติ ใช้แรงงานคน และใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ น้อยกว่าระบบดั้งเดิม และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.44, SD. = 0.45) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระบบเป็นประโยชน์ในการต่อยอดอาชีพ อยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.55, SD. = 0.50)</p> เหล็กไหล จันทะบุตร; จุฑารัตน์ แก่นจันทร์, สำราญ พิมพ์ราช, พุทธชาติ อิ่มใจ, บัณฑิตา สวัสดี, ชนวรรณ โทวรรณา, สุนทร โชคสวัสดิ์ธนะกิจ, วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล, กีรติ ทองเนตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254705 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเกม “มักก้า” เพื่อส่งเสริมความเมตตา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254165 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ “มักก้า” เพื่อส่งเสริมความเมตตา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เล่นเกม “มักก้า” กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกม “มักก้า”และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เล่นเกม “มักก้า” สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและการพัฒนาเกม “มักก้า” เพื่อส่งเสริมความเมตตา พบว่า เกม “มักก้า” ออกแบบตามกระบวนการออกแบบโครงสร้างการเล่าเรื่องและกระบวนการสร้างโครงสร้างการเล่าเรื่อง โดยพิจารณาองค์ประกอบเชิงมโนทัศน์ของเกมในบริบทของการสร้างเกมสวมบทบาท ประกอบด้วย (1) กฎ (2) รางวัล (3) เรื่องราว (4) ตัวละคร (5) สถานการณ์ และ (6) ความสำเร็จตามเป้าหมาย และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เล่นเกม “มักก้า” พบว่า ผลการประเมินเกม “มักก้า” ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.31,SD. = 0.76) </p> พิมพ์พรรณ ทิพยแสง, ฐเดช เกียรติณรงค์, ปกรณ์เทพ สมอาด, ปราโมทย์ เงินลาด, พีรวัฒน์ สุขเกษม, สนธยา วันชัย; ศานต์ พานิชสิติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254165 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254389 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีต่อแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน 2) นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน และมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ดังนี้ 1) แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะ ดรีม 2) แบบประเมินคุณภาพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม มุ่งเน้นกระบวนการศึกษาการเคลื่อนไหวของวัตถุให้มีความสมจริง มีความยาวทั้งหมด 4.12 นาที การดำเนินเรื่องประกอบด้วยตัวละครหลักจำนวน 4 คน คือ รถของวุฒินันท์ ศิริมงคล อธิภัทร และ อานนท์ เป็นการแข่งขันรถยนต์ 2) ผลการประเมินคุณภาพของแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เดอะดรีม โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.77, SD. = 0.43) 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดย ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.75, SD. = 0.57 )</p> ธวัชชัย สหพงษ์; วุฒินันท์ ชอบการนา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254389 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝกประสบการณวิชาชีพ ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255247 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการของการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 344 คน ประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 212 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ อาจารย์นิเทศก์และฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 60 คน และครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการของระบบในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศด้วยเทคนิคกล่องดำสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการของการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พบว่า ปัญหาในการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คือ ข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีจำนวนมาก การนิเทศนักศึกษาของอาจารย์นิเทศก์ การบันทึกข้อมูลปฏิบัติงานประจำวันของนักศึกษา และการประเมินนักศึกษา ซึ่งมีข้อคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าควรมีระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู 2) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 6 ส่วน ตามกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ (1) ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (2) ประธานหลักสูตร (3) อาจารย์นิเทศก์ (4) ครูพี่เลี้ยง (5) ผู้บริหาร/กรรมการสถานศึกษา และ (6) นักศึกษา ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, SD. = 0.34) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่พัฒนาขึ้น พบว่า บุคลากร และนักศึกษา มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารนสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.50, SD. = 0.61) และ ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.37, SD. = 0.67) ตามลำดับ</p> อิมรอน แวมง; พรรณี แพงทิพย์, ฟูไดละห์ ดือมอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255247 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254466 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ ในตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร 2) ถ่ายทอดแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์สู่ชุมชนท้องถิ่นสู่ชุมชนท้องถิ่น ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปในพื้นที่เป้าหมาย 30 คน เครื่องมือวิจัยคือ แพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานของแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลจากการวิจัย พบว่า 1) แพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีการทำงาน 2 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งสำหรับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ จัดการข้อมูลร้าน จัดการข้อมูลสินค้า และจัดการข้อมูลสั่งซื้อ ส่วนที่สองกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ จัดการข้อมูลสมาชิก ค้นหาข้อมูลสินค้า และจัดการข้อมูลสั่งซื้อ แพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ที่ได้ทำการพัฒนาขึ้น มีการทำงานในลักษณะเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งจะใช้ระบบฐานข้อมูลของ MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล ส่วนการทำงานได้ใช้ภาษา PHP ในการพัฒนา และ 2) การถ่ายทอดแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์สู่ชุมชนท้องถิ่น ได้มีการประชุมชี้แจง อบรมการใช้งานให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานของแพลตฟอร์มสินค้าชุมชนออนไลน์ที่ได้ทำการพัฒนาขึ้น ซึ่งมีผลประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.45, SD. = 0.50 ) </p> ฉัตรชัย อินทรประพันธ์; มนตรี ใจแน่น Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/254466 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขมอัจฉริยะ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/256204 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาบริบทของการเลี้ยงหอยขมและพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขมอัจฉริยะ 2) ทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินผลการทำงานของระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขมอัจฉริยะ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยขมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยโดยการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขม และนำมาใช้งานโดยเกษตรกรจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบสารสนเทศสำหรับอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง แบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยี แบบประเมินความพึงพอใจและแบบสังเกตการการเติบโตของหอยขม</p> <p>ผลจากการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาบริบทของการเลี้ยงหอยขมและพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับระบบควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขมอัจฉริยะ พบว่า ระบบสามารถคุณภาพน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามบริบทของการเลี้ยงหอยขมที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ การควบคุมด้านอุณหภูมิ การควบคุมด้านกรดด่าง และการควบคุมด้านความขุ่น สังเกตุได้จากเมื่อระบบพบความผิดปกติของน้ำ ระบบจะทำการถ่ายเทน้ำอย่างอัตโนมัติ และรายงานผลผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังเกษตรได้ทันท่วงที ทำให้เกษตรสามารถรับรู้ถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นและยังสามารถควบคุมสั่งการระบบได้ตลอดเวลา 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ระบบการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อซีเมนต์ ส่งผลให้หอยข่มในระยะที่ 1 พ่อพันธ์จะมีอายุประมาณ 60 วัน มีขนาด 2.7 เซนติเมตร ระยะที่ 2 หอยข่มในบ่ออนุบาลอายุประมาณ 30 วัน มีขนาดประมาณ 1.4 เซนติเมตร และในระยะที่ 3 พ่อพันธ์ในบ่อขยายอายุประมาณ 45 วัน มีขนาดประมาณ 2.3 เซนติเมตร สรุปได้ หอยข่มพ่อพันธ์ในระยะที่ 3 จะเริ่มมีลูกหอยในบ่อซีเมนต์ในช่วง 45 วัน ซึ่งแตกต่างจากในธรรมชาติจะมีลูกหอยในช่วง 60-120 วัน ดั้งนั้นการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อซีเมนต์ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หอยขมมีอัตราการขยายพันธุ์รวดเร็วกว่าการเลี้ยงในแบบธรรมชาติ และเกษตรกรมีการยอมรับในประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินด้านความพึงพอใจที่มีต่อระบบควบคุมคุณภาพน้ำอยู่ในระดับมาก เกตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่นำมาใช้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงหอยขมได้เป็นอย่างดี</p> ธนบัตร ศรีริทิพย์; ชนกพร สมุทรกลิน, เทอดเกียรติ แก้วพวง, บุญยฤทธิฺ์ ศรีปาน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/256204 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/256608 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที และ <br />2) ศึกษาผลการทดลองใช้เครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที กลุ่มเป้าหมาย เป็นคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน “การแปรรูปขยะจากปลา” ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาเครื่องผสมโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที พบว่า 1.1) องค์ประกอบ</p> <p>ของการควบคุมด้วยระบบไอโอที ประกอบไปด้วย 3 ส่วน 1.2) การออกแบบเทคโนโลยีอุปกรณ์ ประกอบด้วย Arduino 8255, Relay Module และ โมดูล 3G 1.3) เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ใช้ ได้แก่ Blynk ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับสมาร์ทโฟน iOS หรือ Android 1.4) การออกแบบเครื่องผสมโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที ได้นำแนวคิดจากการนำเอาเครื่องผสมปูนมาออกแบบ ดังนั้นการออกแบบจะวางเครื่องผสมไว้บนรถเข็นและชุดเพลาลงบนโครงสร้างหลัก สามารถหมุนและปั่นผสมได้อย่างต่อเนื่อง โดยด้านล่างของคานจะติดตั้งมอเตอร์ และ 1.5) เครื่องผสมดินปลูกโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที มีคุณลักษณะที่ประกอบด้วย 1.5.1) ขนาดความจุถังวัสดุสำหรับการผสม จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม 1.5.2) มอร์เตอร์สำหรับการปั่นแกนเพลา ไม่ต่ำกว่า 2 แรงม้า 1.5.3) ถังปั่นวางบนรถเข็นของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และ 2) ผลการทดลองใช้ พบว่า 2.1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพ พบว่า เครื่องผสมดินปลูกพืช สามารถใช้ความเร็วได้ 3 ระดับ สามารถลดเวลาในการผสมดินปลูกพืชไม่ต่ำกว่า 20 นาที เมื่อเทียบจากวิธีการดั้งเดิม และ 2.2) ผลการสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ระหว่างระดับมากถึงมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.70)</p> ธรัช อารีราษฎร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/256608 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255204 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและขั้นตอนการจัดทำเอกสาร TOR การจัดซื้อ<br />จัดจ้าง 2) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง 3)ทดสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง โดยเน้นการลดขั้นตอนการทำงาน และจัดทำเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) และศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (DITC) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาและขั้นตอนการจัดทำเอกสาร TOR การจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า การจัดทำ TOR ในปัจจุบันไม่ถูกต้องและล่าช้าเนื่องจากผู้จัดทำขาดความรู้ความเข้าใจ ใช้แบบฟอร์มผิด เกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง อีกทั้งเจ้าหน้าพัสดุมีมาตรฐานการตรวจสอบไม่เหมือนกัน ขาดตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้จัดทำเอกสาร ขาดการติดตามงาน และเอกสารสูญหาย 2) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า ระบบสารสนเทศฯ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ส่วนของผู้ใช้งาน (User) และส่วนของเจ้าหน้าที่พัสดุ การออกแบบระบบแตกต่างกันตามฟังก์ชั่นการทำงาน เนื่องจากหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกัน 3) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า ระบบสารสนเทศฯ ช่วยลดขั้นตอน ลดความผิดพลาด ลดระยะเวลาการทำงาน และลดการใช้กระดาษ และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศสำหรับการจัดทำขอบเขตงานจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามงานการจัดซื้อจัดจ้าง มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" />= 3.79 ,SD.= 0.87)</p> จงลักษณ์ สมร่าง; ปฏิสนธิ์ ปาลี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255204 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเสมือนจริง ปากน้ำโพ เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255758 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเสมือนจริง ปากน้ำโพ เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเสมือนจริง ปากน้ำโพ เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เคย และไม่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ที่เข้ามาใช้งานเว็บแอปพลิเคชันฯ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เว็บแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเสมือนจริง ปากน้ำโพ เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันฯ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเสมือนจริง ปากน้ำโพ เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนผู้ดูแลระบบ และส่วนนักท่องเที่ยวใช้งาน โดยสามารถบริหารจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยนำเสนอ 5 รูปแบบ ได้แก่ ภาพเสมือนจริง ภาพถ่าย 2 มิติ วีดีโอ ไฟล์เอกสารข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และแสดงตำแหน่งพิกัดบน Google Maps นักท่องเที่ยวสามารถดูรายละเอียดของแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างละเอียด สามารถเห็นภาพมุมมอง 360 องศา ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวจริง และ 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันฯ พบว่า ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.61, SD. = 0.56) โดยด้านที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ด้านการใช้ประโยชน์และนำไปใช้งาน</p> วิรัช กาฬภักดี; เยาวเรศ กาฬภักดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255758 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายปุ๋ยไส้เดือนดินของกลุ่มเกษตรพอเพียงในเขตจังหวัดเชียงใหม่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255681 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายปุ๋ยไส้เดือนดินของกลุ่มเกษตรพอเพียง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อต้นแบบเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายปุ๋ยไส้เดือนดินของกลุ่มเกษตรพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์ แบบสอบถาม ภาษาพีเอชพี (PHP) และระบบฐานข้อมูล MySQL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกในกลุ่มเกษตรพอเพียง จำนวน 25 คน และกลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้เครื่องมือวิจัยด้วย การประเมินประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายปุ๋ยไส้เดือนดินของกลุ่มเกษตรพอเพียง และกลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์ในการส่งเสริมการขายปุ๋ยไส้เดือนดินของกลุ่มเกษตรพอเพียง โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) และระบบฐานข้อมูล MySQL เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาระบบที่สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อช่วยในการจัดการตรวจสอบสินค้าลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลสินค้า ซึ่งระบบมีประสิทธิภาพ หน้าเว็บเพจได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และดึงดูดสายตา องค์ประกอบชัดเจน สื่อถึงตัวตนของชุมชน การสมัครสมาชิกและล็อกอิน มีความปลอดภัยสั่งซื้อได้ง่ายสะดวก และเป็นส่วนตัว ส่วนการจัดการข้อมูลสินค้า ผู้ดูและระบบสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพของระบบ อยู่ในระดับดี (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 3.95, SD. = 0.70) ความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรพอเพียงต่อสื่อต้นแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับดีมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 4.20, SD. = 0.29) และความพึงพอใจกลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับดี (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="สมการ" /> = 3.97, SD. = 0.66) </p> กุสุมา สีดาเพ็ง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/255681 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ส่วนท้าย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/257220 <p>ส่วนท้าย</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิดา รุณวาทย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/257220 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700