วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus <p>วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ISSN 3027-6322 </span><span style="font-size: 0.875rem;">(Online)</span></p> <p>ISSN 3027-6314 <span style="font-size: 0.875rem;">(Print)</span></p> <p>กำหนดออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p>มีวัตถุประสงค์ : เพื่อรวบรวม และเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ โดยตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความทางวิชาการ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม</p> <p>เจ้าของ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ th-TH วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3027-6314 การใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพ กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255382 <p>การวิจัยเรื่องการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า กิจกรรมการท่องเที่ยว จัดอยู่ในประเภทการท่องเที่ยว สาขาการท่องเที่ยวชุมชน มีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น 10 ด้านได้แก่ 1) เป็นต้นกำเนิดของรำกะโน๊บติงต็อง หรือรำตั๊กแตนตำข้าว 2) ผ้าไหมทอจากเส้นไหมชั้นหนึ่งหรือไหมน้อย ที่มีความละเอียดปราณีต และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหม OTOP 4 ดาว 3) เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV โดยกระทรวงอุตสาหกรรม 4) มีหลักสูตรภาษาเขมรถิ่นไทย ที่ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยมหิดล และได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของท้องถิ่น 5) ได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นด้านการส่งเสริม และรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยกระทรวงวัฒนธรรม 6) เป็นชุมชนวัฒนธรรมไทย-เขมร วิถีชีวิต ภาษา อาหาร และดนตรีกันตรึมพื้นบ้าน 7) มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ ได้แก่ กิจกรรมทำผ้าบิดย้อมจากสีธรรมชาติ และกิจกรรมทำอาหารพื้นถิ่น 8) พิธีบายศรีสู่ขวัญแบบวัฒนธรรมไทยเขมรเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลก่อนเริ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว 9) เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ปราสาทบ้านไพล เป็นศาสนาสถานในชุมชน 10) ได้รับรางวัล DASTA AWARD สาขาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในปี 2019 จัดโดย อพท. ชุมชนใช้เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นมาเป็นฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวรวมทั้งหมด 5 ฐานกิจกรรมได้แก่ 1) ฐานกิจกรรมการทำผ้าไหมบิดย้อมจากภูมิปัญญา 2) ฐานกิจกรรมการทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น 3) ฐานกิจกรรมชมและร่วมการละเล่นพื้นบ้านการรำกะโน้บติงต็อง&nbsp; 4) ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเขมรถิ่นไทย และ 5) ฐานกิจกรรมบ้านพักโฮมสเตย์ชุมชนโพธิ์กอง และมีการเสริมฐานกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มช่องทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวให้ชุ่มชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสรุปเป็นต้นแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องขึ้นลำเส้นไหมแบบนับเส้นอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในมิติของ&nbsp; ชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง&nbsp; ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว การสะท้อนอัตลักษณ์&nbsp;&nbsp; โอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว&nbsp; และแนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ พบว่า ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อ ต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์&nbsp; บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์&nbsp;&nbsp; โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.40)&nbsp;&nbsp; เมื่อพิจารณาจำแนกเป็น&nbsp; รายด้าน&nbsp; พบว่า&nbsp; ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อ ต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์&nbsp; บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 1) ด้านชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง&nbsp; ( = 4.67, S.D. = 0.47)&nbsp; 2)&nbsp; ด้านแนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ ( = 4.55, S.D. = 0.35) 3) ด้านลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว ( = 4.51, S.D. = 0.35) 4) ด้านโอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว (&nbsp; = 4.9, S.D. = 0.32)&nbsp; 5) ด้านการสะท้อนอัตลักษณ์&nbsp;&nbsp; (&nbsp; = 4.40, S.D. = 0.49)&nbsp; สรุปผลข้อเสนอแนะความคิดเห็นของชุมชน ที่มีต่อต้นแบบฐานกิจกรรมเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์&nbsp; ตอนที่ 2 พบว่า ไม่มีผู้ให้ข้อเสนอแนะในด้านชื่อแหล่งท่องเที่ยวและที่ตั้ง&nbsp; ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยว การสะท้อนอัตลักษณ์&nbsp;&nbsp; และ&nbsp; แนวทางการสร้างความผูกพันหรือความประทับใจ&nbsp; ส่วนด้านโอกาสการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว มี 1 ข้อคือ&nbsp; 1) ควรมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์กับชุมชนในทุกด้านทุกสื่อช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงของนักท่องเที่ยว</p> ศุภชัย แก้วจันทร์ สุมณฑา จีระมะกร ขนิษฐา สีมา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 1 14 การประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอสในการพัฒนาโซ่คุณค่าของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุบลราชธานี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/254982 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (ระบบ QR PGS) ในการพัฒนาโซ่คุณค่าที่เหมาะสมของเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จำนวน 5 ราย และคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการการสนทนากลุ่มและการสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งงานวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 2) อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบ QR PGS ให้กับกลุ่มตัวอย่างทั้งเกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 3) ประยุกต์ใช้ระบบกับการทำงานในการทำงานจริง เช่น การตรวจแปลง และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้ระบบ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานจีพีเอส ประสบปัญหาการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพและการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การประยุกต์ใช้ระบบ QR PGS ช่วยให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานจัดการข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคเพื่อวางแผนการผลิต ลดระยะเวลาในการตรวจประเมินแปลงเกษตรกรเฉลี่ยจาก 1-3 วัน เหลือเพียง 3-6 ชั่วโมง และช่วยลดต้นทุนในการตรวจรับรองมาตรฐาน ซึ่งการที่ระบบสามารถช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับเป็นการช่วยพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เหมาะสมให้แก่เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส ผลการประยุกต์ใช้ทำให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับสูง และเห็นว่าระบบนี้สามารถใช้เป็นมาตรฐานการรับรอง PGS ให้แก่เครือข่ายได้ในอนาคต โดยองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับระบบ PGS ไปสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืนในประเทศไทย</p> พชร วารินสิทธิกุล ปดิวรดา ล้อมลาย จริยา พันธา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 15 28 การเปลี่ยนแปลงสี ปริมาณน้ำตาล สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของผงมะละกอที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งข้าวหมาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255283 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสี พีเอช ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผงมะละกอหมักที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งที่เวลาต่าง ๆ (0, 6, 12, 18 และ 24 ชั่วโมง). ผลการทดสอบพบว่าการหมักมะละกอที่เวลา 24 ชั่วโมง มีความแตกต่างจากระยะเวลาหมักอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีค่าสีในระบบ L*a*b* เท่ากับ 64.22±0.04 (มีความสว่างสูงสุด), 16.10±0.08 (ค่าความเป็นสีแดงต่ำสุด) และ 27.14±0.02 (ค่าความเป็นสีเหลืองมากที่สุด) ตามลำดับ มีพีเอชเมื่อละลายน้ำเท่ากับ 4.59±0.02 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกเท่ากับ 0.63±0.10 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง ส่วนปริมาณน้ำตาลทั้งหมดมากที่สุดที่ระยะเวลาหมัก 18 ชั่วโมง โดยมีค่าเท่ากับ 252.80±65.03 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด และน้ำตาลรีดิวซ์มีปริมาณต่ำสุดที่ระยะเวลาหมัก 12 ชั่วโมง โดยมีค่าเท่ากับ 28.26±3.24 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อหมักที่ระยะเวลาต่าง ๆ โดยมีค่า IC<sub>50</sub> อยู่ในช่วง 1.25±0.40 -1.52±1.52±0.33 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (IC<sub>50</sub> ของ BHT เท่ากับ 2.65±0.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นทางเลือกในการแปรรูปมะละกอสุก โดยใช้กระบวนการหมักซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านองค์ประกอบทางเคมี เช่น การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของพรีไบโอติกหลังการหมัก และคุณสมบัติของอาหารหมักนี้ต่อระบบทางเดินอาหารต่อไป</p> ฐิติกร พรหมบรรจง บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง สุวรรณา ผลใหม่ จรินทร์ พูดงาม ศิริวรรณ ปานเมือง สิริพงษ์ วงศ์พรประทีป วรวิทู มีสุข คมสัน นันทสุนทร เปรมจิต รองสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 29 41 การพัฒนาความสามารถในการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/254675 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล&nbsp; (E.I) ของการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์&nbsp; 2) เพื่อศึกษาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การถ่ายภาพดิจิทัล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) และการทดสอบโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์มีค่าเท่ากับ 0.5 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 50 (2) การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 82.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (3) ความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับ มากที่สุด ( &nbsp;= 4.68, S.D. = 0.49)</p> เพ็ญนภา คำแพง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 42 54 การพัฒนาเครื่องแกะสลักไม้เพื่อสร้างชิ้นงานในรูปแบบอัตลักษ์ไทเลย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/254317 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องแกะสลักไม้เพื่อสร้างชิ้นงานแบบไทเลยโดยเปรียบเทียบกับทักษะของมนุษย์ในด้านเวลาและความแม่นยำ&nbsp;คณะผู้วิจัยใช้บอร์ดควบคุมสำหรับสเต็ปเปอร์มอเตอร์ 2 เฟส NEMA17, 1.8 องศา, แม่เหล็กถาวร&nbsp;สเต็ปเปอร์มอเตอร์สำหรับแกน x และ y&nbsp;การหมุนของสเต็ปปิ้งมอเตอร์ที่จะหมุนใน 1 วงกลมมี 360 องศา และมอเตอร์หมุน 1 สเต็ป เท่ากับ 1.8 องศา / 1 สเต็ป&nbsp;สำหรับคำนวณค่าการหมุนใน 1 รอบการหมุนเพื่อค้นหาสัญญาณพัลส์ที่ถูกต้อง&nbsp;เมื่อป้อนค่าลงในคอนโทรลเลอร์เพื่อให้ได้ระยะการหมุนที่ถูกต้อง ให้เรียกค่านั้น step/mm&nbsp;สามารถคำนวณได้จากข้อมูลต่อไปนี้&nbsp;จำนวนพัลส์ในการหมุนมอเตอร์ 1 ตัวเท่ากับ 360 องศาหารด้วย 1.8 องศา เพื่อให้สเต็ป/รอบเท่ากับ 200 สเต็ป/มม.&nbsp;เราตั้งค่าบอร์ดควบคุมสเต็ปเปอร์มอเตอร์รูปแบบไมโครสเต็ปเป็น 32 สเต็ป/มม.&nbsp;โดยการทดลองแกน X และแกน Y แต่ละตัวด้วยค่าทดลอง 50 และ 100 มิลลิเมตร ระยะกัดชิ้นงาน 50 มิลลิเมตร&nbsp;ระยะการวัดในแกน X 49.8 มม.&nbsp;ข้อผิดพลาด 0.2 มม.&nbsp;แกน Y 49.8 มม.&nbsp;ข้อผิดพลาด 0.2 มม.&nbsp;ความแม่นยำคือ 99.6%&nbsp;ระยะชิ้นงาน 100 มม.&nbsp;ระยะการวัดในแกน X 99.6 มม.&nbsp;ข้อผิดพลาด 0.4 มม.&nbsp;ระยะการวัดในแกน Y 99.6 มม.&nbsp;ข้อผิดพลาด 0.4 มม.&nbsp;ความแม่นยำคือ 99.6%&nbsp;ผลการพัฒนาเครื่องแกะสลักไม้เพื่อสร้างชิ้นงานสไตล์ไทเลยเมื่อเปรียบเทียบกับทักษะของมนุษย์ในด้านเวลาและความแม่นยำ การทำงานของเครื่องมีความแม่นยำประมาณ 99.6% และภาพที่ได้มีความสมมาตรและขนาดของภาพไม่บิดเบี้ยว</p> โกเมนทร์ พร้อมจะบก นพรัตน์ พันธุวาปี เมืองมล เสนเพ็ง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 55 64 การพัฒนาเครื่องคัดแยกสีเมล็ดถั่วด้วยการประมวลผลภาพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255600 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกสีเมล็ดถั่วด้วยการประมวลผลภาพ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคัดแยกสีเมล็ดถั่วด้วยการประมวลผลภาพ โดยพัฒนาด้วยโปรแกรม MATLAB ทำงานร่วมกับบอร์ด Arduino nano ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคัดแยกสีเมล็ดถั่ว 3 สี คือ ถั่วแดง ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การตรวจหาค่าสี HSV ที่เหมาะสมสำหรับการคัดแยกสีของเมล็ดถั่วมีดังนี้ ค่าของสีแดง (H=0.85-1), (S=0.6-0.8), (V=0.3-0.60) ค่าของสีเหลือง (H=0.05-0.17), (S=0.05-0.17), (V=0.65-1) และค่าของสีเขียว (H= 0.35-0.45), (S=0.9-1), (V=0.7-1) ซึ่งทำให้การประมวลผลภาพได้ถูกต้องและแม่นยำ</li> <li class="show">การคัดแยกเมล็ดสีเมล็ดถั่วพบว่าสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ โดยความถูกต้องในการคัดแยกคิดเป็น 97.53%.</li> </ol> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การคัดแยกสี, การประมวลผลภาพ, เมล็ดถั่ว</p> ศิวกร แก้วรัตน์ คมยุทธ ไชยวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 65 71 การพัฒนาเครื่องฝานขมิ้นชันสำหรับเกษตรกรผู้แปรรูปสมุนไพร จังหวัดสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255351 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฝานขมิ้นชันสำหรับเกษตรกรผู้แปรรูปสมุนไพร ซึ่งองค์ประกอบหลักของเครื่อง ได้แก่ โครงเครื่อง ชุดใบมีดฝานซึ่งสามารถปรับระยะห่างได้ ถาดป้อน และช่องทางออกวัสดุ ใช้มอเตอร์ขนาด ¼ แรงม้าเป็นต้นกำลังและส่งกำลังด้วยสายพาน โดยในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาระยะห่างของใบมีด 5 ระดับ (1 2 3 4 และ 5 มิลลิเมตร) และศึกษาค่าชี้ผลประกอบด้วยความสามารถในการทำงาน ประสิทธิภาพการฝาน เปอร์เซ็นต์สูญเสีย ความหนาของชิ้นขมิ้นชันที่ฝานได้ การใช้ไฟฟ้าของเครื่อง และอัตราการลดความชื้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า เมื่อทดสอบฝานขมิ้นชันที่ระยะใบมีดฝานที่ 1 2 3 4 และ 5 มิลลิเมตร เครื่องมีค่าความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 10.04 41.81 43.62 49.20 และ 54.85 กิโลกรัม/ชั่วโมง ตามลำดับ ค่าประสิทธิภาพการฝานเท่ากับ 84.78 81.33 66.21 65.48 และ 62.01 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์สูญเสีย 15.22 18.67 33.79 34.52 และ 37.99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การฝานขมิ้นชันที่ระยะใบมีด 1-5 มิลลิเมตร ค่าความหนาของขมิ้นชันมีค่าเฉลี่ย 0.94 1.98 2.99 3.97 และ 4.97 มิลลิเมตร ตามลำดับ และมีอัตราการใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ในช่วง 513.73 – 533.82 วัตต์ นอกจากนี้ ในการทดสอบการลดความชื้นของขมิ้นชันที่ฝานได้ พบว่า ที่ระยะใบมีด 1 2 และ 3 มิลลิเมตร ขมิ้นชันที่ได้จะมีน้ำหนักลดลงมากกว่าขมิ้นชันที่ได้จากการฝานที่ระยะใบมีด 4 และ 5 มิลลิเมตร ซึ่งเครื่องฝานขมิ้นชันที่พัฒนาขึ้นนี้ เกษตรกรสามารถนำไปใช้ฝานขมิ้นชันเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรได้</p> นิรัติศักดิ์ คงทน สหภัทร ชลาชัย ธาริณี มีเจริญ อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 72 84 การพัฒนาเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/254397 <p>งานวิจัยเป็นการสร้างเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อสำหรับชุมชน สวนพริกไทยลุงแย้ม&nbsp; ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยส่วนประกอบของเครื่อง 4 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างเครื่องแยกผลพริกไทย ชุดต้นกำลังและระบบส่งกำลัง ชุดตัวถังแยกผลพริกไทย และตะแกรงแยกผลพริกไทย ซึ่งโครงเครื่องทำด้วยเหล็กอาบสังกะสี มีขนาดความกว้าง 38 เซนติเมตร ยาว 38 เซนติเมตร สูง 53 เซนติเมตร ถังนอกทำด้วยสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร สูง 62 เซนติเมตร ด้านล่างของถังเป็นรูปกรวยเพื่อลำเลียงพริกไทยออกจากตัวถัง ชุดถังในทำด้วยตะแกรงสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านในตัวถังมีแท่ง สแตนเลสรูปทรงสามเหลี่ยมช่วยเพิ่มแรงสัมผัสของพริกไทยกับผนัง เพื่อให้พริกไทยแยกออกจากก้านช่อได้ดียิ่งขึ้น ด้านล่างของถังเป็นแผ่นวงกลมทำด้วยตะแกรงสแตนเลส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร หมุนเหวี่ยงพริกไทยให้ไปสัมผัสผนังของถังเพื่อแยกผลพริกไทย ใช้ความเร็วรอบประมาณ 1,200 รอบต่อนาที โดยมีมอเตอร์ ขนาด 0.5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการทดสอบการใช้งานของเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อพบว่าสามารถแยกผลพริกไทยได้เฉลี่ย 101.00 กิโลกรัมต่อชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 1.20 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่การแยกผลพริกไทยด้วยแรงงานคนเท่ากับ 1.65 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เครื่องสามารถแยกผลพริกไทยรวดเร็วกว่าแรงงานคนเท่ากับ 98.37 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพเครื่องแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อเท่ากับ 96.75 เปอร์เซ็นต์ และสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องทำให้สามารถแยกผลพริกไทยได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว เครื่องจึงมีประสิทธิภาพช่วยลดเวลาในการแยกผลพริกไทยออกจากก้านช่อและตรงตามความต้องการของชุมชน</p> ธรรมศาสตร์ ไทยเกิด ก่อพงศ์ สิทธิไพศาลวรกุล ธิดารัตน์ ชูโสด เสริมศักดิ์ เกิดวัน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 85 96 การพัฒนาระบบเกตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255088 <p>การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนระบบเกษตรอินทรีย์เกษตรกรรายย่อยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมสำหรับเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling ) ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รายย่อยบ้านดอกแดงตำบลสง่าบ้าน อำเภอคอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 คน ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) มีกระบวนการศึกษา 3 ขั้นตอน 1) สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำเกษตรกร เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม 2) ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการสร้างองค์ความรู้หลักการเกษตรอินทรีย์ และอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ ทดลองทำแปลงสาธิตเพื่อส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3) ทำการตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์ตามขั้นตอนของการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ในด้านเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน แนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรคือพัฒนาเกษตรกรด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของการทำเกษตรอินทรีย์และฝึกทักษะที่ถูกต้องในการจัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายทำให้กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เกษตรกรยั่งยืนเชียงใหม่ มีคณะกรรมการสมาพันธ์เป็นที่คำปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตรวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการระบบเกษตรอินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนจัดการพื้นที่การเกษตรเข้าเกณฑ์การรับรองและได้รับการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS จำนวน 1 ราย</p> มัทนา อินใชย สิริศักดิ์ รัชชุศานติ เจิมขวัญ รัชชุศานติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 97 109 การพัฒนาระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255423 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และ 2) ตารางทดสอบประสิทธิภาพระบบ ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบสำหรับการจัดการข้อมูลประจำตัวของแมวและเจ้าของแมว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยี QR Code เพื่อเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบประกอบด้วย ชื่อ เพศ อายุ สายพันธุ์ ลักษณะเด่นของแมว และข้อมูลเจ้าของแมว เช่น ชื่อ ที่อยู่ และช่องทางการติดต่อ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทันทีผ่านการสแกน QR Code งานวิจัยนี้ได้นำโมเดล ADDIE มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้และเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพระบบ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย 1) ผลการพัฒนาระบบ พบว่า ได้ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการข้อมูล และสามารถแสดงข้อมูลแมวและเจ้าของแมวที่จำเป็นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดที่ใช้งานกับอุปกรณ์ได้หลากหลายผู้พบเห็นแมวสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อแจ้งการพบแมว หรือนำส่งแมวคืนเจ้าของได้&nbsp; และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงคิวอาร์โค้ดไปยังข้อมูลประจำตัวของแมว, การเชื่อมโยงไปยังช่องทางการติดต่อกับเจ้าของแมว และการเชื่อมโยง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไปยังแผนที่ที่อยู่เจ้าของแมวในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์</p> ตรีรัตน์ ตระกูลอุดมพร เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน อัษฎา วรรณกายนต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 110 124 การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมขนาดเล็ก ความเร็วรอบต่ำภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253750 <p>งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมขนาดเล็กความเร็วรอบต่ำ โดยการนำพลังงานลมซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1) ออกแบบสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม&nbsp; 2) ทดสอบความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของกังหันลมแกนตั้งและแกนนอน &nbsp;ในการออกแบบสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นประกอบด้วยส่วนที่เคลื่อนที่ ทำจากแผ่นจานแม่เหล็กถาวร จำนวน 48 ก้อน หล่อด้วยเรซิ่น และขดลวดสเตเตอร์ ใช้ขดลวดทองแดงเบอร์ # 23 AWG. จำนวน 10 ขด จำนวนขดละ 1,500 รอบ จากนั้นทำการออกแบบใบพัดกังหันลมให้เหมาะสมกับความเร็วลมรอบต่ำ ประกอบด้วยกังหันลมแบบแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) ประยุกต์ใช้พัดลมระบายอากาศของหลังคามีกลีบทั้งหมด 36 กลีบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 60 ซม. มีความสูงของใบที่ 50 เซนติเมตร และกังหันลมแบบแกนนอน (Horizontal axis Wind Turbine) สร้างจากท่อพลาสติกมีความยาวที่ต่างกันคือ ยาว 60 เซนติเมตร 80 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร จากนั้นทำการทดสอบเปรียบเทียบการผลิตไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่สร้างขึ้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลการทดลองจะเห็นค่าความแตกต่างของกันหันลมทั้งสองแบบในการผลิตไฟฟ้าที่แตกต่างกัน พบว่า แรงดันไฟฟ้าของใบพัดแกนนอนขนาดความยาวใบพัด 80 เซนติเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณสูงสุดที่ความสูง 6 เมตร ความเร็วลม 4 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 358 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 40.67 โวลต์ และต่ำสุดที่ความสูง 2 ม. ขนาดความยาวใบพัด 100 เซนติเมตร ความเร็วลม 1.1 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 167 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 13.41 โวลต์ ซึ่งจะแตกต่างกับกังหันลมผลิตไฟฟ้าแกนตั้งที่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ความสูง 6 เมตร ความเร็วลม 4 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 64 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 26.54 โวลต์ และต่ำสุดที่ความสูง 2 เมตร ความเร็วลม 1.1 เมตรต่อวินาที จำนวนรอบ 30 รอบต่อนาที ขนาดแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 13.74 โวลต์ จากผลดังกล่าวเป็นแนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนโดยใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าต่อไป</p> ดุสิต อุทิศสุนทร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 125 139 การศึกษาอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์กระแสตรง ชนิดไร้แปรงถ่านของจักรยานไฟฟ้าแบบดัดแปลง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255353 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้ศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์กระแสตรงชนิดไร้แปรงถ่านในจักรยานไฟฟ้าแบบดัดแปลง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อดัดแปลงจักรยานธรรมดาให้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์กระแสตรงชนิดไร้แปรงถ่าน 2) เพื่อศึกษาอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ที่ความเร็วระดับต่างๆ และ 3) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อจักรยานไฟฟ้า หลังจากที่มีการออกแบบและทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือวัดของรถจักรยานไฟฟ้าแบบดัดแปลง ซึ่งการทดลองใช้ภาระโหลดที่ 40, 30 และ 20 กิโลกรัม ที่ความเร็ว 10, 15, และ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในการทดสอบครั้งนี้เพื่อหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้และการหาค่ากำลังไฟฟ้าของมอเตอร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลจากการทดลองพบว่า มอเตอร์ใช้กระแสมากที่สุดที่ภาระโหลด 40 กิโลกรัม (1.44 แอมป์แปร์) รองลงมาที่ 30 กิโลกรัม (1.38 แอมป์แปร์) และ 20 กิโลกรัม (1.22 แอมป์แปร์) ตามลำดับ สำหรับการหาค่ากำลังไฟฟ้ามอเตอร์ใช้กำลังไฟฟ้ามากที่สุดที่ภาระโหลด 40 กิโลกรัม (29.37 วัตต์) รองลงมาที่ 30 กิโลกรัม (28.15 วัตต์) และ 20 กิโลกรัม (24.88 วัตต์) ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> โชคดี ปัดนา อานนท์ มุงวงษา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 140 152 การออกแบบและสร้างเครื่องปั่นกล้วยสุก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255340 <p>ปัจจุบันการปลูกกล้วยเพื่อการค้าในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่และกล้วยหอมกล้วยแต่ละชนิดอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและโภชนาการที่แตกต่างกันออกไป หากรับประทานเป็นประจำจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากการรับประทานผลสุกของกล้วยหรือนำมาประกอบอาหารแล้ว กล้วยยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมต่างๆ ได้ เช่น กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยอบเนย ทอฟฟี่ แป้งกล้วยและกล้วยในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เป็นต้น งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องปั่นกล้วยสุก เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องปั่นกล้วยโดยการศึกษาเปรียบเทียบ การใช้ใบมีด 2 แบบคือ แบบที่1.ใบมีดแบบตรง มีจำนวน 3 ใบ ความยาวใบด้านบนและความยาวใบด้านล่าง ขนาด 4x21 เซนติเมตร ใบตรงกลาง ขนาด 4x19 เซนติเมตร และแบบที่2.ใบมีดแบบโค้ง มีจำนวน 3 ใบความยาวใบด้านบนและความยาวใบด้านล่างขนาด 4x21 เซนติเมตร ใบตรงกลาง ขนาด 4x19 เซนติเมตร ปลายใบบนงอขึ้น 170 องศา ใบล่างงอลง 170 องศา ความเร็วรอบ 1,450 รอบ/นาที ใช้กล้วยในการทดลอง 5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 1 ลิตร การศึกษาเพื่อหาประสิทธิภาพของใบมีดแบบตรงและแบบโค้ง เพื่อหาเวลาที่ดีที่สุดในการปั่นกล้วยสุกและวิเคราะห์ผลจากการทดลอง ผลการทดลองปั่นกล้วยสุกด้วยเครื่องปั่น ใบมีดแบบที่ 2 มีประสิทธิภาพดีที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด เวลาในการปั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 46.08 วินาที ปริมาณกล้วยที่ไม่ถูกปั่น เฉลี่ยอยู่ที่ 0 กรัม คิดเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ใช้กล้วยในการทดลอง 5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำหนักกล้วยรวมน้ำหนักของน้ำเท่ากับ 6 กิโลกรัม หลังปั่นกล้วยสุกด้วยเครื่องปั่นเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 6 กิโลกรัม คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์</p> ก้องภพ จันทร์แดง กิตติชนม์ เมืองเกตุ ชาติชาย สนเสริม บัญชา พุทธากูล อติศักดิ์ ไสวอมร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 153 163 เครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนในเมล็ดพันธุ์ข้าว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/256564 <p>เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่เกษตรกรเก็บไว้ในการเพาะปลูกนั้นจำเป็นต้องผ่านการคัดแยกสิ่งเจือปน เช่น แกลบ หิน ดิน ทรายและฝุ่นต่างๆ บทความนี้นำเสนอการจัดสร้างเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนเพื่อความสะดวกในการคัดแยกสิ่งเจือปนดังกล่าวออกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก โดยเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวเครื่องนี้ ใช้ระบบตะแกรงแบบโยกร่อน&nbsp;&nbsp; 2 ตะแกรง 3 ชั้น ในการคัดแยก โดยชั้นที่ 1 เป็นตะแกรงรูวงรียาวใช้คัดแยกสิ่งเจือปนที่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดข้าวเปลือก ชั้นที่ 2 เป็นตะแกรงรูกลมที่รองรับเมล็ดข้าวเปลือก และชั้นที่ 3 เป็นถาดรองเศษสิ่งเจือปนที่มีขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าวเปลือกซึ่งจะตกมาจากตะแกรงชั้นที่ 2&nbsp; โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนระบบเครื่องยนต์หรือแรงคน โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่ได้ทำการคัดแยกสิ่งเจือปนหลังจากเก็บเกี่ยวจากท้องนาจะถูกนำมาคัดแยกเพื่อให้เมล็ดพันธ์ข้าวมึความสะอาดด้วยเครื่องคัดแยก ทำการผสมสิ่งเจือปนที่ได้จากการคัดแยกกลับลงไปในเมล็ดพันธ์ข้าวด้วยอัตราส่วน 9:1 แล้วทำการคัดแยกด้วยเครื่องคัดแยกสิ่งเจือปน&nbsp; พบว่าให้ผลการคัดแยกสิ่งเจือปนได้เฉลี่ย 83.8 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดระยะเวลา ลดแรงงานคนและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้เครื่องยนต์ รวมถึงมีตัวครอบสายพานทำให้มีความปลอดภัยขณะเครื่องกำลังทำงาน ทั้งนี้ยังสามารถวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า ได้แก่ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ค่า Power Factor และคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าได้ โดยทำการทดลองหาขนาดแรงม้าของมอเตอร์ในการใช้งาน เพื่อให้ได้มอเตอร์ที่เหมาะสม และทำให้ได้พันธุ์ข้าวที่สะอาดเหมาะแก่เกษตรกรนำไปเพาะปลูก</p> ทิพลดา ภู่มาลา ทรงเศก บัวปรอท ธงชัย ฉายอรุณ สยามรัฐ เพิกอาภรณ์ เฉลียว เกตุแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-25 2024-12-25 9 2 164 172 เครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255169 <p>โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก 2) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก 3) เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการขยะออกแบบเครื่องบีบอัดขยะขนาดเล็ก ควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก โดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด อีกทั้งลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นเครื่องต้นแบบให้กับชุมชน เนื่องจากตัวเครื่องบีบอัดขยะมีราคาที่สูง ขนาดใหญ่ และต้องการระบบไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งทำให้กลุ่มชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน ไม่สามารถนำมาใช้กับชุมชนของตนเองได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้นโครงงานวิจัยนี้จึงได้ทำการออกแบบระบบบีบอัดขยะโดยใช้กระบอกไฮดรอลิกขนาด 5 ตัน ระยะชักที่ 1.4 เมตร โดยควบคุมผ่านคอนโทรลวาล์ว 1 แกน และใช้ปั้มน้ำมันไฮดรอลิคที่ถูกขับด้วยมอเตอร์ขนาด 1.5 แรงม้า และในส่วนระบบไฟฟ้าจะออกแบบตู้ควบคุมมอเตอร์ แรงดัน 220 โวลต์ มีโอเวอร์โหลดรีเลย์ป้องกันมอเตอร์ ผลที่ได้จาการทดลองพบว่าตัวเครื่องที่ออกแบบสามารถบีบอัดขวดพลาสติก กระดาษลัง&nbsp; ให้มีปริมาตรลดลงได้กว่า 70 เปอร์เซ็น และระบบที่ออกแบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อิษฏ์ รานอก ธาดา คำแดง วิจิตกร คำรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 173 184 ชุดรีดวัตถุดิบสำหรับการลำเลียงเข้าห้องคัดแยกใบรางจืด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255472 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีการคัดแยกใบรางจืดสำหรับใช้ในศูนย์วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปบ้านกันตรวจระมวล มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเครื่อง ได้แก่ โครงสร้างเครื่อง ชุดใบมีดข้อเหวี่ยงอิสระหนา มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลังและส่งกำลังด้วยสายพาน ชุดรีดวัตถุดิบ และตะแกรงคัดแยก โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเร็วรอบของชุดรีดวัตถุดิบ 3 ระดับ (8 รอบ/นาที, 12 รอบ/นาที, 16 รอบ/นาที) และศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีการคัดแยกใบรางจืด</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการศึกษา พบว่า เมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 8 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 932.78 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 93.25 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 33.18 นาที เมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 12 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 927.34 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 92.72 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 23.51 นาที และเมื่อใช้ความเร็วรอบชุดรีดที่ 16 รอบ/นาที สมุนไพรใบรางจืดมีน้ำหนักหลังคัดแยกเฉลี่ยอยู่ที่ 909.25 กรัม มีประสิทธิภาพการคัดแยกร้อยละ 90.90 ใช้เวลาเฉลี่ยในการคัดแยกที่ 21.45 นาที จากการทดสอบความเร็วรอบชุดรีดทั้ง 3 ระดับ พบว่าระดับที่กลุ่มแปรรูปสมุนไพรมีความต้องการคือความเร็วรอบชุดรีดที่ 12 รอบ/นาที โดยพิจารณาจากความละเอียดของสมุนไพร เวลาที่ใช้ในการคัดแยก และเถารางจืดเจือปนน้อย</p> พงศ์ไกร วรรณตรง ภานุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 185 195 รถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/254474 <p>งานวิจัยรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม มีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน 3 ข้อ คือ 1) เพื่อออกแบบและสร้างรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม 2) เพื่อหาประสิทธิภาพรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม และ 3) เพื่อศึกษาความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้งานรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบและพัฒนารถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม ขนาดกว้าง 2,000 มม. ยาว 2,700 มม. สูง 1,450 มม. น้ำหนัก 400 กิโลกรัม โดยใช้ต้นกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ขนาด 9 แรงม้า สามารถหยอดข้าวได้ครั้งละ 8 แถว หยอดข้าวได้จำนวน 5-8 เมล็ดต่อจุด ผลการทดสอบพบว่ารถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตม สามารถหยอดข้าวเฉลี่ย 1.46 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 8 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดข้าวที่ตกเฉลี่ย 6.81 เมล็ดต่อจุด อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 2.2 ลิตรต่อไร่ ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 425 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.63 เทียบกับวิธีการทำนาแบบหว่าน เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาจากเงินลงทุนในโครงการซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในของเงินลงทุนซื้อรถหยอดเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกข้าวแบบนาตมในราคา 150,000 บาท พบว่าวิธีการเพาะปลูกข้าวแบบใช้รถหยอด มีต้นทุน 3,660 บาทต่อไร่ สามารถลดต้นทุนได้ร้อยละ 18 เทียบกับวิธีทำนาแบบหว่าน มีระยะเวลาคืนทุน 0.62 ปี หรือประมาณ 7.42 เดือน</p> มานพ ดอนหมื่น ปริญญวัตร ทินบุตร เจษฎา คำภูมี ภูริพัส แสนพงษ์ อลิษา เกษทองมา ศุภกฤษฎิ์ ช่วยชูหนู ประสิทธิ์ สมจินดา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 196 209 Developing A CCTV-AI System with The Capability to Accurately Detect and Recognize Individuals Who Are Wearing Helmets, Specifically Targeting Riders and Passengers. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/255008 <p>Currently, Thailand is experiencing a high mortality rate due to motorcycle accidents, coupled with a low rate of helmet usage. Previous research has indicated that law enforcement measures can effectively increase helmet compliance. To address this issue, a study was conducted to create a system using artificial intelligence and CCTV technology to identify riders and passengers who are not wearing helmets. The study involved four key stages: data collection, software development utilizing Yolo V.4 library, neural network training, and accuracy assessment. Results demonstrate that the program can successfully identify non-helmet-wearing riders with a 95% accuracy rate, which is deemed suitable for implementation by law enforcement agencies.</p> Jetsada Kumphong Nathayu Chawapattanayoth Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-16 2024-12-16 9 2 210 224