วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus <p>วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ISSN 3027-6322 </span><span style="font-size: 0.875rem;">(Online)</span></p> <p>ISSN 3027-6314 <span style="font-size: 0.875rem;">(Print)</span></p> <p>กำหนดออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p>มีวัตถุประสงค์ : เพื่อรวบรวม และเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ โดยตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความทางวิชาการ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม</p> <p>เจ้าของ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</p> th-TH journalindus@srru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตรตราจารย์ ดร. ณัฐกานต์ พวงไพบูลย์) saengdeaun.t@srru.ac.th (นางสาวแสงเดือน ธรรมวัตร) Mon, 20 May 2024 09:53:16 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันคู่มือนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252717 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคู่มือนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อออกแบบส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design) ของแอปพลิเคชันคู่มือนักศึกษาต้นแบบ 3) เพื่อประเมินประเมินคุณภาพกรอบแนวคิดของแอปพลิเคชันคู่มือนักศึกษา โดยประเมินจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการออกแบบส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience : UX) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการพิจารณาแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ</p> <p>ผลการวิจัยสำคัญพบว่า 1) จากการศึกษาข้อมูลสำคัญของคู่มือนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์พบว่า คู่มือเล่มนี้มีส่วนประกอบทั้งหมด 16 ด้านที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ผู้วิจัยจะนำมาเข้าสู่กระบวนการเก็บข้อมูลศึกษาประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ และออกแบบส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ เพื่อออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยต่อไป 2) กระบวนการออกแบบส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ ประกอบด้วย (1) ส่วนประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ (Customer Experience) (2) การร่างแบบ (Sketching) (3) สร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลต้นแบบ (Digital Product Prototype) (4) การทดสอบและปรับปรุง (Testing And Refining) (5) การเริ่มใช้งาน (Launching) 3) พบว่าส่วนประสบการณ์ผู้ใช้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพโดยอยู่ในระดับดี คือค่า (𝑥̅ = 3.86, S.D. = 0.97) ซึ่งมีผลที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้</p> <p><strong>คำสำคัญ (</strong><strong>Keywords</strong><strong>)</strong> : ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ, ส่วนประสบการณ์ผู้ใช้, ส่วนติดต่อผู้ใช้, แอปพลิเคชัน, คู่มือนักศึกษา</p> <p> </p> Watcharakiti Sangsuwan, Pongpipat Saitong, Jantima Polpinij Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252717 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253214 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอน เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการจัดการเรียนการสอน และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมศิลป์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดิจิทัลเบื้องต้น ภาคการศึกษาที่ 1/2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการจัดการเรียนการสอน เท่ากับ 0.7025 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.72)</p> คมยุทธ ไชยวงษ์ , ศิวกร แก้วรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253214 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวผสมกะลาปาล์มโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเชื่อมประสาน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252842 <p>งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวด้วยการผสมกับกะลาปาล์ม โดยจะแทนที่ผงถ่านกะลามะพร้าวด้วยผงถ่านกะลาปาล์มในอัตราส่วนร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ 100 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วนแป้งมันสำปะหลังต่อผงถ่านเท่ากับ 1 : 10 ทำการทดสอบคุณภาพถ่านอัดแท่ง ได้แก่ ปริมาณความชื้นและค่าความร้อน จากผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มปริมาณผงถ่านกะลาปาล์มจะทำให้ถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวมีค่าความร้อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณความชื้นจะมีค่าลดลง ถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวผสมกับกะลาปาล์มทุกส่วนผสมผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง 238/2547 และสามารถนำไปใช้งานให้ความร้อนในครัวเรือนรวมทั้งนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้</p> กิตติชาติ เผ่าพงษ์ไพบูลย์, กรกนก บุญเสริม, ชัยชาญ โชติถนอม, แก้วตา ดียิ่งศิริกุล, จิรัฎฐ์ธัญกมล ผลเจริญ, วัชเรศ แก่นบุตร, วัลลภ โคตรพันธ์, อิสรภาพ เอ็นดู, ลลิลทิพย์ รุ่งเรือง, ปัทมาพร ท่อชู Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252842 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติ สำหรับการปลูกหญ้าขนในกระถางซีเมนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252613 <p>ปัจจุบันการปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์เป็นวิธีผลิตอาหารสัตว์สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงโคและกระบือ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ส่วนใหญ่นิยมปลูกกันมากเพราะต้นทุนถูก กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลศรีสุข อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;นิยมปลูกหญ้าเนเปีย และหญ้าขน โดยหญ้าขนเป็นพืชตระกูลหญ้าที่ง่ายต่อการปลูกและดูแลรักษา สำหรับวัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับการปลูกหญ้าขนในกระถางซีเมนต์ การวิจัยดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติ จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพ สมมุติฐานข้อมูลน้ำหนักของหญ้าขนจำนวน 9 กระถางซีเมนต์ ที่ใช้เทคโนโลยีระบบรดน้ำอัตโนมัติในการปลูกเปรียบเทียบกับน้ำหนักของหญ้าขนที่รดน้ำด้วยคน จำนวน 1 กระถางซีเมนต์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติ 1)ระบบควบคุมอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ ไมโครคอนโทรเลอร์ อุปกรณ์ควบคุม และระบบโซลาร์เซลล์ นำมาใช้สำหรับการปลูกหญ้าขนในกระถางซีเมนต์เพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของหญ้าขน เช่น ความชื้น และอุณหภูมิ ประสิทธิภาพของระบบควบคุมสามารถทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติในการปลูกหญ้าขนในกระถางซีเมนต์ ช่วยให้หญ้าขนเจริญเติบโตได้ดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าหญ้าขนในกระถางซีเมนต์ที่รดน้ำด้วยตนเอง สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทางสถิติจากกระถางซีเมนต์ 9 กระถาง มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักของหญ้าขนที่ได้มากกว่ากระถางที่ทำรดน้ำด้วยคนอย่างมีนัยสำคัญ</p> นิคม ลนขุนทด, วินัท พรมแดน, อนุสรณ์ ครุฑขุนทด, อัษฎา วรรณกายนต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252613 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณสายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/251868 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดล 3 มิติ พระโพธิญาณเถร&nbsp; (ชา สุภทฺโท) สำหรับใช้ในการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร&nbsp; (ชา สุภทฺโท)&nbsp; ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์&nbsp; 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้งาน นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร&nbsp; (ชา สุภทฺโท)&nbsp; ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์&nbsp; ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินผลของระบบ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบบสอบถามมี 2 แบบ ประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)&nbsp; ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก&nbsp; มีค่าเฉลี่ย&nbsp; 4.26 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 และประเมินความพึงพอใจสำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน พบว่าอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย&nbsp; 4.37 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58</p> ยุทธศักดิ์ ทองแสน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/251868 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253410 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่และศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนา 4) การนำไปใช้ และ 5) การประเมินผล โดยทดลองใช้กับนักศึกษาจำนวน 40 คนที่ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนที่พัฒนาขึ้น และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของบทเรียน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของกาเย่ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.94/89.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และนักศึกษามีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ปริษา ปั้นดี, ณัฏฐ์ ดิษเจริญ, บุณณดา คำเสียง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253410 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันออกแบบลวดลายสำหรับการสานพัดไม้ไผ่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252127 <p>งานวิจัยนี้เป็นการสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับออบแบบลวดลายพัดสานไม้ไผ่ เนื่องจากผู้ใช้งานมีความต้องการที่จะออกแบบลวดลายพัดสาน แต่ไม่สามารถออกแบบและสานพัดตามที่ต้องการได้ ผู้วิจัยได้พัฒนาในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อช่วยผู้ที่มีความสนใจในการออกแบบพัดสานไม้ไผ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความยุ่งยากและประหยัดเวลาในการออกแบบ รวมไปถึงแสดงวิธีการทำพัดสานไม้ไผ่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันนี้จึงถูกออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานให้มีขั้นตอน 1) เลือกลายพื้นหลัง 2) เลือกภาพสัญลักษณ์ 3) ระบุข้อความ และ 4) แสดงขั้นตอนการสาน ผลการประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันจากผู้ใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 4.39, S.D. = 0.58)</p> ณัชภัค ผลถวิล, ปิยะพงษ์ แดงขำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252127 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติเชิงลาดด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข211 ตอนปากชม-เชียงคาน ที่ กม.153- กม.155 (บ้านหาดเบี้ย – คกไผ่ ) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252824 <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุของการวิบัติเชิงลาดของถนนทางหลวงหมายเลข211 ตอนปากชม-เชียงคาน ที่ กม.153- กม.155 (บ้านหาดเบี้ย-คกไผ่) ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method) โดยใช้โปรแกรม Plaxis 2D พบว่าเมื่อน้ำไหลลงสู่เชิงลาด เกิดกระบวนการกัดเซาะบริเวณ Toe slope ลุกลาม เข้าสู่โครงสร้างชั้นดินจุดที่ 2 บริเวณ Fill Slope และจุดที่ 3 บริเวณ Back Slope&nbsp; การแก้ไขใช้วิธีการเสริมกำลังด้วย กล่องลวดตาข่ายแมทเทรส (Gabion and Mattress) ผลการวิเคราะห์เสถียรภาพของเชิงลาดด้วยโปรแกรม Plaxis- 2D ได้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยเท่ากับ 1.66 สูงกว่าทีกำหนดไว้ (Navfac Dm 7.01, 1986)&nbsp; ส่วนวิธีการป้องกันการกัดเซาะ (Erosion Control ) เลือกใช้วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) เพื่อเพิ่มความมั่นคงและลดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ ของเชิงลาด นอกจากนี้สามารถก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งการขนส่งเข้าถึงสถานที่ก่อสร้างได้ง่าย</p> Aphichat Yonwichai, พงศกร พวงชมภู Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252824 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการจำลองการตอกเสาเข็มและการจำลองการทดสอบเสาเข็มรับแรงด้านข้าง ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252878 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้ศึกษาการจำลองการตอกเสาเข็ม และทดสอบเสาเข็มด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ โดยใช้โปรแกรม Plaxis 2D จากการศึกษาการจำลองการตอกเสาเข็มด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์&nbsp; พิจารณาให้แรงในแนวดิ่งในการตอกเสาเข็มเป็นแบบพลศาสตร์ กำหนดค่าตัวคูณความถี่ของการตอกเสาเข็มและคลื่นสั่นสะเทือน สัญญาณฮาร์มอนิกเท่ากับ &nbsp;2500 แอมปลิจูด เฟส 0<sup>0 </sup>ความถี่เท่ากับ 50 เฮริต์ และการจำลองการทดสอบเสาเข็มในแนวนอนพิจารณาให้แรงเป็นแบบสถิตยศาสตร์ โดย ผลการ จำลองพบว่าที่แรงสูงสุดด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์เท่ากับ 1.68 ตัน ค่าแรงสูงสุดในภาคสนามเท่ากับ 1.56 ตัน ค่าการเคลื่อนตัวในแนวนอนสูงสุดได้ค่าเท่ากันเท่ากับ 4.00 มิลลิเมตร ค่าสัดส่วนความปลอดภัยจากการจำลองด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ ได้เท่ากับ 2.71 มากกว่าค่าสัดส่วนความปลอดภัยจากการทดสอบภาคสนามซึ่งได้เท่ากับ 2.60</p> sangaroon chaihanam, พงศกร พวงชมภู Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252878 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนํ้าหนักบรรทุกออกแบบกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มดาล ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252844 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกออกแบบกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มดาลโดยการแปลผลการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบสถิตยศาสตร์ และวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ (Plaxis 2D) ของโครงการก่อสร้างสายทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ด้านตะวันออก) ตอน 1 เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในออกแบบและการก่อสร้างในโครงการหรือพื้นที่ใกล้เคียง เสาเข็มเจาะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.50, 1.20 และ0.80 เมตร ยาว 13.00 เมตร แรงอัดที่ออกแบบ 600, 450 และ 300 ตัน ตามลำดับ การวิเคราะห์ไฟไนต์อิลิเมนต์ใช้ข้อมูลชั้นดินจากผลเจาะสำรวจของหลุมเจาะ BH-2, BH-1, BH-4 ได้ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกออกแบบกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มดาล เป็นไปตามสมการเชิงเส้น y= 498.04x-76.547 มีค่า R-Square =0.8259 ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ เพื่อนำไปประมาณน้ำหนักบรรทุกออกแบบเสาเข็มดาลเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ ที่ความยาวคงที่ 13.00 เมตรในการก่อสร้างต่อไป</p> Chayutpong Sunanthawit, พงศกร พวงชมภู Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252844 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของชุดไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/251825 <p>พนักงานไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย ส่วนมากประสบปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในการขับรถนานๆ และโรคทางผิวหนัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของเสื้อพนักงานไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะการทำงานของไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ มีทดสอบกับเสื้อไรเดอร์ 2 ตัวอย่าง คือ ยี่ห้อเสื้อไรเดอร์พลัสและยี่ห้อเสื้อไรเดอร์ทั่วไป โดยมีการทดสอบความชื้น (Moisture content test) การทดสอบการอิ่มน้ำ (Full water test) และการทดสอบการดูดซับอุณหภูมิ (Temperature test) ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ยี่ห้อเสื้อมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับเวลาในการอบแห้ง (เสื้อไรเดอร์พลัส r=-0.991; เสื้อไรเดอร์ทั่วไป r=-0.995) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) เสื้อไรเดอร์พลัสมีน้ำหนักน้อยกว่าเสื้อไรเดอร์ทั่วไปหลังจากการทดสอบการอิ่มน้ำ และเสื้อไรเดอร์พลัสมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 29.49 องศาเซลเซียส เสื้อไรเดอร์ทั่วไปมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 29.10 องศาเซลเซียส (ความแตกต่างของอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.39 องศาเซลเซียส ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05)) แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะการทำงานของไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ ในด้านการลดโอกาสการเกิดโรคทางผิวหนังควรเลือกใช้เลือกไรเดอร์ที่มีการระบายอากาศที่ดี อุ้มน้ำน้อย&nbsp;</p> Jetsada Kumphong, ณธายุ ชวพัฒนโยธา, ภานุเทพ จันดา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/251825 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252893 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง 2) ทดสอบประสิทธิภาพ และ 3) ประเมินคุณภาพเครื่องสับฟางข้าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องสับฟางข้าว, ตารางทดสอบประสิทธิภาพและ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แบบประเมินคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเครื่องสับฟางข้าวให้มีอัตราการสับที่ทำให้ฟางข้าวมีขนาดเล็กลงจากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพและประเมินคุณภาพเครื่องจากผู้เชี่ยวชาญ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่บงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย 1) ได้เครื่องจักรกลเกษตรที่มีความสามารถในการทุ่นแรงและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับเกษตรกรโดยสามารถดำเนินการสับฟางข้าวให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปใช้ในการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือการเลี้ยงสัตว์ เครื่องสับฟางข้าวมีขนาดกว้าง 70 ซม. X ยาว 130 ซม. X สูง 150 ซม. ประกอบไปด้วย โครงสร้างเครื่อง, ชุดการป้อนวัสดุ, ระบบส่งกำลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส ขนาด 3 แรงม้า, ชุดควบคุมการทำงานเพื่อความปลอดภัย, ชุดใบมีดสับ มีคมตัดเป็นเล่มตรงแบนขนาดกว้าง 2 ซม. X ยาว 10 ซม. X หนา 4 มม. จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 3 ใบ มีลักษณะติดอยู่กับเพลากลมทำมุม 120 องศา สามารถหมุนตัดด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 1,380 ถึง 1,400 รอบต่อนาที ตะแกรงร่อนมีความละเอียดขนาด 2 มม. สามารถทำงานได้ในช่วงเวลา 8-12 ชั่วโมงต่อวัน และสามารถทำให้ขนาดของฟางข้าวที่สับเล็กลงได้ในช่วง 1.5-2.0 มม. 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว ทดสอบสับฟางข้าวที่น้ำหนัก 8 กิโลกรัม จำนวน 5 ครั้ง น้ำหนักฟางข้าวหลังสับ มีค่าเฉลี่ย 7.57 กก. น้ำหนักที่สูญเสียไป มีค่าเฉลี่ย 0.43 กก. ใช้เวลาในการสับฟางข้าว มีค่าเฉลี่ย 27.82 นาที และ ประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว มีค่าเฉลี่ย 94.58% และ 3) ผลการประเมินคุณภาพเครื่องสับฟางข้าว พบว่า จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.70, S.D. = 0.45)</p> อธิรัช ลี้ตระกูล, จีระศักดิ์ พิศเพ็ง, วิชัย แหวนเพชร, อัษฎา วรรณกายนต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252893 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253088 <div id="tw-target-text-container" class="tw-ta-container F0azHf tw-nfl" tabindex="0"> <p>การศึกษาเรื่องการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแรงบันดาลใจจากรถตุ๊กตุ๊ก โดยการนำสีสันของรถตุ๊กตุ๊กที่โดดเด่น ลักษณะและรูปทรงต่างๆของรถตุ๊กตุ๊ก ความกะทัดรัด ความโปร่งโล่งของห้องผู้โดยสาร ไฟของรถตุ๊กตุ๊ก มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีท การแต่งตัวแนวสตรีทนี้เป็นการแต่งกายแฟชั่นจากท้องถนนโดยที่ไม่ได้มาจากดีไซน์เนอร์แต่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมันสามารถเป็นตัวบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลได้<br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก 1. เพื่อศึกษาการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีท โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก 2. เพื่อออกแบบ และสร้างต้นแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต้นแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก กรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่องการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจจากรถตุ๊กตุ๊ก นำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปลักษณ์ ทั้งสีสัน รูปทรงลักษณะ ความกะทัดรัด ความโปร่งโล่งของห้องโดยสาร มาออกแบบในครั้งนี้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจกับการศึกษาโครงการเรื่องการออกแบบชุดสุภาพบุรุษแนวสตรีทโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถตุ๊กตุ๊ก โดยพิจารณา ดังนี้ แบบที่ 1 กางเกงขายาวค่าเฉลี่ย 4.45 พึงพอใจมาก แบบที่ 2 เสื้อแขนยาวค่าเฉลี่ย 4.13 พึงพอใจมาก</p> </div> <div id="tw-target-rmn-container" class="tw-target-rmn tw-ta-container F0azHf tw-nfl"> <pre id="tw-target-rmn" class="tw-data-placeholder tw-text-small tw-ta" dir="ltr" data-placeholder="">&nbsp;</pre> </div> <div class="iYB33c"> <div class="dlJLJe"> <div data-cviv="false" data-ved="2ahUKEwj735bD5t6EAxX4yDgGHYFvBzwQz_AEegQIBRAV"> <div class="U9URNb"><img id="dimg_3" class="YQ4gaf zr758c wA1Bge" src="https://ph02.tci-thaijo.org/public/site/images/title_138@hotmail.com/blobid0.png" alt="ไอคอนยืนยันโดยชุมชน" width="16" height="16" data-csiid="13" data-atf="0"></div> </div> </div> </div> อริชัย รัตรสาร, วันเฉลิม จันทร์ช่วงโชติ, ทัศนียา นิลฤทธิ์, จักรพันธ์ บุญเพิ่ม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253088 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและสร้างระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252600 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟนบนฐานวิธีการคิดอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย กระบวนการที่นำเสนอเริ่มจากการออกแบบสร้างโดยใช้โมดูลวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วยการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า ส่งข้อมูลให้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลการทำงาน ข้อมูลที่ได้รับจะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อแสดงข้อมูลพารามิเตอร์ต่างๆ ผลการทดสอบยืนยันให้เห็นว่าระบบที่นำเสนอสามารถแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่าร้อยละ 1 ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดค่ากระแสไฟฟ้าน้อยกว่าร้อยละ 10 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของอัตราค่าไฟฟ้าที่นำเสนอน้อยกว่าร้อยละ 1</p> องอาจ ทับบุรี, กันยารัตน์ เอกเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252600 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสำนักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252846 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาเชิงภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสำนักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงทพมหานคร จำนวน 30 ตัวอย่าง ที่ใช้เวลาปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์เฉลี่ยมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การใช้คอมพิวเตอร์ ระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อกล้าม และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมินมาตรฐาน Rapid Office Strain Assessment (ROSA) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.33) มีอายุงานในองค์กร เฉลี่ย 10 ปี (S.D. = 5) มีการใช้คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์พกพา คอมพิวเตอร์พกพาขนาดกลาง หรือสมาร์ทโฟน) ในเวลางานมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 80.00) เฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน (S.D. = 1) มีท่าทางและสภาพแวดล้อมการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ได้แก่ พนักพิงไม่สามารถปรับได้ (ร้อยละ 100.00) ที่พักแขนปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 100.00) เบาะนั่งปรับระยะไม่ได้ (ร้อยละ 96.67) ที่วางแป้นพิมพ์ปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 93.33) แป้นพิมพ์อยู่ในระดับไม่เหมาะสมทำให้ไหล่ยกขึ้น (ร้อยละ 83.33) ไม่มีที่รองข้อมือหรือที่รองข้อมือมีพื้นผิวแข็งหรือมีจุดกดทับในขณะใช้งานเมาส์ (ร้อยละ 73.33) เก้าอี้ปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 60.00) จอภาพต่ำเกินไป (ร้อยละ 56.67) และมีลักษณะไหล่ยกขณะนั่งทำงาน (ร้อยละ 96.67) กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 96.67 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น คอ บ่า ไหล่หลัง ขณะนั่งทํางานหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ผลการประเมินระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อด้วยตนเองมีระดับความเจ็บปวดตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป ความชุกสูงสุด คือ ไหล่/บ่า (ร้อยละ 83.33) รองลงมา คือ คอ (ร้อยละ 70.00) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 66.67) ผลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมินมาตรฐาน ROSA พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.00 มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ROSA 5 – 7 คะแนน) และร้อยละ 46.67 มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก (ROSA 8 – 10 คะแนน) เกิดจากท่าทางการนั่งทำงานและอุปกรณ์ในสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนเพื่อลดการบาดเจ็บสะสม ป้องกันการเกิดปัญหาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และโรคออฟฟิศซินโดรมต่อไป</p> สุคนธ์ ขาวกริบ, ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, นวลนิตย์ แสงสิริวุฒิ, ศศิธร ลอเรนซ์, องอาจ งามดี, อินจิรา นิยมธูร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252846 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 เครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252522 <p>งานวิจัยออกแบบและสร้างเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ สามารถสับอาหารสด เช่น ต้นข้าวโพด หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถผสมอาหารแห้งได้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้าง และหาประสิทธิภาพของเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ แนวคิดการพัฒนาใช้หลักการออกแบบทางวิศวกรรม เครื่องมีความแข็งแรง โดยใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด เป็นเครื่องที่สามารถสับอาหารและผสมอาหารสัตว์ได้โดยใช้ต้นกำลังจากรถแทรกเตอร์ มีความจุถังผสม 100 กิโลกรัม ผู้วิจัยได้นำเครื่องไปทดสอบกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นลักษณะฟาร์มขนาดเล็ก มีโคนมจำนวน 20 ตัว ผลการทดสอบผสมอาหารแห้งพบว่าที่ปริมาณส่วนผสม 100 กิโลกรัม ใช้เวลาเฉลี่ย 7 นาที ใช้เวลาผสมเร็วกว่าแรงงานคนโดยเฉลี่ย 2 เท่า สามารถลดต้นทุนการซื้ออาหารข้นจากราคา 35 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 10 บาทต่อกิโลกรัม หรือสามารถประหยัดต้นทุนได้ 182,142.29 บาทต่อปี เมื่อพิจารณาการลงทุนซื้อเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์มาใช้งาน พบว่ามีระยะเวลาการคืนทุน 0.378 ปี หรือประมาณ 4.54 เดือน</p> นายมานพ ดอนหมื่น, นายโยธิน สุริยมาตร, เจษฎา คำภูมี, ปริญญวัตร ทินบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/252522 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 Development of an Entrepreneurship Training Model for Student in the Liuzhou Institute of Technology https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253035 <p>In the wave of the new technological revolution, leaders in the technology innovation industry will steer the direction of future development. The realization and application of technological innovation is closely linked to the cultivation and development of talent. Entrepreneur training models play a crucial role in universities, as they not only help cultivate students' entrepreneurial spirit and enhance their innovation capabilities and practical competencies but also provide vital support for their development in new technological fields. This study focuses on Liuzhou Institute of Technology as the research subject, to identify and develop an entrepreneur training model. Through in-depth interviews with 9 industry experts and evaluations by an additional 21 experts, the key elements of the model, including 9 main elements and 66 sub-elements, were identified. The findings contribute to a deeper understanding of the composition of entrepreneur training models, providing guidance for universities in training talent with innovative thinking and entrepreneurial skills, thus promoting the cultivation and development of students' innovation and entrepreneurial abilities.</p> Xiao Wenjun, Nutdanai Singkhleewon, Sombat Teekasap, Sirigarn Phokheaw Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/253035 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700