วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jsti <p><strong>วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี&nbsp;&nbsp;</strong>มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยวารสารมุ่งเน้นบทความทางนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> th-TH วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุดทดลองสำหรับศึกษาสมบัติเชิงกลของพอลิเมอร์ผ่านการเลี้ยวเบนของแสง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jsti/article/view/249547 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างชุดทดลองสำหรับตรวจสอบสมบัติเชิงกลของถุงพลาสติกผ่านการทดลองการเลี้ยวเบนของแสง โดยนำตัวอย่างถุงพลาสติกมาตัดให้มีขนาด 15 ซม. × 2.5 ซม. ตามวิธีการทดสอบมาตรฐาน ASTM D882 หลังจากนั้นจึงทำการยืดถุงพลาสติกด้วยน้ำหนักที่มีขนาดต่าง ๆ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นแรงดึง ระหว่างที่ถุงพลาสติกถูกยืดออกที่น้ำหนักค่าต่าง ๆ จะทำการบันทึกความยาวที่เปลี่ยนแปลงไปของถุงด้วยกล้องวิดีโอ ขณะเดียวกันก็ทำการถ่ายภาพรูปแบบการเลี้ยวเบนของแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร ผ่านถุงพลาสติกที่ถูกยืดออก หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมแทรคเกอร์ เพื่อนำข้อมูลไปเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดที่ได้จากการทดสอบแรงดึง ซึ่งสามารถนำไปใช้คำนวณหาค่ายังโมดูลัสของวัสดุตัวอย่างได้ โดยรูปแบบการเลี้ยวเบนของแสงจะสังเกตเห็นได้หลังจากเกินพิกัดการเปลี่ยนรูปแบบยืดหยุ่นหรือแบบคืนรูป เนื่องจากแรงดึงจะทำให้เกิดช่องว่างเล็ก ๆ หรือสลิตในแผ่นถุงพลาสติก ชุดการทดลองที่นำเสนอในงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเลี้ยวเบนของแสงและสมบัติเชิงกลของวัสดุได้</p> จิราพร อ่อนภักดี เขมฤทัย ถามะพัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2023-12-28 2023-12-28 3 2 1 14 การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เบาะรถยนต์อเนกประสงค์ ของบริษัท MCE จำกัด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jsti/article/view/249626 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือศึกษาวิธีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของบริษัท Motor Companion ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ โดยทำการเปรียบเทียบด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม หลักการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (quality function deployment) และหลักการ axiomatic design (AD) อธิบายในส่วนของ เมทริกซ์หลัก 4 เฟส ที่ประกอบไปด้วย การวางแผนผลิตภัณฑ์ การแปลงการออกแบบ การวางแผนกระบวนการ และการวางแผนปฏิบัติการผลิต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์เอนกประสงค์ ถูกเลือกมาเป็นกรณีศึกษาเพราะเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่มีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศอย่างมาก และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จากการจัดทeแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์หาปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประเภทนี้ พบว่าควรคำนึงถึงในการพัฒนาโครงสร้างรถยนต์อเนกประสงค์เพื่อเหมาะสมกับในส่วนโครงเหล็กและโครงสร้างห้องโดดยสาร การออกแบบมีการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ 1.ความคิดริเริ่ม 2.ความคล่องในการคิด 3.ความยืดหยุ่นในการคิด 4.ความคิดละเอียดละออ จึงได้จัดทำชุดฝึกอบรมสำหรับพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่อาจแก้ไขปัญหานี้ได้ ชุดฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นเอกสารวิชาการที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับโรงงานผลิตเบาะเอนกประสงค์ ยานยนต์ ประกอบด้วย 4 ชุดย่อย ได้แก่ 1) กลุ่มปรับปรุงคุณภาพ 2) พื้นฐานทางสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ 3) การศึกษาดูงานการลดการเกิดของเสียในโรงงานตัวอย่าง และ 4) กลุ่มกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ จึงได้จัดการวิพากย์ชุดฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน ซึ่งมาจากสถาบันยานยนต์ 4 ท่าน ผู้ประกอบการผลิตเบาะรถยนต์ 2 ท่าน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย 4 ท่าน หลังจากได้จัดวิพากย์ชุดฝึกอบรมและได้ปรับปรุงตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนําาแล้ว จึงได้นํา ไปใช้ของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งสุ่มมา 3 โรงงานจากประชากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 12 โรงงาน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้จัดทำขึ้น โดยสุ่มได้ โรงงาน A, B และ C แต่ละโรงงานส่งตัวแทนมารับการฝึกอบรม โรงงานละ 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน ในระหว่างการฝึกอบรมมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน ได้ประเมินการฝึกอบรม ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวอยู่ในระดับดี เมื่อตัวแทนของพนักงานทั้ง โรงงานกลับไปทำงานก็ได้นําาความรู้ที่ได้รับ</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ เอกราช ยอดคำ ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์ ปรีญา ศรีจันทร์ พิชิต ภาสบุตร Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2023-12-28 2023-12-28 3 2 15 24