วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt <p>วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการที่มีคุณภาพของ นักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงาน วิชาการทั้งภายในและภายนอก 2. เป็นสื่อกลางในการนำเสนอความก้าวหน้าทางการวิจัยของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัย 3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ</p> มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี th-TH วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2350-9732 <div class="item copyright"> <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> </div> การพัฒนาระบบการรับสั่งทำขนมไทยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/239970 <p>โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการรับสั่งทำขนมไทยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาร้านบ้านขนมไทย โดยนำวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (SDLC) มาใช้ รวมทั้งการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ใช้สามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบการรับสั่งทำขนมไทย โดยใช้ภาษา PHP, HTML, SQL และ Javascript สำหรับพัฒนาโปรแกรม และใช้ MySQL เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งโปรแกรมสามารถจัดการข้อมูลพื้นฐาน การสั่งทำขนมไทย การแจ้งชำระเงิน และออกรายงานต่างๆ ผู้ใช้ยังสามารถดูรายงานต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในแต่ละส่วน โปรแกรมมีการสนับสนุนกระบวนการทำงานอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จากผลการศึกษาพบว่า ระบบการรับสั่งทำขนมไทยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาร้านบ้านขนมไทย มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะกับกระบวนการทำงาน โดยระบบดังกล่าวได้นำไปใช้และแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ขนิษฐา ชำปฏิ อุบลวรรณ ลิ้มสกุล ปัณฑ์ชณิช เพ่งผล Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2019-12-30 2019-12-30 7 2 1 10 การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์กับผู้บริหารยุคใหม่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240062 <p>โลกยุคปัจจุบันนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ประกอบกับประเทศไทยที่กาลังจะก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ทุกองค์การจะต้องมีความพร้อมในการปรับตัวที่จะสู่ยุคลิจิตอล ดังนั้นในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารยุคใหม่ จึงเป็นส่วนที่มีความสาคัญอย่างมาก ที่จะต้องช่วยทาให้ผู้บริหารสามารถที่จะมีทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ให้มีการแสดงออกที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆและที่สาคัญๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งภายในและภายนอกขององค์การ จนสามารถนาพาองค์การให้บรรลุเป้าหมายจนประสบความสาเร็จ อันจะนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติต่อไป</p> ไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์ Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 12 26 ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240063 <p>การวิจัยเรื่องปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพ-มหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ที่มีอิทธิพลการจัดการความรู้ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เพื่อสร้างแบบจำลองปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โดยทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Causal Relation) ระหว่างตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การจัดการความรู้และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับตัวแปรเกณฑ์คือสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อใช้ทดสอบแบบจาลองความสัมพันธ์ตามสมมติฐาน จานวน 278 คน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2เพื่อใช้ทดสอบยืนยันแบบจำลองความสัมพันธ์ใหม่ (Trimmed Model) จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (= 4.55) ปัจจัยการจัดการความรู้ (= 4.56) ปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (= 4.56) และปัจจัยสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา (= 4.54) (2) ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลรวมต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ .243, .230 และ .227 ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .190, .178 และ .109 ตามลำดับ</p> รุ่งอรุณ รังรองรัตน์ Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 27 40 เครื่องช่วยเรียนรู้อักษรเบรลล์ด้วยการสัมผัสและเสียง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240064 <p>อักษรเบรลล์เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง นำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษร สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี โดยอักษรเบรลล์จะใช้เบรลเลอร์ พิมพ์ลงบนกระดาษหนา ในการอ่านอักษรเบรลล์ต้องอ่านผ่านการสัมผัสที่ปลายนิ้ว รวมถึงการเรียนรู้การอ่านอักษรเบรลล์ต้องมีใช้สื่อเรียนรู้พร้อมครูผู้ช่วยกำกับ นวัตกรรมนี้เป็นการประยุกต์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยสร้างเครื่องช่วยเรียนรู้การอ่านอักษรเบรลล์ ผ่านการสัมผัสที่ปลายนิ้ว และฝ่ามือ พร้อมมีการส่งเสียงระบุอักษรประกอบเพื่อลดการใช้ครูผู้ช่วยสอน และเพิ่มความน่าสนใจ การพัฒนาพบว่าชุดการเรียนรู้มีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วย พยัญชนะไทย สระวรรณยุกต์ไทย อักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลขอารบิก อีกทั้งขีดความสารถของเครื่องรองรับการแสดงตัวอักษรแบบเล่นซ้ำ หรือ เดินหน้า ย้อนกลับ ตามความต้องการของผู้ใช้นอกจากนั้นมีการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ ตัวโครงสร้างชิ้นงาน และการนำไปใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ได้ระดับคะแนน 4.42, 4.48 และ 4.78 มีการนาไปทดสอบใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้พิการทางสายตาจำนวน 10 คน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ที่ระดับคะแนน 4.58</p> ธนากร อินตา ยุทธนา เพิ่มอุตสาห์ อนุสรณ์ เราเท่า ดิเรก มณีวรรณ Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 41 48 Disparity in the Availability of Vocational High Schools with Developmental Needs Based on Regional Superior Potential https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240065 <p>สาเหตุของการว่างงานในผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเกิดจากแนวโน้มการจัดหาแรงงานของชุมชนไม่สอดคล้องกับชุมชน ผู้สำเร็จการศึกษามีความสามารถในระดับต่ำ จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพหลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญ และผู้สำเร็จการศึกษามีความต้องการเพิ่มระดับศักยภาพของการศึกษาสายอาชีพ ที่มีกลยุทธ์ในการเร่งการพัฒนาในระดับภูมิภาคด้วยการเปิดโอกาสในการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจความต้องการแรงงานและความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายอาชีวศึกษา การเชื่อมโยงที่เหมาะสมและการแข่งขันของโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษา ที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างในความพร้อมของโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษาที่มีความต้องการการพัฒนาตามศักยภาพของภูมิภาคใน West Bandung Regency ข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมของโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษาได้รับจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษา ศักยภาพท้องถิ่นส่วนใหญ่ที่มีอยู่ใน West Bandung Regency อยู่ในภาคการเกษตร ศักยภาพนี้มีอิทธิพลต่อการครอบงำของเศรษฐกิจ ได้แก่ ธุรกิจการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพปศุสัตว์การเพาะปลูกและการแปรรูปอาหารเครื่องดื่ม นอกจากนี้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวก็เป็นเรื่องปกติ มีโรงเรียนอาชีวศึกษา 91 แห่งในบันดุงตะวันตกซึ่งประกอบด้วยความเชี่ยวชาญ 6 ด้านความเชี่ยวชาญ 15 หลักสูตรและความ เชี่ยวชาญ 201 ทักษะ ความแตกต่างสูงระหว่างความพร้อมของโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษาที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจพอุตสาหกรรมจะปรากกให้เห็นความต้องกและศักยภาารในการพัฒนาโปรแกรมที่มีความเชี่ยวชาญให้สอดคล้องกับศักยภาพที่สูงขึ้นของภูมิภาค</p> แดนนี่ ไมราแวน สาริพุดิน เอน่า อินดา คอร์รันนิสา Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 49 59 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240066 <p>บทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากองค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ โดยได้นำเสนอเนื้อหาในประเด็นที่เกี่ยวกับความหมาย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) แนวคิด ทฤษฎีการบริหารจัดการองค์การ (2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบการบริหารจัดการ (3) คุณลักษณะผู้บริหารจัดการสมัยใหม่ และ (4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่</p> ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 60 70 ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของผู้ค้าปลีกข้ามชาติในประเทศไทย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240067 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยและรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดการบริหารงานเทสโก้โลตัสในการลงทุน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของธุรกิจการลงทุนของผู้ค้าปลีกข้ามชาติ(3) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยที่มีต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจการลงทุนของผู้ค้าปลีกข้ามชาติบริษัทโลตัส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมจำนวน 400 รายและเจ้าของร้านค้าปลีก 30 ราย ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้าน พนักงาน(p=0.003) ผลิตภัณฑ์มูลค่า (p=0.040) สถานที่วางจำหน่าย(p=00.481) และการจัดจำหน่ายสินค้า (p=0.141) ความหลากหลายของสินค้าและบริการ(p=0.373) ความรับผิดชอบต่อสังคม(p=0.983) ความสัมพันธ์กับคู่แข่งทางธุรกิจ (p=0.896) การกำหนดราคาและผลกำไร(p=00.865) การจัดเก็บสินค้าคงคลัง(p=00.847) การส่งเสริมและจาหน่าย (p=00.821) แม้ว่าเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าจะส่งผลกระทบต่อลูกค้า เจ้าของร้านค้าปลีกในประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและความสามารถในการอยู่รอดในโลกค้าปลีกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา</p> ปัณณรัตน์ รังสีเสาวภาคย์ Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 69 78 การแบ่งปันความรู้ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240068 <p>บทความวิชาการการนาเสนอเกี่ยวกับการแบ่งปันความรู้ในองค์การ ซึ่งปัจจุบันทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจในการนำแนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์การ และการจัดการความรู้จะไม่ได้ผลเลยถ้าไม่นำแนวคิดของการแบ่งปันความรู้ไปใช้ให้เหมาะสม เพราะว่าการแบ่งปันความรู้นั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการจัดการความรู้ ที่จะนำพาองค์การให้ประสบความสำเร็จและก้าวไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์</p> รุ่งรดิศ คงยั่งยืน Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 81 90 ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240070 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารจำนวน 23 คน ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู โดยใช้การทดสอบด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา (สายผู้สอน) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอธิบายได้ว่าเมื่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีระดับสูงขึ้นจะทำให้ พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูสูงขึ้นด้วย</p> พัฒน์นรี วิบูลย์เพ็ง สุทธิพร บุญส่ง Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 91 98 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชา ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/240071 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชา ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.50/81.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 38.20 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.52 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 81.33 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.58 มีค่าการทดสอบค่าที ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 44.50 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ทศพร แสงสว่าง Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 2019-12-27 2019-12-27 7 2 99 107