https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/issue/feed
วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
2024-06-28T16:02:30+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยศักดิ์ ถีอาสนา
apichat.la@rmu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Journal of Applied Information Technology) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและโครงงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการ บทความวิจัยและโครงงานวิจัยที่มีคุณภาพ แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี (Theoretical Contributions) ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ (Managerial Contributions) นักวิจัยหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการวิจัยที่ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เทคโนโลยีมัลติมีเดียและคอมพิวเตอร์ศึกษา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตลอดจนสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์ และเพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ การทำวิจัยและการพัฒนาผลงานวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษา นักธุรกิจ และประชาชนผู้สนใจ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ</p> <p>ตั้งแต่ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป ทางวารสารได้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความเป็น 3 ท่าน (จากเดิม 2 ท่าน)</p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong><br /> ผู้เขียนต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน 3,000 บาท โดยชำระค่าลงทะเบียนตีพิมพ์บทความ ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาบทความที่เสนอมามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และระเบียบของวารสาร โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ</p>
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254758
ส่วนหน้า10(1)2024
2024-06-28T15:55:18+07:00
ปิยศักดิ์ ถีอาสนา
itcenter@rmu.ac.th
<p>ส่วนหน้า</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253291
Improving Water Tap Production Lines: A Proof of Concept for Deep Learning-Based Defect Detection System Development
2024-04-04T10:42:08+07:00
Annop Piyasinchart
dr.annop.p@gmail.com
Patsita Sirawongphatsara
patsita_si@rmutto.ac.th
Paradorn Boonpoor
paradorn.sp@rmutp.ac.th
Nattawat Chantasen
nattawat.c@rmutp.ac.th
Therdpong Daengsi
therdpong.d@rmutp.ac.th
<p>This paper presents the development of a deep learning model designed to identify two classes of object images: the work-in-process of a certain copper-based alloy water tap. The dataset consisted of 316 images of good parts and 320 images of defective parts. Both classes of images underwent processing using oversampling techniques for data augmentation to increase the number of images to 1,000 images per class, before transformation. Subsequently, the processed data were used to train six transfer learning models, including ResNet50, MobileNet, Xception, InceptionV3, EfficientNetB0, and DenseNet121. The results demonstrate 100% accuracy, precision, recall, and F1-score for ResNet50 and EfficientNetB0 when evaluated on the validation and test sets. However, considering the size of the models, it was found that EfficientNetB0 is only 15.48 MB, whereas ResNet50 is 90.03 MB. Therefore, EfficientNetB0 emerges as the optimal deep learning model for the development of an automatic detection and rejection station in the production line of water tap manufacturers in the future. One of the contributions of this study is providing proof of concept for using image processing and deep learning to enhance productivity within a manufacturing environment.</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/252383
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
2024-06-07T14:11:17+07:00
สุรพงษ์ วิริยะ
surapong.w@cpu.ac.th
อุทัยวรรณ แก้วตะคุ
uthaiwan.k@cpu.ac.th
Nguyen Hoang Anh
uthaiwan.k@cpu.ac.th
กิติพิเชษฐ์ ธูปบูชา
uthaiwan.k@cpu.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และ 3) ประเมินความพึงพอใจของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ คณาจารย์/นักวิจัย คณบดี ผู้บริหารระดับสถาบัน และผู้ดูแลระบบ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยใช้วิจารณาณ จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบสารสนเทศ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ระบบการทำงาน ประกอบด้วยผู้ใช้งานหลัก 4 กลุ่ม โดยพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน สามารถใช้งานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานและนำไปใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการงานวิจัย 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, SD. = 0.86) โดยด้านที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ด้านฟังก์ชันการทำงานของระบบ และด้านความปลอดภัย และ 3) การประเมินความพึงพอใจการใช้งานของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อการใช้งานของระบบสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, SD. = 0.73)</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253300
การพัฒนาระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน
2024-03-26T09:46:10+07:00
theerapong lertthitivong
theerapong.lertthitivong.home@gmail.com
วรปภา อารีราษฎร์
worapapha@rmu.ac.th
ธรัช อารีราษฎร์
dr.tharach@rmu.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 2) ประเมินความเหมาะสมของระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นผู้เชี่ยวชาญประเมินระบบ จำนวน 3 คน และ กลุ่มเป้าหมายทดสอบการทำงานของระบบเป็นพี่เลี้ยง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมของระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และ แบบสอบถามความคิดเห็นพี่เลี้ยงที่มีต่อระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน พบว่า ระบบคัดกรองข้อมูลพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการใช้งานที่ง่าย และสามารถใช้ผ่านมือถือหรือสมาร์ทโฟน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนคัดกรองข้อมูลร้านค้า ประกอบด้วยข้อมูลที่ใช้คัดกรอง ได้แก่ ชื่อสถานประกอบการ ชื่อสกุลผู้ประกอบการ อุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารออนไลน์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ การขายสินค้าผ่านช่องทาง ความพร้อมในการใช้ระบบออนไลน์ บริษัทขนส่งที่อยู่ใกล้เคียงและสะดวก และความพร้อมในการรับชำระเงิน (2) ส่วนคัดกรองข้อมูลสินค้าโดยใช้หลักการ 4P ประกอบด้วย Product, Price, Place และ Promotion และ (3) ส่วนการจัดทำรายงาน เป็นการสรุปรายงานคำถามและคำตอบทั้งหมดที่วิสาหกิจชุมชนให้ข้อมูลคำตอบ และความคิดเห็นของพี่เลี้ยงที่มีต่อระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน พบว่า ความความคิดเห็นของพี่เลี้ยงที่มีต่อระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ พบว่า เฉลี่ยโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบคัดกรองข้อมูลเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน พบว่า เฉลี่ยโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/251637
การพัฒนาระบบการตรวจสอบสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2024-03-15T13:38:06+07:00
Nattapong Hongphuay
nattapong.h@psru.ac.th
สิริกุล การะจาก
nattapong.h@psru.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการสร้างระบบที่ช่วยให้บุคลากรสามารถติดตามสถานะของพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ 2) พัฒนาระบบสำหรับบุคลากรสามารถติดตามสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้กับบุคลากร และ 3) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรกับระบบติดตามสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูล</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางในการสร้างระบบ 3) บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อระบบติดตามสถานะพัสดุที่ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าระบบดังกล่าวสามารถให้บริการติดตามพัสดุได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และทางเลือกในการสื่อสารของบุคลากร</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254077
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม สำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์
2024-06-23T10:57:32+07:00
ไพโรจน์ สมุทรักษ์
phairoj.s@chandra.ac.th
อำนาจ สวัสดิ์นะที
amnat.s@chandra.ac.th
สายชล ทองคำ
saichon.t@chandra.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ 2) เผยแพร่และประยุกต์ใช้งานการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ กรอบแนวคิดในการวิจัยคือ การใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดชัยนาท ตั้งแต่เริ่มกระบวนการปลูกข้าว การเตรียมแปลง จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการวางแผนในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ปัญหา และวิธีการแก้ไข รวมถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในแต่ละฤดูกาล การศึกษาและการใช้เทคโนโลยีและการเก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอหันคาและอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท การสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 30 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ใช้กระบวนการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารเป็นส่วนประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม 3) แบบประเมินความพึงพอใจของการใช้งานชุดการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยจากการ พบว่า 1) ชุดการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม ประกอบด้วย บอร์ดควบคุม เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศและเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่าด้านเนื้อหาของชุดการเรียนรู้ ด้านการออกแบบชุดการเรียนรู้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 โดยหัวข้อชุดการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจด้านเกษตรอินทรีย์ได้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของชุดการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน พบว่า ด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ดังนั้นชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม และใช้ข้อมูลดิจิทัลอุณหภูมิและความชื้นในนาข้าวมาช่วยการตัดสินใจการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือประยุกต์ใช้กับการเกษตรอินทรีย์แบบต่าง ๆ ได้ รวมถึงการเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ช่วยเป็นเครื่องมือให้เกษตรกรช่วยตัดสินใจวางแผนการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/251930
การพัฒนาแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอท เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ
2024-02-12T09:57:07+07:00
Phisan Sookkhee
phisan.s@365.sskru.ac.th
เจษฎา ชาตรี
jesada.c@sskru.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอท เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันน้องลำดวน ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยกระบวนการออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชันน้องลำดวนไลน์แชทบอทโดยใช้ Dialog flow ทำงานร่วมกับ Line Messaging API ในกระบวนการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมระบบ จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 15 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชัน“น้องลำดวน” ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดศรีสะเกษซึ่งใช้ Dialog flow เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแชทบอทร่วมกับ Line Official Account และใช้ Django Web Framework สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการประมวลผล และจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และสำหรับสถาปัตยกรรมการทำงานของแชทบอท ประกอบด้วยการรับข้อความจากผู้ใช้ การประมวลผลข้อความ โดยการเรียนรู้ของเครื่อง และการส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ใช้ และ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านเนื้อหา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการใช้งาน ตามลำดับ</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/252953
การพัฒนาสื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น
2024-06-05T10:07:33+07:00
สุรพงษ์ วิริยะ
surapong.w@cpu.ac.th
ธรณัส หล้าเตจา
mkittiphop@aru.ac.th
นวรัตน์ กฤชรัตนศักดิ์
mkittiphop@aru.ac.th
กิตติภพ มหาวัน
mkittiphop@aru.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น โดยการสร้างสื่อโมชันอินโฟกราฟิก ได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนของการสร้างสื่อแอนิเมชัน คือ ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อโมชันอินโฟกราฟิก 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชันอินโฟกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>จากผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น มีความถูกต้อง มีความสมบูรณ์ในการแสดงของภาพและเสียงที่สอดคล้องกัน รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ดูลื่นไหล 2) ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพสื่อโดยมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( = 4.31, SD. = 0.26) และ 3) ประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เข้าอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, SD. = 0.51)</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/250785
การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
2024-06-21T10:49:32+07:00
กาญจนา ดงสงคราม
kanjana.do@rmu.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล <br />2) ออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3) สร้างสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 20 คน กลุ่มลูกค้าทั่วไปจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสื่อดิจิทัลนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อดิจิทัลนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล องค์ประกอบของการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สื่อดิจิทัล (Digital Media) ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการจำหน่าย (Promote Marketing) ส่วนที่ 3 การสื่อสารผู้ซื้อและผู้ขาย (Communication) และ ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) 2) การออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ตราสินค้าและฉลากสินค้า มี 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์กระติบข้าว และกลุ่มแปรรูปอาหาร ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของตราสินค้าและฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.47) 3) การสร้างสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า มีองค์ประกอบของหน้าจอสื่อดิจิทัล 4 ส่วน ได้แก่ (1) ชื่อหน่วยงาน (2) ตราสินค้า (3) พื้นที่นำเสนอ VDO และ (4) บทบรรยาย โดยเป็นสื่อนำเสนอขั้นตอนการผลิตกระติบข้าวของกลุ่มผลิตภัณฑ์กระติบข้าว และขั้นตอนการทำไส้กรอกสมุนไพรของกลุ่มแปรรูปอาหาร ในรูปแบบวิดีทัศน์ มีความยาวไม่เกิน 5 นาที ที่นำเสนอในช่องออนไลน์ ทั้ง Facebook และ YouTube จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) การศึกษาผลการทดลองใช้สื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าทั่วไป มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก <br />( = 4.43, S.D. = 0.50) </p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/251174
การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน กรณีศึกษา ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
2024-06-25T16:16:53+07:00
เยาวลักษณ์ งามแสนโรจน์
ayaowalak@hotmail.com
ชัยวุฒิ โกเมศ
ayaowalak@hotmail.com
พิกุล แสงงาม
ayaowalak@hotmail.com
ธัญลักษณ์ งามขำ
ayaowalak@hotmail.com
ชนันกาญจน์ สุวรรณเรือง
ayaowalak@hotmail.com
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบในรูปแบบแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลชุมชน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบการจัดการข้อมูลชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการจัดการข้อมูลชุมชนในรูปแบบแอปพลิเคชัน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการทำงานระบบจัดการข้อมูลชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาระบบในรูปแบบแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ (2) ด้านสุขภาพ (3) ด้านความเป็นอยู่ (4) ด้านรายได้ และ (5) ด้านการศึกษา ในการดำเนินงานวิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนจากประชาชนในแต่ละครัวเรือนทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลนาครัว พบว่าสามารถแสดงผลการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามความต้องการของผู้ใช้ 2) การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการทำงานระบบจัดการข้อมูลชุมชน พบว่ามีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253456
การพัฒนาช่องทางการขายสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปด้วย แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันไลน์
2024-06-13T14:22:59+07:00
ณัฐกร สีถา
golf.nattkron@gmail.com
ภารสกร ธนศิรธรรม
Passakorn.ta@rmu.ac.th
ดุษฎี เสนฤทธิ์
Dussadee.Se@rmu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสัมภาษณ์ปัญหาการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป 2) เพื่อพัฒนาช่องทางการขายสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปด้วยแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันไลน์ 3)เพื่อประเมินช่องทางในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าด้วยช่องทางโซเชียลมีเดียและเพิ่มยอดขาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สรุปข้อมูลการสัมภาษณ์ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเนื้อสัตว์แปรรูป ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ว่า ด้านผลิตภัณฑ์ทางกลุ่มวิสาหกิจ มี หมูแดดเดียว ส้มหมู แหนมหมู ส้มวัว ใส้กรอกวัว สินค้าของกลุ่มวิสาหกิจ จุดเด่นของแบรนด์ (สินค้าภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน) คือ มีจุดเด่นที่ตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีสารกับบูด วัตถุกันเสีย หรือแต่งกลิ่นแต่งสีต่างๆ ได้ใบอนุญาต อย. สะอาด ถูกหลักอนามัย ราคาคุ้มค่ากับตัวผลิตภัณฑ์ พบว่า ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจมี ปัญหาด้านการตลาดเพราะมีช่องทางการจัดจำหน่ายน้อยมีช่องทางดียว ปัญหาด้านพนักงาน ปัญหาด้านการดำเนินงานคือการจัดจำหน่ายไม่ตรงตามเป้า และปัญหาด้านเทคโนโลยี ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี ขาดช่องบทางการจัดจำหน่ายที่เป็นระบบ ประธานกลุ่มวิสาหกิจอยากเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายการแลกซื้อแบบต่างๆ ขยายช่องทางการขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายและขยายฐานลูกค้า <br> ในการนำ Line Official Account [19] เข้ามาในการพัฒนาระบบการสินค้า ตอบโจทย์ต่อธุรกิจค่อนข้างมาก 2) การพัฒนาระบบงานใหม่ การพัฒนา LINE Official Account หรือบัญชีทางการของแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อเป็นส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ ซึ่งการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างผู้จัดการระบบ (Administrator) และผู้ใช้ (User) จะมี 2 วิธีการ model คือ วิธีการสนทนา (Chat Mode) และ วิธีการอัตโนมัติ (BotMode) โดยการสนทนาจะสามารถโต้ตอบด้วย ผู้จัดการระบบหรือสามารถตอบกลับอัตโนมัติ (Auto-Response) ตามคำสําคัญ (Keywords) ที่ได้กำหนดไว้ หากผู้ใช้พิมพ์ข้อความ ที่ตรงกับคำสำคัญระบบจะตอบกลับทันที ซึ่งวิธีการนี้จะจัดการผ่าน LINE Official Account Manager ส่วนวิธีการ จะจัดการผ่าน Dialogflow Console [21] วิธีการนี้ระบบจะมีความยืดหยุ่นในการ เข้าใจข้อความหรือประโยคที่ผู้ใช้ถามมากกว่า นอกจากนี้ในส่วนของ LINE Official Account ได้ออกแบบเมนูภาพ (Rich Menu) ซึ่งเป็นเมนู ที่สามารถแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ผู้ใช้ต้องการ การพัฒนา LINE Official Account และส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) บัญชีทางการที่ ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บริการข้อมูลของร้านของฝากโพธิ์ชัย 101 ภาพแรกสำหรับการเพิ่มเพื่อน (Add friend ) แสดงรายละเอียดเวลาเปิดร้าน หมายเลขโทรศัพท์ เว็บไซต์ร้าน และแผนที่ร้าน เมื่อผู้ใช้เพิ่ม "ร้าน ของฝากโพธิ์ชัย101" เป็นเพื่อนจะมีข้อความต้อนรับ ตั้งค่าปุ่มให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทันที โดย จะตั้งค่าไว้ 6 เมนู คือ ปุ่มร้าน ปุ่มสำหรับสอบถามข้อมูล ปุ่มโปรโมชั่น ปุ่ม Facebook และ ปุ่มเช็คเลขพัสดุ หรือ กดเลือกสินค้า ผ่านตรง Line Rich Menu และ 3) ผลการศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการใช้ระบบส่งเสริมสินค้าชุมชนด้วยโซเชียลมีเดียไลน์ พบว่า</p> <p> 1) การใช้งานบนแอปพลิเคชัน: มีความคิดเห็นในเรื่องของการใช้งานบนแอปพลิเคชันที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54) และความคิดเห็นต่อตัวแปรต่างๆ ในด้านนี้เป็นที่สอดคล้องกัน 2) การออกแบบ: ตัวแปรในด้านการออกแบบมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.45) โดยความสำคัญของแต่ละข้อมีค่าเฉลี่ยคล้ายคลึงกัน 3) การส่งเสริมการขาย: ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57) โดยความสำคัญของแต่ละข้อมีค่าเฉลี่ยคล้ายคลึงกัน 4) การจัดจำหน่าย: ความสำคัญของตัวแปรในด้านการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59) และความคิดเห็นต่อตัวแปรที่ต่างๆ มีความสำคัญคล้ายคลึงกัน <br> สรุปการพัฒนาช่องทางการขายสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปด้วยแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันไลน์ คณะผู้วิจัยได้ใช้ฟังก์ชันไลน์ช็อปเพื่อสร้างความสะดวกในการซื้อสินค้า ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินได้ภายในแอปพลิเคชันไลน์อัพเดทข้อมูลสินค้าและสต็อกสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงสถานะสินค้าและข้อเสนอพิเศษ ส่งเสริมสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียใช้โซเชียลมีเดียเพื่อส่งเสริมสินค้า โดยให้ผู้ใช้แชร์โพสต์และแท็กเพื่อนในกลุ่มเป้าหมาย เป็นทางเลือกที่สามารถนำไปสู่การเพิ่มยอดขายต่อไป</p> <p> </p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/251780
การพัฒนาและการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงเป็นโรคไต ด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล
2024-04-04T10:37:45+07:00
วราวุฒิ นาคบุญนำ
warawut.n@acc.msu.ac.th
อนุพงศ์ สุขประเสริฐ
warawut.n@acc.msu.ac.th
อันดี้ เอเว่นส์
warawut.n@acc.msu.ac.th
อริสรา สัตย์ซื่อ
warawut.n@acc.msu.ac.th
อุไรวรรณ ทิจันธุง
warawut.n@acc.msu.ac.th
กาญจนา หินเธาว์
warawut.n@acc.msu.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p> โรคไตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 12.4 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของโลก แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การคัดกรองโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอความเสื่อมของไตและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบสำหรับคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไตโดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอัลกอริทึมการจำแนกประเภทข้อมูล 3 วิธี ได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree: C45) ต้นไม้ป่าสุ่ม (Random Forest) และเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด (K-Nearest Neighbor: KNN) โดยใช้ชุดข้อมูลจำนวน 1,500 ระเบียนจากฐานข้อมูลสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั้งกลุ่มเสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ผลการศึกษาพบว่า เทคนิค KNN ที่มีค่า k เท่ากับ 11 ให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีค่าความถูกต้องเท่ากับ 89.20% และค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 17.35% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการระบุกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตในระยะยาว</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/252374
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
2024-04-04T10:30:55+07:00
วราวุฒิ นาคบุญนำ
warawut.n@acc.msu.ac.th
อนุพงศ์ สุขประเสริฐ
warawut.n@acc.msu.ac.th
สุพรพรรณ ภูวนาทรุ่งเรือง
warawut.n@acc.msu.ac.th
กิตติเทพ รุ่งเป้า
warawut.n@acc.msu.ac.th
กาญจนา หินเธาว์
warawut.n@acc.msu.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จาก Kelwin Fernandes Jaime, S. Cardoso, Jessica Fernandes - Universidad Central de Venezuela ได้ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ www.data.world.com จากนั้นนำมาวิเคราะห์ตามกระบวนการมาตรฐานในการทำเหมืองข้อมูล (CRISP-DM) โดยใช้เทคนิคการจำแนกประเภทข้อมูล 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการพยากรณ์ข้อมูลแบบจำลองเบย์ (Naïve Bayes) เทคนิคเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด (K-Nearest Neighbors) เทคนิคเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) และเทคนิคต้นไม้ป่าสุ่ม (Random Forest) ค่าวัดข้อมูลประสิทธิภาพของการจำแนกประเภทข้อมูล ได้แก่ ค่าความแม่น (Accuracy) ค่าประสิทธิภาพโดยรวม (F-measure) ค่าความไว (Sensitivity) และค่าจำเพาะ (Specificity) ผลการทดสอบพบว่า เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ เป็นเทคนิคที่มีความเหมาะสมที่สุดในการสร้างตัวแบบสำหรับการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยค่าความแม่นสูงที่สุดถึง 96.62% ค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 76.93% ค่าความไวเท่ากับ 87.50% และค่าจำเพาะเท่ากับ 97.26%</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253151
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพอัลกอริทึม Apriori และ FP-Growth ด้วยชุดข้อมูลร้านขายของชำ
2024-05-13T12:41:09+07:00
Kritbodin Phiwhorm
kritbodin.p@sskru.ac.th
<h1>บทคัดย่อ</h1> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอัลกอริทึม Apriori และ FP-Growth ในการค้นหาไอเทมเซตที่เกิดขึ้นบ่อย (Frequent itemsets) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการทำเหมืองข้อมูลกฎความสัมพันธ์ (Association rules mining) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเร็วและการใช้หน่วยความจำในการค้นหาไอเทมเซตที่เกิดขึ้นบ่อย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แต่ละอัลกอริทึมที่ใช้ในการค้นหาไอเทมเซตที่เกิดขึ้นบ่อยมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน สำหรับชุดข้อมูลและค่าสนับสนุนที่แตกต่างกัน และ 2) การเปรียบเทียบความเร็วและการใช้หน่วยความจำ ชี้ให้เห็นว่าอัลกอริทึม FP-Growth ทำงานได้เร็วกว่าอัลกอริทึม Apriori และใช้หน่วยความจำน้อยกว่า เนื่องจากอัลกอริทึม Apriori ต้องสแกนฐานข้อมูลหลายรอบ และ มีการสร้างชุดข้อมูลตัวแทน (Candidate itemsets) ทำให้ใช้เวลานาน ส่วนอัลกอริทึม FP-Growth เข้าสแกนฐานข้อมูลแค่ 2 รอบและไม่มีการสร้างชุดตัวแทน ทำให้ทำงานได้ดีกว่า</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254117
การวิเคราะห์ปัจจัยของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริม
2024-06-12T09:25:04+07:00
พิมาย วงค์ทา
pmy999@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทั่วไป สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ซึ่งเป็นการหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉาก (Orthogonal Rotation) ร่วมกับวิธีวาริแมกซ์ (Varimax Rotation) เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก โดยค่า Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) = .753 ค่า Significant = .000</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริม มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ด้านการนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ด้านผลิตภัณฑ์ 3) ด้านสื่อสังคมออนไลน์ 4) ด้านสถานที่ และมีค่าน้ำหนักตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .503 ถึง .901 โดยแต่ละองค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 83.50 % ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงหญิง มีอายุช่วง อายุ 41–45 ปี มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ใช้งานเฟซบุ๊ค บ่อยที่สุด และเปิดรับข้อมูลและซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊ค และการใช้งานสื่อออนไลน์เกี่ยวกับอาหารเสริมลักษณะ เพื่อการกด Like หรือ Share ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมที่สนใจและสื่อออนไลน์เฟซบุ๊ค</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254759
ส่วนท้าย10(1)2024
2024-06-28T16:02:30+07:00
ปิยศักดิ์ ถีอาสนา
itcenter@rmu.ac.th
<p>ส่วนท้าย</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"