วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal <p>วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Journal of Applied Information Technology) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการและโครงงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการ บทความวิจัยและโครงงานวิจัยที่มีคุณภาพ แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี (Theoretical Contributions) ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ (Managerial Contributions) นักวิจัยหรือผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการวิจัยที่ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เทคโนโลยีมัลติมีเดียและคอมพิวเตอร์ศึกษา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตลอดจนสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์ และเพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ การทำวิจัยและการพัฒนาผลงานวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษา นักธุรกิจ และประชาชนผู้สนใจ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ</p> <p>ตั้งแต่ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป ทางวารสารได้เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความเป็น 3 ท่าน (จากเดิม 2 ท่าน)</p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong><br /> ผู้เขียนต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน 3,000 บาท โดยชำระค่าลงทะเบียนตีพิมพ์บทความ ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาบทความที่เสนอมามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และระเบียบของวารสาร โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ</p> คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม th-TH วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2730-1958 ส่วนหน้า10(2)2024 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/257270 <p>ส่วนท้าย10(2)2024</p> ปิยศักดิ์ ถีอาสนา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 1 6 ระบบเช็คชื่อเข้าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยการรู้จำใบหน้า: กรณีศึกษา คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253018 <p>บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาวิธีการตรวจจับใบหน้า และการรู้จำใบหน้าโดยการใช้ไลบรารี่ face_recognition สำหรับวิธีการตรวจจับใบหน้าใช้เทคนิค HOG &amp; Linear SVM ส่วนวิธีการรู้จำใบหน้าใช้เทคนิคการเปรียบเทียบความคล้ายกันของใบหน้า 2 ใบหน้าโดยการใช้ฟังก์ชันระยะห่างยูคลิเดียน ในการทดลองหาความคล้ายกันของใบหน้า ได้นำใบหน้าของคนมาทั้งหมด 20 คนจากฐานข้อมูล lfw และใช้วิธีการทดลองแบบ 20-way-1-shot และ 20-way-3-shot ผลการทดลองที่ได้ให้ค่าระยะห่างของใบหน้าเฉลี่ยเป็น 0.403508846 และ 0.412437762 ตามลำดับ ถือว่ามีความแตกต่างกันน้อยมาก และให้ค่าความแม่นยำของการรู้จำใบหน้าคิดเป็น 100% เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเช็คชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้ค่าความแม่นยำของการเช็คชื่อนักศึกษาได้ถูกต้องเฉลี่ยที่ 83.33% เช็คชื่อนักศึกษาไม่ถูกต้องเฉลี่ยที่ 0% และเช็คชื่อนักศึกษาเป็นไม่รู้ว่าเป็นนักศึกษาคนใดเฉลี่ยอยู่ที่ 16.67% โดยระบบที่พัฒนาขึ้นทำในรูปแบบเว็บแอพลิเคชัน</p> สุริยนต์ สาระมูล รชฏ มนตรี ชัชวาลย์ ศรีมนตรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 7 20 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253261 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี 2) ประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี ในการพัฒนาระบบงานจะใช้หลักการวิเคราะห์ และออกแบบระบบตามแนวทางวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) โดยระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัดได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบสารสนเทศจำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบจำนวน 20 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพระบบ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วย 7 ระบบ โดยผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานในภาพรวมของระบบ จำนวน 3 ท่าน พบว่าระบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.55 2) การประเมินผลด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบฯ จากผู้ใช้ระบบจำนวน 20 ท่าน พบว่าผู้ใช้ระบบมี ความพึงพอใจต่อระบบฯ ที่พัฒนาขึ้นในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.49</p> รัชดาภรณ์ อมรชีวิน ปิยมาส คุณพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 21 30 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253414 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัด 2) ลำปาง เพื่อพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานและการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานต่อระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง โดยประชากรที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 98 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการสำรวจข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง พบว่าจังหวัดลำปางมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงครั่งจำนวน 2,033 คน บนพื้นที่ 4,949 ไร่ โดยอำเภอที่มีเกษตรกรเพาะเลี้ยงครั่งมากที่สุดคือ อำเภอวังเหนือ 939 คน (46.19%) เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงครั่งบนต้นจามจุรี (54.48%) ผลผลิตครั่งดิบทั้งจังหวัดมีจำนวน 1,358,852.80 กิโลกรัม มีรายรับรวม 179,558,441 บาท โดยอำเภองาวมีผลผลิตสูงสุด 634,369 กิโลกรัม (46.68% ของผลผลิตรวม) รายรับ 70,838,940 บาท คิดเป็นรายรับเฉลี่ย 769,988.47 บาทต่อคน ซึ่งอำเภองาวมีเกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงครั่งบนต้นลิ้นจี่ 2) จากการออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สารสนเทศข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่ง จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลผู้ใช้ระบบ ข้อมูลต้นไม้ที่ใช้เพาะเลี้ยงครั่ง ข้อมูลพื้นที่เพาะเลี้ยงครั่ง ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงครั่ง ข้อมูลสถานีตรวจวัดอากาศ ข้อมูลการตรวจวัดสภาพอากาศ 3) การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ โดยการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลตามระดับคุณภาพมาตรการวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale) พบว่า การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ เท่ากับ 4.22 (S.D. = 0.90) และเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี พบว่ามีระดับในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 (S.D. = 0.52)</p> ชัยวุฒิ โกเมศ พิกุล แสงงาม วีรศักดิ์ ฟองเงิน สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ เยาวลักษณ์ งามแสนโรจน์ ธัญลักษณ์ งามขำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 31 45 การพัฒนาระบบการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253493 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศในการประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบเจาะจง 2) ผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัย นักศึกษาบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาปริญญาตรี ที่มาใช้บริการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ การพัฒนาระบบใช้กระบวนการพัฒนาระบบแบบ System Development Life Cycle (SDLC) โดยใช้ภาษา PHP และเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถจัดการและเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลรายการวัสดุครุภัณฑ์ที่ต้องการยืม สามารถดำเนินการยืม และตรวจสอบผลการยืม-คืนวัสดุครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้แบบออนไลน์ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.69, <em>SD</em> = 0.29) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจการในใช้งานระบบโดยผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.52, <em>SD</em> = 0.68)</p> ธันยรัศมิ์ ผุริจันทร์ บังอร ละเอียดออง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 46 61 การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253547 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างระบบการจัดการสารสนเทศสำหรับเก็บข้อมูล การแจ้งเตือน และการบำรุงรักษาเครื่องจักร (เครื่องกลึง) ของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชบุรี 2) ทดลองใช้งานระบบการจัดการสารสนเทศกับเครื่องกลึง จำนวน 10 เครื่อง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบการจัดการสารสนเทศ จำนวน 24 คน ประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิธีการดำเนินงานวิจัยโดยการสร้างแอปพลิเคชันกูเกิลชีต และแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ระบบถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบการแจ้งเตือนการบำรุงรักษาครุภัณฑ์ ทำหน้าที่แจ้งเตือนระยะการตรวจเช็คครุภัณฑ์ โดยส่งข้อมูลและรายละเอียดการตรวจเช็คไปยังแอปพลิเคชันไลน์ ระบบส่วนที่สอง คือ ระบบการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์ เมื่อผู้ใช้งานพบปัญหาการใช้งาน สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดที่ติดอยู่บนเครื่องกลึงทั้งหมด 10 เครื่อง เพื่อแจ้งรายละเอียดปัญหา จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังแอปพลิเคชันไลน์ของผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป ระบบถูกทดสอบการใช้งานโดยอาจารย์และนักศึกษาที่ใช้งานเครื่องกลึง และมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลการตรวจเช็ค และวางแผนซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ เพื่อลดการชำรุดและแก้ปัญหาเครื่องจักรขณะทำงานได้ดียิ่งขึ้น 2) ระบบที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและช่วยให้สาขาวิชาสามารถจัดการข้อมูลเอกสารการจัดซื้อและเบิกจ่ายวัสดุเพื่อการซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ผู้ทดลองใช้ระบบมีความพึงพอใจการใช้ระบบอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56</p> จักรกฤษณ์ ขันทอง ขวัญชัย หนาแน่น พิเชฐ นิลดวงดี อนุชา สายสร้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 62 78 การพัฒนาระบบนัดหมายด้วย LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253631 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาระบบการนัดหมาย 2) เพื่อพัฒนาระบบการนัดหมายด้วย LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย 3) เพื่อประเมินคุณภาพระบบการนัดหมายด้วย LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อระบบการนัดหมายด้วย LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 3 คน และผู้มารับบริการที่คลินิกแผนไทย จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาระบบการนัดหมาย พบว่าระบบการนัดหมายเดิมของคลินิกแพทย์แผนไทยคือ ผู้รับบริการสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ทางโทรศัพท์เฉพาะเวลาราชการเท่านั้น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงบริการ การเข้าถึงบริการที่มีข้อจำกัดทำให้ลดโอกาสในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย อีกทั้งการลืมวันและเวลานัดหมายของผู้ป่วยเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบเดิม ซึ่งทำให้เพิ่มภาระงานของเจ้าหน้าที่ จึงต้องการระบบนัดหมายที่เข้าถึงง่าย สะดวก และรวดเร็ว สามารถจองคิวตรวจได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสอบถาม และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคลินิกแพทย์แผนไทยได้ทาง LINE Official Account 2) ผลการพัฒนาระบบการนัดหมายด้วย LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย พัฒนาโดยการสร้างบัญชี LINE Official Account ผ่าน Glide App โดยเชื่อมฐานข้อมูลทาง Google Sheets เพื่อตรวจสอบการนัดหมาย-ของผู้รับบริการ และได้สร้าง LINE Chat bot ผ่านทาง Agent ใน Dialog flow เพื่อให้ตอบกลับข้อมูลอัตโนมัติ 3) ผลการประเมินคุณภาพระบบการนัดหมายโดยใช้ LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย พบว่าโดยภาพรวม พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D.=0.71) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการใช้งานมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.42, S.D=0.47) รองลงมาคือ ด้านการออกแบบมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.25 ,S.D=0.91) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ด้านเนื้อหา ( = 4.17, S.D = 0.76) ตามลำดับ และ 4) ผลการศึกษา ความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการนัดหมายโดยใช้ LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย พบว่าระดับความพึงพอใจต่อระบบการนัดหมายโดยใช้ LINE Official Account สำหรับผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.=0.51) โดยด้านการใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.58, S.D=0.52) รองลงมาคือ ด้านการออกแบบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56 ,S.D=0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ด้านเนื้อหามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D = 0.50) ตามลำดับ สรุปได้ว่าระบบการนัดหมายโดยใช้ LINE Official Account สำหรับคลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก อำนวยความสะดวกให้ผู้มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย สามารถเข้าถึงระบบการนัดหมายที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว และเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของคลินิกแพทย์แผนไทยได้อีกด้วย</p> พิชญ์วรา จันทร์แย้ม ซัลมี อารง ศุภรัตน์ สั่นสะท้าน อุทัย ทับทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 79 88 การยอมรับเทคโนโลยีการจับการเคลื่อนไหวแบบปัญญาประดิษฐ์ในการผลิตแอนิเมชัน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/253829 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลการยอมรับการใช้งานการจับการเคลื่อนไหวแบบปัญญาประดิษฐ์ในกระบวนการผลิตแอนิเมชัน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในภาคการผลิตแอนิเมชันและประเมินการยอมรับเทคโนโลยีด้วยแบบสอบถามนิสิตที่เรียนเรียนวิชาการจับการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 83 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า การจับการเคลื่อนไหวแบบปัญญาประดิษฐ์มีประโยชน์ ใช้งานง่าย และมีศักยภาพปฏิวัติวงการแอนิเมชันและเกมโดยเชื่อว่าจะกลายเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมในอนาคต (2) การยอมรับเทคโนโลยีจับการเคลื่อนไหวแบบปัญญาประดิษฐ์ของนิสิต 4 ปัจจัย พบว่า การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( ) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานอยู่ในระดับมาก ( ) พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานอยู่ในระดับมาก ( ) และการใช้งานจริงของระบบอยู่ในระดับมาก ( ) และทั้ง 4 ปัจจัย มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีการจับการเคลื่อนไหวแบบปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนภาคการผลิตแอนิเมชันในด้านการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างการเคลื่อนไหวที่สมจริง และคาดว่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมบันเทิงและภาพยนตร์ในอนาคต</p> วิศรุต ผลาปรีย์ สุวิช ถิระโคตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 89 101 การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสั่งซื้อก๊าซหุงต้ม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254013 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสั่งซื้อก๊าซหุงต้มและประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันที่ได้พัฒนาขึ้น แอปพลิเคชันนี้พัฒนาในรูปแบบ cross-platform ด้วยภาษา Dart ร่วมกับเฟรมเวิร์ก Flutter และจัดเก็บข้อมูลในระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL มีการรับส่งข้อมูลจากโมบายแอปพลิเคชันไปยังเซิร์ฟเวอร์ผ่าน RESTful APIs ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP ร่วมกับเฟรมเวิร์ก Slim</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมีกลุ่มผู้ใช้ระบบ 3 กลุ่ม คือ เจ้าของร้าน สามารถจัดการข้อมูลพื้นฐานเข้าสู่ระบบ ทำรายการรับออร์เดอร์ และเรียกดูรายงาน พนักงานส่งก๊าซ สามารถเรียกดูรายละเอียดการสั่งซื้อก๊าซของลูกค้าและใช้ระบบนำทางของ Google Map ไปยังที่อยู่ของลูกค้า และลูกค้า สามารถทำรายการสั่งซื้อก๊าซ/ยกเลิกการสั่งซื้อก๊าซ และสามารถติดตามการจัดส่งก๊าซของพนักงานได้ และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อการใช้งานแอปพลิเคชันพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ย 4.24 (SD.=0.64) จากผลการประเมินจึงสรุปได้ว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าให้สามารถทำรายการสั่งซื้อก๊าซหุงต้มและติดตามการจัดส่งก๊าซของพนักงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่</p> นลินี อินทมะโน ณัฐวุฒิ บุญวิสูตร สุบรรณ นกสังข์ เสรี ชะนะ ดินาถ หลำสุบ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 102 112 การพัฒนาและประเมินผลระบบสแกนค่าที่จอดรถผ่านป้ายทะเบียนรถ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/254451 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบระบบสแกนค่าที่จอดรถผ่านป้ายทะเบียนรถ 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการระบบสแกนค่าที่จอดรถผ่านป้ายทะเบียนรถ โดยระบบจะช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกรถ เวลา และค่าบริการเพื่อชำระค่าที่จอดรถให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยใช้ฐานข้อมูล MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ลดข้อผิดพลาดในการให้บริการและการคิดคำนวณค่าบริการที่จอดรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่จอดรถได้</p> <p>ผลการพัฒนาระบบสแกนค่าที่จอดรถผ่านป้ายทะเบียนรถ พบว่า สามารถใช้งานได้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนของ Admin (สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลค่าบริการที่จอดรถได้, สามารถแจ้งซ่อมเครื่องชำรุดได้, สามารถเรียกดูข้อมูลรายงานได้, สามารถออกรายงานในส่วนของค่าบริการที่จอดรถได้, สามารถสแกนทะเบียนรถเข้า-ออกที่จอดรถได้, สามารถบันทึกข้อมูลเวลาเข้า-ออกที่จอดรถได้, สามารถแสดงข้อมูลทะเบียนรถได้, สามารถคำนวณค่าที่จอดรถได้) และ User (สามารถสมัครสมาชิกได้, สามารถเข้าสู่ระบบได้, สามารถดูข้อมูลทะเบียนรถได้, สามารถดูข้อมูลค่าบริการจอดรถได้, สามารถชำระค่าที่จอดรถได้) โดยมีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับความพึงพอใจมากสุด ( =4.63) </p> สุนิ ประจิตร วีรศักดิ์ จงเลขา วันเพ็ญ เพ็งสมบูรณ์ ศานิต ธรรมศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 113 124 เว็บแอปพลิเคชันบริหารจัดการรับขนย้ายสิ่งของ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/255313 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันบริหารจัดการรับขนย้ายสิ่งของ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบเว็บแอปพลิเคชันบริหารจัดการรับขนย้ายสิ่งของ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บแอปพลิเคชันบริหารจัดการรับขนย้ายสิ่งของและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบเว็บแอปพลิเคชันการจัดการรับขนย้ายสิ่งของมีการทำงาน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1ผู้ใช้งานสามารถเลือกจุดรับ-ส่งสิ่งของ จองเวลา ประเภทรถให้บริการได้ และหน้าสรุปรายละเอียดการตกลงการให้บริการรถขนย้าย และส่วนที่ 2 ผู้ให้บริการสามารถรับงานหรือปฏิเสธการรับงานได้ และนัดขนย้ายสิ่งของ นอกจากนี้ เว็บแอปพลิเคชันสามารถเเสดงตำแหน่งจุดรับ-ส่ง สถานะเวลา ประเภทรถ ที่ผู้ใช้งานต้องการ รวมถึงหน้าสนทนากับผู้ใช้บริการ และหน้าแสดงผลเส้นทางจาก Google Map 2) จากผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 3.51, S.D.= 1.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( = 3.45, S.D.=1.34) ด้านความสะดวกและสวยงาม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = 3.65, S.D.=0.89) ด้านคุณภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ( = 3.44, S.D.=0.92)</p> กาญจนา คำสมบัติ ปิยะ ผลเหลือ วิไลลักษณ์ กาประสิทธ์ อนุวัต ขัยเกียรติธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 125 136 การออกแบบและประเมินองค์ประกอบของแอปพลิเคชันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/255603 <p>This study is designed to create and evaluate the components of a “Prototype application for adjusting risky behavior of office syndrome” The study employs a mixed approach incorporating gamification concepts in the design. The objectives are: 1) Study the components of an application to adjust risky behavior of office syndrome using gamification. 2) Study the need for an application to change users' risky behavior. The sample group includes support personnel. Faculty of Information Science, 78 people, which were obtained through purposive selection., and 3) to assess the suitability of the prototype application's components. The sample consists of 78 support staff members from the Faculty of Information Science, selected purposively. The research tools include: 1) a component analysis table, 2) a user requirements questionnaire, and 3) a suitability evaluation form for the prototype application components. Data analysis is conducted using percentages, means, and standard deviations.</p> <p> The results show that: 1) Gamification functions incorporated into the design are one of the components of an application that uses gamification. establishing use goals (Goal), assessing behavior levels (Level), determining rewards (Reward), establishing app rules (Rules), rating competitors (Competition), timing of notifications (Time), and response (Feedback). The button shape in the design is rounded, and the color tone is pleasing to the sight. The program is easy to navigate thanks to its layout. 2) The 78 target group members (32 males, representing 41%, and 46 females, representing 59%) expressed a 100% demand for the behavioral adjustment application. 3) The quality assessment by 5 application experts revealed that the prototype application's quality is at a very good level (𝑥̅ = 4.56, S.D. = 0.50). The results of evaluating the suitability of this component Can be used to design and develop applications to change risk behaviors of office syndrome. This research shows the use of gamification elements. That has the effect of creating motivation and stimulating users to be able to change the risky behavior of Office Syndrome in the future.</p> คชากฤษ เหลี่ยมไธสง พลาธิป ลุนคุณ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 137 150 การออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการพูด สำหรับเด็กออทิสติก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/255622 <p>การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบที่เหมาะสมของเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก 2) เพื่อออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ตามองค์ประกอบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก และ 3) เพื่อประเมินผลการออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับเด็กออทิสติก&nbsp; และแบบประเมินความเหมาะสมของการออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS)</p> <p>ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบที่เหมาะสมของเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบหลักส่วนที่ 1 ด้านเกมแอปพลิเคชัน มีองค์ประกอบย่อย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกแบบระบบควบคุมเกม, การออกแบบกราฟิกในเกม, การออกแบบการกฎข้อบังคับภายในเกม, แรงจูงใจ, ความท้าทาย, การเพิ่มความสามารถให้ผู้เล่น, การกำหนดเป้าหมาย, การสะท้อนกลับ, การมีส่วนร่วม และเนื้อหา &nbsp;องค์ประกอบหลักส่วนที่ 2&nbsp; ด้านวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) มีองค์ประกอบย่อย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเริ่มใช้ภาพแลกเปลี่ยน การเพิ่มระยะทางในการแลกเปลี่ยนภาพ การแยกแยะภาพ การสร้างประโยค การตอบคำถามแสดงความต้องการ และการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น 2) ผลการออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ตามองค์ประกอบที่เหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กออทิสติก พบว่า&nbsp; กระบวนการออกแบบครบถ้วนและสอดคล้องกับองค์ประกอบหลักทั้งสองส่วน&nbsp; 3) &nbsp;การประเมินผลการออกแบบเกมแอปพลิเคชันร่วมกับวิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> คชากฤษ คชากฤษ เหลี่ยมไธสง พิษณุ หอมหวาน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 151 164 ระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/256758 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส และ 3) เพื่อสร้างการยอมรับการใช้งานระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายจัดการคำสั่งซื้อ จำนวน 10 คน พนักงานขับรถขนส่ง จำนวน 20 คน และพนักงานฝ่ายจัดการคำสั่งซื้อ จำนวน 25 คน รวม 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส 2) แบบประเมินการยอมรับการใช้งานระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายสำหรับโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส การพัฒนาระบบฯใช้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Waterfall Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบระบบ พัฒนาระบบ ทดสอบ และนำระบบไปใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ผลการประเมินการยอมรับการใช้งานของระบบฯ ที่พัฒนาขึ้น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยโมดูลสำคัญ ได้แก่ โมดูลการจัดการข้อมูลลูกค้า การจัดการคำสั่งซื้อ การวางแผนเส้นทาง การติดตามสถานะการขนส่ง และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการขนส่ง การประเมินประสิทธิภาพระบบพบว่าผลลัพธ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.73) โดยเฉพาะด้านความแม่นยำในการติดตามรถบรรทุกและการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนใช้งานที่ได้รับคะแนนสูงสุด ส่วนผลการประเมินการยอมรับการใช้งานพบว่า ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน (ค่าเฉลี่ย 4.55) โดยผู้ใช้งานมีความพึงพอใจและยอมรับต่อความง่ายและประโยชน์ของระบบ สรุปได้ว่า ระบบบริหารจัดการการขนส่งทรายในโรงงานผลิตทรายอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี GPS ที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดต้นทุน และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถนำไปต่อยอดในงานวิจัยและการพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่นได้ในอนาคต</p> ณัฐฐิณี คงไกรฤกษ์ กาญจนา ส่งสวัสดิ์ ยุวดี โฉมแดง แสงทอง บุญยิ่ง ณัฐภัสสร เกียรติพีรติกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 165 176 ส่วนท้าย10(2)2024 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/257271 <p>ส่วนท้าย10(2)2024</p> ปิยศักดิ์ ถีอาสนา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" 2024-12-27 2024-12-27 10 2 175 180