วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวารสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทรรศน์ ที่มีคุณภาพโดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำเสนอแนวคิด นวัตกรรม และผลงานวิจัยใหม่ทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวข้องกับงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โลจิสติกส์ ไฟฟ้ากำลัง เครื่องกล โยธา อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหการ การผลิต การจัดการและโลจิสติกส์ เป็นต้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมเซรามิกส์ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และครุศาสตร์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังรวมถึงงานวิจัยที่มีการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ</p> Faculty of Industrial Technology Pibulsongkram Rajabhat University th-TH วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2697-5602 การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อย ด้วยกระบวนการไมโครอิมัลชัน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/250062 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมที่เป็นไมโครอิมัลชันระหว่างการผสมน้ำมันดีเซล B7 กับน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารลดแรงตึงผิว และหาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงผสมที่ได้จากการทำไมโครอิมัลชันเทียบกับน้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อย โดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากชานอ้อยซึ่งได้ปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการไมโครอิมัลชันที่ผสมสารลดแรงตึงผิวสัดส่วน 5%v/v-20%v/v กับน้ำมันดีเซล B7 สัดส่วน 50%v/v-90%v/v งานวิจัยนี้จะศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงผสม ได้แก่ ค่าองค์ประกอบทางเคมี ค่าความร้อน ค่าความหนาแน่น ค่าความหนืดเชิงจลน์ และจุดวาบไฟ จากการทดลองพบว่าสัดส่วนที่เหมาะสมในการผสมน้ำมันดีเซล B7 น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารลดแรงตึงผิวมี 2 สัดส่วน คือ สัดส่วนที่ 1 ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล B7 55%v/v :น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ 25%v/v :สารลดแรงตึงผิว 20%v/v สัดส่วนที่ 2 ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล B7 50%v/v :น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ 30%v/v :สารลดแรงตึงผิว 20%v/v จากการศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงผสม ได้แก่ ค่าความร้อน ค่าความหนาแน่น ค่าความหนืดเชิงจลน์ และจุดวาบไฟ พบว่าเมื่อทำการเปรียบเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ น้ำมันเชื้อเพลิงผสมทั้งสองสัดส่วนจะมีความหนืดต่ำกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ส่วนค่าความร้อนจะสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ เพราะตัวอย่างทั้งสองสัดส่วนจะมีน้ำมันดีเซล B7 ผสมอยู่ เมื่อนำน้ำมันเชื้อเพลิงผสมทั้งสองสัดส่วนเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซล B7 พบว่าทั้งสองสัดส่วนจะมีความหนืดสูงกว่าน้ำมันดีเซล B7 เพราะตัวอย่างทั้งสองมีน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีความหนืดสูงผสมอยู่ แต่มีค่าความร้อน ค่าความหนาแน่น และจุดวาบไฟใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล B7</p> วุฒิกร จิตจักร รัชพล สันติวรากร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-02-07 2024-02-07 6 1 1 14 การออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปก้อนมะขามเปรี้ยวปรุงรส สำหรับกลุ่มผู้ผลิตมะขามจังหวัดเพชรบูรณ์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/250561 <p> งานวิจัยนี้เน้นการออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปก้อนมะขามเปรี้ยวปรุงรสสำหรับกลุ่มผู้ผลิตมะขามในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตัวเครื่องประกอบด้วยชุดด้ามขึ้นรูป ชุดสปริงดันด้ามขึ้นรูป และชุดฐานเครื่อง ขนาดเครื่องทั้งหมด คือ 200 x 305 x 386 มม. ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในออกแบบและพัฒนาเครื่อง โดยปริมาณการผลิตเครื่องที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานเร็วขึ้น 1.8 เท่า คิดเป็น 83.3% เมื่อเทียบกับเครื่องเดิม ขนาดก้อนมะขามหลังการขึ้นรูปเฉลี่ยเปลี่ยนไปคิดเป็นกว้างเพิ่มขึ้น 102.8 % ยาวลดลง 95.1 % และสูงเพิ่มขึ้น 102.8 % และแรงที่ใช้ในการขึ้นรูปเฉลี่ยประมาณ 3.6 นิวตัน การพัฒนาเครื่องยังช่วยเพิ่มความสะดวกในกระบวนการบรรจุหีบห่อ โดยก้อนมะขามหลังการขึ้นรูปมีเหลี่ยมวัสดุที่เข้ารูปและไม่คลายตัว ทำให้การบรรจุเข้ากล่องเป็นไปอย่างสะดวกและสวยงาม</p> ศักดิ์ศิริชัย ศรีสวัสดิ์ บุญสิน นาดอนดู่ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-02-13 2024-02-13 6 1 15 26 ระบบลำเลียงและจัดเรียงชิ้นงานอัตโนมัติด้วยระบบ IOT https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/252871 <p> เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรม 4.0 ในด้านการเพิ่มผลิตภาพ ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ และลดต้นทุนโดยเฉพาะกระบวนการทำงานซ้ำ เช่น การจัดเรียงสินค้า มีแนวโน้มที่จะนำแขนกลมาทำงานแทนพนักงาน ปัจจุบันยังมีการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งระดับอุตสาหกรรมร่วมกับระบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบ ควบคุม และรวมรวมข้อมูลระบบการผลิต วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการบูรณาการระบบลำเลียงและจัดเรียงชิ้นงานอัตโนมัติที่ประกอบด้วยกลไกป้อนชิ้นงาน สายพานลำเลียง แขนกล ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งระดับอุตสาหกรรม และพีแอลซี ซึ่งเป็นการผสมผสานใช้งานแขนกลและอุปกรณ์ควบคุมระดับอุตสาหกรรมกับกลไกป้อนชิ้นงานที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์อาดุยโน่เป็นสมองกลฝังตัว ผลการทดสอบระบบประสานการทำงานระหว่างชุดกลไกป้อนชิ้นงานและสายพานลำเลียงกับแขนกลจัดเรียงชิ้นงานทรงกระบอกบนพาเลทจำนวน 6 ชิ้น วางเรียงกันจำนวน 3 แถว ผ่านการสั่งงานระบบผ่านสวิตช์ปุ่มกดและส่วนประสานงานผู้ใช้บนระบบบนคลาวด์สกาดา พบว่าระบบสามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้ด้วยรอบเวลาของกระบวนการเฉลี่ยเท่ากับ 116 วินาที และลดลงเหลือ 98 วินาที โดยค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยที่มากที่สุดจากการวางชิ้นงานอยู่ที่ 0.1 มิลลิเมตร ทั้งในแนวแกนนอน (แกน x) และในแนวแกนตั้ง (แกน y) เมื่อปรับความเร็วของแขนกลจากร้อยละ 25 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 </p> ภูมิพัฒน์ ก๋าคำ เสกสรรค์ สุชัยพร ชัชวาล มงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-06 2024-03-06 6 1 27 39 การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลำพุก จังหวัดสุรินทร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/251220 <p> งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการจัดการความรู้ในการบริหารจัดการพลังงานทดแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายระบบพลังงานไฟฟ้าของชุมชนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกิจกรรมการวิเคราะห์ระบบพลังงานทดแทนปัจจุบันและความต้องการของชุมชน กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ในการบริหารจัดการพลังงานทดแทนแก่ชุมชน และกิจกรรมการออกแบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยใช้หลักการ Total productive maintenance (TPM) และจัดทำคู่มือการดูแลรักษาเชิงป้องกันที่ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการต่อด้วยตนเองได้และชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากโซล่าฟาร์มได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าของชุมชนในระยะยาวและสามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย</p> ศิวพร แน่นหนา ธาริณี มีเจริญ ศุภวิช นิยมพันธุ์ พงศ์ไกร วรรณตรง นิศานาถ แก้ววินัด ชลิตา แก้วบุตรดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-06 2024-03-06 6 1 40 55 การลดต้นทุนพลังงานในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่นด้วยระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/248941 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีโอทูบับเบิ้ลของระบบการเติมอากาศหมุนเวียนออกซิเจนในน้ำ ใช้เป็นแนวทางสำหรับการลดต้นทุนพลังงานในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น ทำการเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานระหว่างระบบที่ไม่ใช้พลังงานทางเลือกกับระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จนถึงเดือนมกราคม 2566 ซึ่งภาระโหลดทางไฟฟ้า ที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ใช้กับโหลดขนาด 1.5 kW และ 2) ใช้กับโหลดขนาด 1.1 kW ซึ่งโหลดแต่ละส่วนจะใช้งานต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง และสลับกันทำงานวันเว้นวัน จากการทดสอบการวัดปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ พบว่า เดือนสิงหาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 278 kWh คิดเป็น 24.82% ของพลังงานที่ใช้, เดือนกันยายน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 283 kWh คิดเป็น 25.27% ของพลังงานที่ใช้, เดือนตุลาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 276 kWh คิดเป็น 24.64% ของพลังงานที่ใช้, เดือนพฤศจิกายน สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้เท่ากับ 274 kWh คิดเป็น 32.62% ของพลังงานที่ใช้, เดือนธันวาคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้เท่ากับ 305 kWh คิดเป็น 36.31% ของพลังงานที่ใช้ และเดือนมกราคม สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 293 kWh คิดเป็น 34.88% ของพลังงานที่ใช้ จากการเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานไฟฟ้าของระบบการเติมอากาศในกระบวนการคัดแยกสาหร่ายพวงองุ่น หลังการติดตั้งระบบไฮบริดโซลาร์อินเวอร์เตอร์ กรณีใช้กับโหลดขนาด 1.5 kW พบว่า เกิดการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เฉลี่ยเท่ากับ 25.74% และกรณีใช้กับโหลดขนาด 1.1 kW พบว่า เกิดการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เฉลี่ยเท่ากับ 36.11%</p> กมลวรรณ วงศ์วุฒิ ดวงกมล อังอำนวยศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-14 2024-03-14 6 1 56 71 การออกแบบเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้สำหรับที่พักอาศัยพื้นที่จำกัด https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/251971 <p> การออกแบบเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้ สำหรับที่พักอาศัยพื้นที่จำกัด มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้ สำหรับที่พักอาศัยพื้นที่จำกัด และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายสำหรับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้ สำหรับที่พักอาศัยพื้นที่จำกัด เป็นแนวทางในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้และตอบสนองให้ผู้ใช้มีสะดวกสบายประหยัดพื้นที่การใช้งานมากขึ้น ก่อนการออกแบบผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทราบถึงความต้องการการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่จำกัด ซึ่ง 5 ลำดับแรกที่กลุ่มเป้าหมายต้องการให้เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์มีการใช้งานประกอบด้วย โต๊ะทำงาน ชั้นวางของ โต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะทานข้าว และโต๊ะรีดผ้า จากนั้นจึงทำการออกแบบร่างผลิตภัณฑ์โดยมีแนวความคิดในการออกแบบมาจากรถแคมเปอร์แวน (Campervan) 3 รูปแบบคือ แบบ A รถฟิบวีลเทรลเลอร์ (Fifth – wheel trailer) แบบ B รถเทียร์ดรอปเทรลเลอร์ (Teardrop trailer) และแบบ C รถคลาสซีมอเตอร์โฮม (Class C motorhome) นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านประเมินเพื่อคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลการประเมินด้านการออกแบบมีความคิดเห็นตรงกัน คือ รูปแบบ A ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสุงที่สุด คือ <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.86 ค่า S.D. 0.57 ผู้วิจัยได้นำรูปแบบผลิตภัณฑ์ A ไปผลิตจริงเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากนั้นจึงนำไปประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามแบบเจาะจง พบว่า ด้านหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงาม ด้านความแข็งแรง และด้านวัสดุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ อยู่ที่ระดับมาก สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องการออกแบบเฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์จากอะไหล่รถยนต์เหลือใช้ สำหรับที่พักอาศัยพื้นที่จำกัด อยู่ในระดับมาก</p> ณัฐธิดา จงรักษ์ จักรพันธ์ จันทร์ไพโรจน์ ทัตพงศ์ คาดสันเทียะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-31 2024-03-31 6 1 72 80 อิทธิพลของอุณหภูมิต่อการอบแห้งขมิ้นชันโดยใช้เทคนิคสุญญากาศ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/251862 <p> วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งขมิ้นชันและคุณภาพของขมิ้นชันหลังการอบแห้ง โดยอบแห้งขมิ้นชันด้วยเทคนิคผสมผสานอินฟราเรดร่วมกับสุญญากาศที่ความดันสัมบูรณ์ 10 kPa และอุณหภูมิ 40 50 60 และ 70<sup> o</sup>C จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการลดความชื้นของขมิ้นชัน ทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะลดลง โดยการอบแห้งขมิ้นชันที่ความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 627.2% d.b. จนมีความชื้นสุดท้ายร้อยละ 11.80 %d.b. ที่อุณหภูมิอบแห้ง 70 <sup>o</sup>C จะใช้เวลาอบแห้งน้อยที่สุด 180 min และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะน้อยที่สุด 1.7 MJ/g <sub>water evaporated</sub> สำหรับด้านคุณภาพพบว่า เมื่ออุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้นขมิ้นชันจะมีค่าความสว่างและสีแดงเพิ่มขึ้น แต่สีเหลืองมีค่าลดลง และที่อุณหภูมิอบแห้ง 50<sup> o</sup>C จะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสีโดยรวมน้อยที่สุด ส่วนปริมาณน้ำอิสระมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกการทดลอง นอกจากนี้ที่อุณหภูมิอบแห้ง 60 <sup>๐</sup>C ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (IC<sub>50</sub>=0.82 mg/ml) และปริมาณฟีนอลิกรวมทั้งหมดสูงสุด 155.83 mgGAE/g</p> วีรนุช บูรณะ เอกภูมิ บุญธรรม วิริยา นิตย์ธีรานนท์ จิรวัฒน์ สิตรานนท์ กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-31 2024-03-31 6 1 81 95 ความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีส่วนผสมของเถ้าพืช https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/252330 <p> วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าพืชเป็นส่วนผสม และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความแข็งแรงของเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่ไม่มีเถ้าพืชและมีเถ้าพืชผสมอยู่ วัตถุดิบที่กำหนดคือ ดินเหนียวทะเลแก้ว เถ้าแกลบ เถ้ายางพารา และเถ้าต้นข้าวโพด กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3 กลุ่ม เตรียมวัตถุดิบ ชั่งวัตถุดิบและบดผสมให้เข้ากัน ขึ้นรูปด้วยการอัดแบบ เผาในอุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยพบว่า เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาจากดินเหนียวทะเลแก้ว มีความแข็งแรง 148.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าต้นข้าวโพดเป็นส่วนผสมมีความแข็งแรงสูงสุดคือ 288.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้าต้นข้าวโพดผสมอยู่ร้อยละ 25 ของวัตถุดิบ เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้ายางพาราเป็นส่วนผสมมีความแข็งแรงสูงสุดคือ 216.7 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้ายางพาราผสมอยู่ร้อยละ 12.5 ของวัตถุดิบ และ เนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าแกลบเป็นส่วนผสมมีค่าความแข็งแรงสูงสุดคือ 79 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีปริมาณเถ้าแกลบผสมอยู่ร้อยละ 2.5 ของวัตถุดิบ เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงกับเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาจากดินเหนียวทะเลแก้ว พบว่าเนื้อดินเซรามิกส์ประเภทเทอราคอตตาที่มีเถ้าแกลบผสมมีความแข็งแรงต่ำกว่ากลุ่มที่มีเถ้ายางพาราและเถ้าต้นข้าวโพดผสมอยู่ ซึ่งมีความแข็งแรงที่สูงกว่า โดยค่าความแข็งแรงที่แตกต่างกันยังขึ้นอยู่กับปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของเถ้าพืชแต่ละชนิด อุณหภูมิที่เผา การขึ้นรูป และปริมาณของเถ้าพืชในส่วนผสม โดยส่วนผสมที่กล่าวมาข้างต้นสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง และเป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำวิจัยครั้งต่อไปได้</p> ทนารัช จิตชาญวิชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-03-31 2024-03-31 6 1 96 109 การหาคำตอบที่ดีที่สุดของที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้จังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/252548 <p> การเลือกที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ สำหรับสินค้าผักและผลไม้จากแต่ละอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการหาคำตอบที่ดีที่สุดของที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เกิดต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุดและใช้ระยะเวลาโดยรวมน้อยที่สุด และประยุกต์ใช้เอ็กเซลโซลเวอร์ (Excel solver) สำหรับการประมวลผล ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ประกอบด้วย ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณความจุศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณผลผลิตผักและผลไม้ ระยะทาง และเวลา ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ด้านต้นทุนโดยรวม ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และลับแล โดยมีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุด คือ 46,066,154 บาท/ปี ในขณะที่ด้านระยะเวลา ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ ได้แก่ ทุกอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีระยะเวลาโดยรวมน้อยที่สุด คือ 45,344 นาที/ปี ซึ่งจะพบว่า มีพื้นที่ 5 อำเภอที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าผักและผลไม้ จากทั้งปัจจัยด้านต้นทุนโดยรวมและด้านระยะเวลาโดยรวม ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และอำเภอลับแล</p> รัตน์ติยากร มีรัตน์ บุญทรัพย์ พานิชการ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-04-12 2024-04-12 6 1 110 124 แบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็มสำหรับการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/psru-jite/article/view/252101 <p> อาหารสัตว์ที่ทำจากข้าวโพด เป็นอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีคุณภาพสูงและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในการผลิตอาหารสัตว์ที่ทำจากข้าวโพด ปัญหาหลัก คือ การขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อมาทำการผลิต นั่นคือ ต้นข้าวโพด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ช่วยทำให้การจัดหาวัตถุดิบเพื่อการผลิตสำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ทำจากข้าวโพดนั้นดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม (Mixed integer linear programming: MILP) เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรรถบรรทุก พร้อมทั้งช่วยในการตัดสินใจด้านการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นที่ต่ำที่สุด ประกอบด้วย ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการจัดหาวัตถุดิบ อีกทั้งยังมีการพิจารณาด้านความต้องการวัตถุดิบ ความต้องการของลูกค้า แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ความสามารถในการผลิต และการตัดสินใจด้านการวางแผนการขนส่งด้วยยานพาหนะที่หลากหลาย แบบจำลองที่ถูกนำเสนอนั้นได้ถูกทดสอบด้วยการใช้ข้อมูลจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ทำจากต้นข้าวโพดในจังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย ในงานวิจัยนี้ได้ใช้ Microsoft excel solver ในการค้นหาคำตอบ ผลลัพธ์ที่ได้ พบว่า ต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุด คือ 318,757.60 บาท ซึ่งแบ่งเป็นต้นทุนในการขนส่งต้นข้าวโพดสดจากพื้นที่ปลูกมายังโรงงาน คือ 7,507.60 บาท และต้นทุนในการซื้อต้นข้าวโพดสด คือ 311,250 บาท โดยสรุปแบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็มที่งานนี้ได้นำเสนอ สามารถใช้หารูปแบบของการขนส่งที่ทำให้เกิดต้นทุนที่เหมาะสมและมีความถูกต้องที่จะนำไปปรับใช้กับปัญหาในสถานการณ์จริงได้</p> กัญญาณัฐ น่วมอิ่ม ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2024-04-12 2024-04-12 6 1 125 135