https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/issue/feed วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ 2024-06-28T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก บุญธรรม utk_research_journal@mail.rmutk.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ <strong>Print</strong> <strong>ISSN</strong> 1906-0874 <strong>Online</strong> ISSN 2651-2130 สาขาวิชาของวารสารสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการจัดทำวารสารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมากกว่า 9 ปี จนถึงปัจจุบันเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน ซึ่งเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ และมีการดำเนินงานจัดพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บทความวิจัยและบทความวิชาการ</p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/251812 ประสิทธิผลของการทำนายจำนวนผู้ป่วยในจากโรคอ้วนด้วยทฤษฎีระบบเกรย์ 2024-06-20T13:32:28+07:00 วณิชชา วิวัฒน์บุตรสิริ vadhana.j@ptu.ac.th วรรษธรา ธรรมชูโต vadhana.j@ptu.ac.th วัฒนา ชยธวัช vadhana.j@ptu.ac.th ทวิช พรหมพิทักษ์กุล vadhana.j@ptu.ac.th <p>ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและมะเร็ง จำนวนผู้ป่วยในจากโรคอ้วนในแต่ละปีแสดงถึงผลกระทบจากภาวะอ้วนโดยตรง การนำข้อมูลผู้ป่วยในจากโรคอ้วนจำนวน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) จากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาทำการพยากรณ์ด้วยตัวแบบเกรย์ GM(1,1), GM(1,1) แบบขยาย (GM(1,1)E) และ GM(1,1) แบบขยายปรับค่าตามรอบ (GM(1,1)EPC) พร้อมทั้งทำคำนวณความแม่นยำ ผลปรากฏว่า GM(1,1)EPC ให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดและมีความแม่นยำเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีตมากที่สุด โดยค่าพยากรณ์ของ ปี พ.ศ. 2565 คือ จะมีผู้ป่วยในจากโรคอ้วนถึง 49,952 คน เมื่อเทียบค่าจริงของปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.77 ซึ่งก็จะเป็นการคาดการณ์ขั้นสูง เพื่อให้มีการจัดเตรียมงบประมาณพร้อมรับผู้ป่วยในที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนตัวแบบ GM(1,1) และ GM(1,1)E กลับให้ค่าพยากรณ์ปี พ.ศ. 2565 เพียง 40,875 และ 40,082 คนตามลำดับ ต่ำกว่าปี พ.ศ. 2564 คือลดลงร้อยละ -7.72 และ -9.51 ตามลำดับ การเปรียบเทียบกับข้อมูลจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำให้ทราบถึงประสิทธิผลของการใช้ตัวแบบเกรย์ในการพยากรณ์อนุกรมเวลาต่อไป </p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/251826 การปฏิบัติการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสานสำหรับ ระบบกักเก็บพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม 2024-06-12T15:56:47+07:00 ปพน งามประเสริฐ papon@ieee.org ณรงค์พันธ์ รุ่งเจริญ nattachote.r@rmutp.ac.th ชุมพล ศิริวัฒนสิทธิ์ nattachote.r@rmutp.ac.th กันต์ วุฒิพฤกษ์ nattachote.r@rmutp.ac.th สาคร วุฒิพัฒนพันธุ์ nattachote.r@rmutp.ac.th นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ nattachote.r@rmutp.ac.th <p>บทความนี้นำเสนอการปฏิบัติการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสานสำหรับระบบกักเก็บพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นระยะเวลา 6 เดือน กรณีศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่ 1. การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน 2. การอัดและคายประจุระบบกักเก็บพลังงาน 3. โหลดกับความสัมพันธ์ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน 4. โหลดสำรองกับความสัมพันธ์ของระบบกักเก็บพลังงาน ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสานกำลังการผลิต 149.80 kWp ผลลัพธ์พบว่าโหลดแบ็คอัพเฉลี่ย คือ 4,793.42 kWh ผลลัพธ์พบว่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทำงานสัมพันธ์กับระบบกักเก็บพลังงาน สามารถจ่ายพลังงานให้แก่โหลดได้อย่างสมดุล</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/253123 ความสามารถในการกำจัดโลหะ และโลหะหนัก จากน้ำบาดาลของถ่านกัมมันต์จากทางปาล์ม 2024-06-17T14:54:08+07:00 สุนารี บดีพงศ์ sunaree.b@psu.ac.th พลชัย ขาวนวล sunaree.b@psu.ac.th นพดล โพชกำเหนิด sunaree.b@psu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำบาดาลพื้นที่ ต.บางเขียด อ.สิงหนคร จ.สงขลา ก่อนและหลังการกรองด้วยถ่านกัมมันต์ทางปาล์ม โดยเตรียมถ่านกัมมันต์จากถ่านทางปาล์ม แล้วนำมากระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก เข้มข้น 85% เวลาในการกระตุ้น 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ 400 ºC อัตราส่วนโดยมวลของถ่านต่อ`ปริมาตรกรดฟอสฟอริกเท่ากับ 1 : 3 และนำไปทดสอบการกรองน้ำบาดาล ผลการทดสอบในน้ำก่อนกรอง ความเข้มข้นของ Fe ในแหล่งน้ำ A และ B ต่ำกว่ากว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (1.0 mg/L) ส่วน C และ D มีค่าสูงกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุดคือ 2.330 และ1.657 mg/L ตามลำดับ Mn ตรวจไม่พบในแหล่งน้ำ A ส่วนในแหล่งน้ำ B C และ D มีค่าสูงกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (0.5 mg/L) เท่ากับ 1.589, 1.295 และ 0.964 mg/L ตามลำดับ Zn ในแหล่งน้ำบาดาล A B C และ D มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์อนุโลมสูงสุด (15 mg/L) ตรวจไม่พบ Cu Cd และ Pb ในแหล่งน้ำ A B C และ D หลังกรองความเข้มข้นของ Fe Mn Zn Cu Cd และ Pb เพิ่มขึ้นทุกแหล่ง ผลการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวด้วย SEM เมื่อกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกสภาพพื้นผิวด้านข้างจะเปลี่ยนไป ปริมาณกรดที่สูงเกินไปทำให้โครงสร้างรูพรุนถูกทำลายและสูญเสียความสามารถในการดูดซับ ส่วนบริเวณภาคตัดขวางไม่มีการทำปฏิกิริยา อีกทั้งผลการทดสอบ XRF พบ Fe Mn Cu ปนเปื้อนในถ่านทางปาล์ม มีผลให้น้ำบาดาลทั้ง 4 แหล่งมีปริมาณของโลหะ และโลหะหนักเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านกระบวนการกรองด้วยถ่านกัมมันต์ทางปาล์ม</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/252954 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด 2024-05-21T10:59:39+07:00 ศวิตา ทองขุนวงศ์ sawiphak2424@gmail.com ภัคพล สวัสกมล Sawiphak2424@gmail.com <p>จุดมุ่งหมายของงานวิจัยในครั้งนี้คือ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบสำหรับการจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง ประกอบด้วย 5 ตัวแบบ ได้แก่ ตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจ ตัวแบบป่าสุ่ม ตัวแบบนาอีฟเบย์ ตัวแบบเคเนียร์เรสเนเบอร์ และ ตัวแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเว็บไซต์ Kaggle.com จำนวน 309 ข้อมูล และใช้ค่าความแม่นยำเป็นตัวเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบสำหรับการจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด คือ ตัวแบบป่าสุ่ม มีค่าความแม่นยำมากสุด คือ 90.32% ส่วนตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจ ตัวแบบนาอีฟเบย์ ตัวแบบเคเนียร์เรสเนเบอร์ และตัวแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน มีค่าความแม่นยำในการจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เท่ากับ 87.10%, 83.87%, 80.65% และ 87.10% ตามลำดับ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/252926 อิทธิพลของรูปแบบการเชื่อมที่มีผลต่อความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมสูง Fe-16Cr-2Mo ที่มีการเติมซิลิคอน 2024-05-16T13:52:18+07:00 กฤช รุนรักษา krit.runruksa@gmail.com สำเภา โยธี sumpao.yo@rmuti.ac.th ปริญญวัตร ทินบุตร parinyawat.ti@rmuti.ac.th นายพิสิฐชัย โคสะสุ pisizchai.k@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของชั้นแนวเชื่อมที่ส่งผลต่อสมบัติความแข็งของเหล็กหล่อโครเมียมที่มีการเติมซิลิคอน 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมพอกแข็งชิ้นงานที่เสียหาย ชิ้นทดลองถูกนำไปอบอ่อนที่อุณหภูมิ 950 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยชิ้นงานสำหรับทดลอง 4 รูปแบบ จะถูกเชื่อมด้วยลวดเชื่อม MG 750 W และลวดเชื่อม 450 R จากนั้นทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์และวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค ผลการทดลองพบว่าการเชื่อมแบบหนึ่งชั้นและแบบสองชั้นแนวเชื่อมด้วยลวดเชื่อม 450R พบโครงสร้างคาร์ไบด์ชนิด M<sub>7</sub>C<sub>3</sub> และ M<sub>23</sub>C<sub>6</sub> ซึ่งให้ค่าความแข็งที่สูงกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อม 750 W ที่พบคาร์ไบด์ส่วนใหญ่เป็นชนิด M<sub>23</sub>C<sub>6</sub> การเชื่อมแบบสองชั้นส่งผลให้ค่าความแข็งบริเวณเขตกระทบร้อนมีแนวโน้มที่สูงกว่าการเชื่อมแบบชั้นเดียวเนื่องจากการที่เขตกระทบร้อนได้รับความร้อนซ้ำจากการเชื่อมเทียบได้กับกระบวนการอบคืนตัว เกิดการตกตะกอนของคาร์ไบด์ (Carbide precipitation) บริเวณเนื้อพื้น ในส่วนของชนิดวัสดุตามปริมาณซิลิคอนที่เติม พบว่าความแข็งเพิ่มขึ้นในชิ้นงานที่เติมซิลิคอน 0.5 – 1.5 เปอร์เซ็นต์ และค่าความแข็งลดลงเมื่อปริมาณซิลิคอนเพิ่มขึ้นเป็น 2% ทั้งบริเวณเนื้อโลหะเชื่อมและบริเวณเขตกระทบร้อน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/253494 การปรับปรุงกระบวนการผลิตบ้านไม้สำเร็จรูปด้วยแนวคิดการผลิตแบบลีน 2024-05-02T12:30:21+07:00 ชลิดา อุดมรักษาสกุล chalida.b@rmutp.ac.th ชลากร อุดมรักษาสกุล chalakorn.u@rmutp.ac.th นิวัฒน์ชัย ใจคำ niwatchai@rmutl.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตบ้านไม้สำเร็จรูปและลดมูลค่าการเสียโอกาสในการขายให้กับบริษัทกรณีศึกษา จากข้อมูลยอดขายของบริษัทฯ พบว่า ไม่สามารถผลิตบ้านไม้สำเร็จรูปส่งให้กับลูกค้าได้ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ทำให้สูญเสียโอกาสในการขาย 1,836,000 บาทต่อปี คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีนในการระบุความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ประยุกต์ใช้สายธารแห่งคุณค่าในการทำให้เห็นกิจกรรมการไหลในกระบวนการผลิตตั้งแต่รับวัตถุดิบเข้าจนไปถึงการส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค และประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตบ้านไม้สำเร็จรูป ผลการดำเนินการพบว่า สามารถลดกระบวนการผลิตได้ 9 ขั้นตอน สามารถลดเวลาการผลิตได้ 13 วันต่อหลัง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ 2 หลังต่อปี และสามารถลดมูลค่าการเสียโอกาสในการขายได้ 1,224,000 บาทต่อปี</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/253496 การลดมูลค่าของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรทางการเกษตร 2024-05-01T15:29:02+07:00 นิวัฒน์ชัย ใจคำ niwatchai@rmutl.ac.th ชลิดา อุดมรักษาสกุล chalida.b@rmutp.ac.th ชลากร อุดมรักษาสกุล chalakorn.u@rmutp.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางในการลดของเสีย และลดมูลค่าของเสียของผลิตภัณฑ์ Frame Com Front NC131 ให้กับ บริษัทกรณีศึกษา จากการศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์บริษัทฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์ Frame Com Front NC131 ประเภทงานเสริมซิม T. 1.0 mm. มีมูลค่าของเสียมากที่สุดอยู่ที่ 304,800 บาทต่อเดือน คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกม่า (DMAIC) และหลักการ ECRS ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลการดำเนินงาน ได้แนวทางในการลดของเสียของผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1) กำหนดระยะเผื่อในการตัดวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตวัตถุดิบ 2) กำหนดให้พนักงานตรวจวัดวัตถุดิบที่ส่งมาจากผู้ผลิตวัตถุดิบทุกรุ่น 3) ออกแบบคู่มือการปฏิบัติงานใหม่ แล้วอบรมให้พนักงาน 4) ออกแบบและสร้าง JIG ช่วยในการตรวจสอบความกว้างของช่องงานเสริมซิมทั้งด้านหัวและด้านท้ายของชิ้นงาน 5) ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน เมื่อดำเนินงานตามแนวทางแล้วสามารถลดมูลค่าของเสียลงได้ 235,200 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 77.17 และสามารถลดเวลาในกระบวนการผลิตได้ 27.5 วินาทีต่อชิ้น คิดเป็นร้อยละ 12.33</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/251931 เครื่องคัดผลเชอร์รีสายพันธ์ไทยด้วยเทคนิครางเอียง 2024-06-19T11:30:09+07:00 เพลิน จันทร์สุยะ Nikom_tamma@hotmail.com วิวัฒน์ ทิพจร Nikom_tamma@hotmail.com ทักษ์ หงษ์ทอง Nikom_tamma@hotmail.com เอกชัย ชัยดี Nikom_tamma@hotmail.com กุลพรภัสร์ ภราดรภิบาล Nikom_tamma@hotmail.com สุวิสา ทะยะธง Nikom_tamma@hotmail.com ทัชชกร ธรรมปัญญา nikom_tamma@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องคัดผลเชอร์รีและขนาดของเครื่องคัดผลเชอร์รี โดยมีขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ความยาว180 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร โดยฐานของเครื่องคัดผลเชอร์รีจะทำมาจากเหล็กฉากขนาด 1 นิ้ว ส่วนถาดรองผลเชอร์รีทำมาจากเหล็กที่มีขนาดความหนา1.40 มิลลิเมตร ในส่วนของแกนเหล็กที่ใช้การในคัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มิลลิเมตร ซึ่งการทำงานของเครื่องคัดผลเชอร์รีจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรงมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ในส่วนของการคัดขนาดนั้นได้จะแบ่งเป็น 4 ขนาด C , B , A , AA ตามลำดับขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ ซึ่งการปรับตั้งรางคัดขนาดที่เหมาะสมอยู่ที่ 10 องศา โดยเครื่องคัดผลเชอร์รีจะมีความผิดพลาดเฉลี่ยไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/250841 บาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอางจากสารสกัดเปลือกมะเขือเทศราชินี 2024-06-19T11:36:06+07:00 วรรณิสา แก้วบ้านกรูด wannisa.k@mail.rmutk.ac.th รินทร์ลดา มหาสถิตย์ Wannisa.k@mail.rmutk.ac.th กนิษฐา ส้วนโนลี Wannisa.k@mail.rmutk.ac.th วรงค์พร รัตนบุญ Wannisa.k@mail.rmutk.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอาง โดยใช้ส่วนเปลือกของมะเขือเทศราชินี (<em>Solanum lycopersicum L.)</em> มาทำการสกัดด้วยวิธีการหมักในตัวทำละลายเฮกเซน ได้ร้อยละผลผลิตของสารสกัดหยาบเท่ากับ 11.6 ± 0.328 จากการศึกษาปริมาณฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ เท่ากับ 348.20 ± 87.70 mg Gallic acid /g extract, 156.80 ± 0.33 mg Quercetin /g extract ตามลำดับ นอกจากนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รายงานผลด้วยค่า IC<sub>50</sub> พบว่าสารสกัดมีร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ เท่ากับ 0.49 µg/ml ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มทำความสะอาดเครื่องสำอาง โดยใช้สารสกัดเปลือกมะเขือเทศราชินีที่ความเข้มข้นต่างกันพบว่า ตำรับที่มีสารสกัด 2% w/w ทำความสะอาดเครื่องสำอางได้ดีกว่าและมีความชุ่มชื้นมากกว่าตำรับผสมสารสกัด 1% w/w</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ