https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
2024-06-26T17:00:36+07:00
Thippawan Saenkham
thippawan.sk@bru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ หรือที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>ISSN 2774-0838 (Print)</p> <p>ISSN : 2774-0757 (Online)</p>
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/248677
การประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม บริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
2024-03-13T10:50:57+07:00
Aimorn Prachuabmorn
aimorn@buu.ac.th
รตีวรรณ สุวัฒนมาลา
scibru811@bru.ac.th
กฤตกร อินทรฉาย
scibru812@bru.ac.th
นันทิวรรธน์ เขตต์วัฒน์
scibru8113@bru.ac.th
หทัยวรรณ วรโชติธนฐร
scibru8114@bru.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์สิ่งอันตรายจากกิจกรรมบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี อันนำไปสู่สภาพความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ บริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ในสถานการณ์โควิด-19 เก็บข้อมูลด้วยแบบตรวจสอบรายการและ ทำการประเมินระดับความเสี่ยงแบบใช้ตารางความเสี่ยง ดำเนินการเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบพรรณนาและจัดลำดับความเสี่ยง ผลการศึกษาพบว่าระดับความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบและคงมาตรการที่ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251207
การกำจัดสัญญาณรบกวนแบบการบวกและแบบการคูณออกจากภาพ โดยใช้วิธีการสปริทเบรกแมน
2024-03-27T10:26:37+07:00
ศิริวรรณ จันทร์แก่น
scibru8121@bru.ac.th
Sopida Sukyankij
sopida.jew@aru.ac.th
<p class="15" style="margin-bottom: 0cm;"><span lang="TH" style="font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif;">งานวิจัยนี้ผู้วิจัยนำเสนอวิธีการสปริทเบรกแมนสำหรับกำจัดสัญญาณรบกวนแบบการบวกและแบบการคูณออกจากภาพที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง วิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการหาค่าต่ำที่สุดของฟังก์ชันนัลซึ่งถูกเขียนในรูปอินทิกรัลของฟังก์ชันและอนุพันธ์ของฟังก์ชัน จึงทำให้การกำจัดสัญญาณรบกวนออกจากภาพโดยวิธีการนี้สามารถทำได้โดยการแก้สมการเชิงอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างวิธีการเชิงตัวเลขที่ได้นำเสนอและวิธีการกรองภาพ ผลการทดลองเชิงตัวเลขกับภาพสังเคราะห์และภาพจริงพบว่าขั้นตอนวิธีการเชิงตัวเลขที่ผู้วิจัยได้นำเสนอสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่าวิธีการกรองภาพซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานในการซ่อมแซมภาพ</span></p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251988
นวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal
2024-03-04T12:18:43+07:00
จิรวดี โยยรัมย์
jirawadee.yr@bru.ac.th
อนงค์ ทองเรือง
scibru8131@bru.ac.th
รุ่งรัตน์ หัตถกรรม
scibru8132@bru.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ประเมินคุณภาพและความพึงพอใจนวัตกรรมจักรวาลนฤมิต ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 58 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของนวัตกรรม จำนวน 3 คน นักเรียนมัธยมปลาย นักศึกษาระดับประกาศยบัตรวิชาชีพ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม และแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ที่ควรนำมาพัฒนานวัตกรรมจักรวาลนฤมิตเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ประเพณีแซนโฎนตา โดยพัฒนาเป็นสื่อโลกเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต (Metaverse) ด้วยการสร้างโมเดล 3 มิติ จากโปรแกรม Spatial และ Blender ร่วมกับการนำเสนอคลิปวิดิโอผ่านแอพลิเคชั่นบนมือถือผ่านระบบออนไลน์ โดยผลการประเมินคุณภาพนวัตกรรมจักรวาลนฤมิต โดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมจักรวาลนฤมิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/252144
ผลของเพคตินจากเปลือกกาแฟต่อคุณภาพของแยมลูกหม่อน (Effect of Pectin from Coffee Husk on Quality of Mulberry Jam)
2024-03-15T09:38:43+07:00
Thanyanun Rithmanee
r_thanyanun@hotmail.com
นภารัตน์ จิวาลักษณ์
scibri8141@bru.ac.th
ครองจิต วรรณวงศ์
scibru8142@bru.ac.th
<p> การศึกษาผลของเพคตินจากเปลือกกาแฟต่อคุณภาพของแยมลูกหม่อน ด้วยการนำเพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟแห้งมาใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารในผลิตภัณฑ์แยมลูกหม่อน ในปริมาณร้อยละ 0.75, 1.25 และ 1.75 และมีตัวอย่างสูตรควบคุมด้วยการใช้ผงเพคตินทางการค้าที่ปริมาณร้อยละ 0.75 จากนั้นนำไปวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยา และการทดสอบความชอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์แยมลูกหม่อน พบว่า ค่าความหนืดของแยมลูกหม่อนทั้ง 3 ปริมาณของการใส่เพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟมีค่าเพิ่มขึ้นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนค่าสี pH และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของแยมลูกหม่อนทั้งสูตรควบคุมและสูตรที่มีการเติม เพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ของแยมลูกหม่อนที่ใส่เพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P˃0.05) โดยปริมาณเพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟทั้ง 3 ปริมาณที่ใส่ลงในแยมลูกหม่อน พบว่า แยมลูกหม่อนมีคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของแยม และเมื่อนำผลิตภัณฑ์แยมลูกหม่อนไปทดสอบคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส พบว่า ปริมาณเพคตินสกัดจากเปลือกกาแฟที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์แยมที่ร้อยละ 1.75 นั้น ได้คะแนนความชอบจากผู้ทดสอบชิมมากที่สุดในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสในระดับชอบปานกลาง</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/253609
การเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2024-04-26T12:25:01+07:00
บุษราภรณ์ มหัทธนชัย
butsaraporn@g.cmru.ac.th
ชนินทร์ มหัทธนชัย
scibru8151@bru.ac.th
<p>การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) สร้างโมเดลธุรกิจทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าทอของวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาเทคโนโลยีตลาดดิจิทัลและประชาสัมพันธ์ช่องทางการตลาดดิจิทัล <br />3) ถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลให้กับวิสาหกิจชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียง ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 คน การดำเนินงานวิจัยโดย ศึกษาบริบทชุมชน สร้างโมเดลทางการตลาดดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีตลาดดิจิทัลและประชาสัมพันธ์ช่องทางตลาดดิจิทัล และการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ทางการตลาดดิจิทัลให้กับชุมชน ผลจากการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่สาน้อยมีทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเสริมสร้างการตลาดดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก การนำเสนอและโปรโมทด้วยกายยิงแอดโฆษณา การสร้างคอนเทนต์โพสต์ลงหน้าเพจ การใช้ไลน์ออฟฟิศเชียลแอ็กเคานต์ การใช้งานไลน์มายช็อป และสร้างสื่อวิดีทัศน์ และวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียงยังไม่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเริ่มต้นจากการใช้เพจเฟซบุ๊กและการสร้างสื่อวิดีทัศน์ เมื่อจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีตลาดดิจิทัล พบว่ามีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจในการอบรมอยู่ในระดับมาก ( x̄ =4.08, S.D.=0.52) สามารถนำความรู้เทคโนโลยี ตลาดดิจิทัลนำไปปรับปรุงใช้งานในวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือได้</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/252918
การหาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ตัวแบบปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย
2024-05-13T14:34:07+07:00
roongrat samanmoo
roongrat_sa@aru.ac.th
<p>จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาเที่ยวคือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไหว้พระ 9 วัด ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ (one day trip) นักท่องเที่ยวสามารถหาข้อมูลการเดินทางเบื้องต้นจากเว็บไซต์การท่องเที่ยวซึ่งมีอยู่มากมาย เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการเดินทาง เนื่องจากข้อมูลที่มีในแต่ละเว็บไซต์มีความแตกต่างกัน มีข้อมูลค่อนข้างเฉพาะและจำกัด หลายเว็บไซต์จะแนะนำแค่สถานที่ แต่ไม่ได้บอกลำดับการเดินทางและเวลาที่ใช้ รวมถึงวัดที่แนะนำอาจจะไม่ใช่วัดที่ตรงตาม ความต้องการของผู้เดินทางทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจและรวบรวมรายชื่อวัดที่ถูกแนะนำสำหรับกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวน 8 เว็บไซต์ เลือกวัดที่ถูกแนะนำมากที่สุดจำนวน 11 วัด พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดในการเลือกวัด 9 วัดจากวัดที่แนะนำข้างต้น ซึ่งจะมีทั้งหมด 55 ทางเลือก แต่ละทางเลือกได้ใช้แนวคิดการสร้างตัวแบบ “ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย” หาเส้นทางที่มีระยะทางรวมน้อยที่สุดในการไหว้พระ 9 วัด โดยใช้โปรแกรม excel solver และรวบรวมผลลัพธ์ในทุกทางเลือก ได้แก่ข้อมูลระยะทางรวมเวลารวมที่ใช้ในเส้นทางนั้น ลำดับการเดินทาง และเวลาที่ใช้ในแต่ละช่วงด้วยโปรแกรม excel ประยุกต์ใช้คำสั่ง INDEX และ MATCH ในการเรียกข้อมูลแต่ละทางเลือกขึ้นมาใช้งาน เพื่อนำไปวางแผนการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251924
ระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2024-06-11T09:34:58+07:00
ชนินทร์ มหัทธนชัย
chanin@g.cmru.ac.th
บุษราภรณ์ มหัทธนชัย
scibru8171@bru.ac.th
<p>โครงการวิจัยเรื่อง ระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาสารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ 2. เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลสารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อใช้ในการส่งเสริมการตลาดของวิสาหกิจชุมชน โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนที่มีความรู้ด้าน OTOP ในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่ก๊ะเปียง ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ เครื่องมือการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามด้านข้อมูลการพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศ 2. การพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชน โดยใช้วงจรพัฒนาระบบ SDLC 3. แบบประเมินความพึงพอใจการอบรมการให้ความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบศูนย์สารสนเทศ โดยจากการนำแบบสัมภาษณ์มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ตลอดจนขั้นตอนการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในส่วนที่ 1 ได้นำไปใช้ในการพัฒนาระบบศูนย์สารสนเทศผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อส่งเสริมการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนที่ 2 ที่เป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลในระบบศูนย์สารสนเทศได้นำใช้งาน ทดสอบ ติดตั้งกับกลุ่มตัวอย่าง และได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์สารสนเทศ ประเมินผลและสรุปผล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินความพึงพอใจการอบรมการให้ความรู้การบริหารระบบและใช้งานระบบศูนย์สารสนเทศ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความพึงพอใจการอบรมจัดอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄ =3.87, S.D.=0.94) </p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251660
การนำดินร่วนปนดินเหนียวมาใช้ประโยชน์ในการทำอิฐมวลเบาเพื่อส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น
2024-05-16T09:17:30+07:00
อดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ
adisorn.p@cit.kmutnb.ac.th
นิรัตน์ แย้มโอษฐ์
scibru8181@bru.ac.th
ฐิติวัฒน์ ตรีวงศ์
scibru8182@bru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการนำดินลุ่มแม่น้ำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยการทำอิฐมวลเบาเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมให้มีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านวิศวกรรมและสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ การวิจัยนี้นำ ดินร่วนปนดินเหนียวมาเป็นวัสดุผสมในอิฐมวลเบา และใช้วัสดุพลาสติกพีวีซีเหลือใช้มาผสมเพิ่ม เพื่อลดน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่าอิฐมวลเบาในการวิจัยนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบล็อกคอนกรีตเชิงตันไม่รับน้ำหนัก (มอก. 2895-2561) โดยมีอัตราส่วนที่เหมาะสมในการวิจัยนี้คือปูนซีเมนต์ต่อดินร่วนปนดินเหนียวต่อพลาสติกพีวีซีรีไซเคิล (1 : 1.4 : 0.6) โดยน้ำหนัก ผลทดสอบมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1622 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีค่ากำลังอัดเท่ากับ 42 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร การวิจัยนี้สามารถนำดินร่วนปนดินเหนียวมาใช้ทำอิฐมวลเบาได้จริง อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิมากขึ้นเพื่อส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่นได้</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์)