วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ หรือที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>ISSN 2774-0838 (Print)</p> <p>ISSN : 2774-0757 (Online)</p> Faculty of Science, Buriram Rajabhat University th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) 2774-0838 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น</p> ความหลากหลายของไม้ยืนต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/248491 <p class="15">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของไม้ยืนต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในพื้นที่ศึกษาขนาด 232 ไร่ (371,200 ตารางเมตร) ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2564 โดยทำการเก็บตัวอย่างพืช บันทึกภาพถ่าย จัดทำพรรณไม้แห้ง ระบุชนิด และวิเคราะห์สังคมพืช จากการศึกษาพบไม้ยืนต้นทั้งหมด จำนวน 2,495 ต้น จำแนกเป็น 39 วงศ์ 92 สกุล 122 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Fabaceae พบ 29 ชนิด รองลงมาได้แก่วงศ์ Moraceae มีจำนวน 13 ชนิด และวงศ์ Bignoniaceae พบ 9 ชนิด ตามลำดับ ส่วนไม้ยืนต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพรรณไม้ (IVI) สูงที่สุดได้แก่ ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) มีค่าเท่ากับ 18.11 รองลงมาคือ ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa L.f.) มีค่าเท่ากับ 16.92 และสะเดา (Azadirachta indica A. Juss) มีค่าเท่ากับ 10.34 ตามลำดับ และค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณในพื้นที่ เท่ากับ 3.78 อยู่ในระดับมาก</p> Kornkanok Tangjitman ศิริรัตน์ สิงห์งาม ธัญพิชชา พจนารถ ทัศนีย์ จันหาญ โนรฟาร์เดีย บินมามะ ศุภลักษณ์ สุดขาว กาญจนา สาลีติ๊ด Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-24 2024-04-24 7 2 1 19 การประเมินคุณภาพน้ำผิวดินของสระน้ำ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/248947 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม และวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินของแหล่งน้ำที่บริเวณต่างๆ 6 แหล่ง ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ. นครราชสีมา ทำการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 โดยศึกษาสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของน้ำ พบว่าอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และปริมาณโลหะ (เหล็ก และสังกะสี) ของน้ำผิวดินในทุกบริเวณที่ศึกษาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ ในขณะที่ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี และค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดของน้ำผิวดินในสระน้ำจุดที่ 2 ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานอย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่าดังกล่าวมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมรอบแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าในสระน้ำภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเริ่มมีความสกปรก&nbsp; แต่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำโดยรวมเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคุณภาพน้ำยังคงเหมาะกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ และไม่กระทบต่อระบบนิเวศ การประเมินคุณภาพน้ำนี้มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการบริหารคุณภาพน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบำบัดของเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้</p> <p>&nbsp;</p> ฉัตรชัชชญาน์ โชติชญาณ์พงศ์ Pusita Kuchaiyaphum Kanlayanee Kajsanthia Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 7 2 21 35 การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานิน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพื่อแปรรูปเป็นผงแอนโทไซยานิน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/249085 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้ได้ปริมาณสารแอนโทไซยานิน และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เพื่อนำสารสกัดที่ได้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผงแอนโทไซยานิน จากผลการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดข้าว โดยใช้อัตราส่วนของข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อน้ำสะอาดเป็น 1:5 คือ การสกัดโดยวิธีให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ได้ไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ และ เพลาร์โกนิดิน-3-กลูโคไซด์ เท่ากับ 37.950+4.809 และ 20.188+2.556 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (IC50 97.87 มิลลิกรัมต่อลิตร) ABTS (2.58 มิลลิโมลาร์ Trolox/กรัม sample) และ FRAP (74.70 มิลลิกรัมต่อลิตร Fe2+/กรัม sample) และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (264.74 มิลลิกรัมต่อลิตร) สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดแบบไม่ให้ความร้อน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการอบแห้ง (Tray dry) และทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dry) พบว่าผงแอนโทไซยานินที่ผ่านการทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า ดังนั้นจากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าสามารถนำสารสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผงแอนโทไซยานิน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อไปได้</p> thanyapan Hobanthad ศรัญญา มณีทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-24 2024-04-24 7 2 37 51 ความสมมาตรของลวดลายจำหลักที่ปรากฏบนปราสาทหินในอีสานใต้ ประเทศไทย https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/249117 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ศึกษา และจัดจำแนกความสมมาตรของลวดลายจำหลักของปราสาทหินในจังหวัดกลุ่มอีสานใต้ ประเทศไทยซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 82 ปราสาท ทำการเลือกตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจำนวน 7 ปราสาท ผลการศึกษาพบว่า ประเภทสมมาตรที่พบ ได้แก่ ฟรีซกรุปประเภท P2mm, P111, P1m1, P11m และ กรุปการหมุนรูปประเภท D8, D4 แต่ไม่พบลวดลายวอลเปเปอร์</p> Samkhan Hobanthad สมภพ กาญจนะ ปานไพลิน ทับทิม เจนจิราพร นามวงศ์ โชติกา นามพูน ธนาวุฒิ จรดรัมย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 7 2 53 64 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากรำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จังหวัดบุรีรัมย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/249967 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากรำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประชากร คือ รำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กลุ่มตัวอย่าง คือ รำข้าวจากบ้านสวายจีก บ้านสนวนนอก อำเภอเมือง และบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด ปริมาณสารโปลีฟีนอลรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ดีพีพีเอช (DPPH) และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ (SPSS) พบว่าตัวทำละลายเมทานอลสามารถสกัดรำข้าวให้ระดับร้อยละผลผลิต (%yield) สูงที่สุดส่วนปริมาณสารโปลีฟีนอลรวมจะพบในสารสกัดรำข้าวจากบ้านสวายจีกมากที่สุด เท่ากับ 58.67 บ้านสนวนนอก เท่ากับ 39.70 และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 32.70 mg GAE/g DW เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช(DPPH) โดยคิดเป็นร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ (%Inhibition) พบว่าบ้านสนวนนอก เท่ากับ 95.17% บ้านสวายจีก เท่ากับ 85.96% และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 50.98% ค่ากิจกรรมการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH เทียบเท่าวิตามินซี (mg Vitamin C/g DW) พบว่าบ้านสนวนนอก เท่ากับ 61.91 บ้านสวายจีก เท่ากับ 57.35 และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 34.65 mg Vitamin C/g DW และเมื่อวิเคราะห์ค่าทางสถิติ (One way analysis of variance : One way ANOVA) ของค่ากิจกรรมการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH เทียบเท่าวิตามินซี (mg Vitamin C/g DW) พบว่าสารสกัดรำข้าวของ 3 ชุมชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> Chuleekant Sainate Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 7 2 65 80 การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแก้ไอมะขามป้อมและยาอมมะแว้งกับ ยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟนในการรักษาอาการไอในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริลของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251107 <p class="15" style="margin-bottom: 0cm;">การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปรียบเทียบผลการใช้ยาแก้ไอมะขามป้อมและยาอมมะแว้งกับยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนต่ออาการไอในผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริลของผู้มารับบริการโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 63 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองยาอมมะแว้งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ายาแก้ไอมะขามป้อม และยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแก้ไอมะขามป้อม และยาอมมะแว้งกับยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟนในการรักษาอาการไอในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีนาลาพริล ในด้านกายภาพ จิตใจและสังคม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p – value = 0.01 ส่งผลให้การศึกษานี้เป็นเรื่องที่ดีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้น</p> ชมพากาญจน์ ทองสี ศุภะลักษณ์ ฟักคำ ดวงพร นะคาพันธุ์ชัย Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-24 2024-04-24 7 2 81 100 การพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงเพื่อผลิตเส้นใยกัญชงจากเศษเหลือทิ้ง https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/251208 <p>การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและถอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้ง 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจากเส้นใยกัญชงที่เหลือทิ้ง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง จำนวน 15 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีประสบการณ์การทำผ้าทอมือแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินงานโดย 1) ศึกษาการผลิตผ้าทอใยกัญชงและถอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้ง 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจากเส้นใยกัญชงเหลือทิ้ง 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้งและการใช้งานต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้งจะให้วิธีการหมักด้วยน้ำเปล่า ซัก และตาก แบบธรรมชาติเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยขับเคลื่อนเพลาของกระสวยปั่นและมีขนาดเล็ก ทำให้สะดวกในการใช้งานสามารถพกพาได้ สามารถทำเส้นด้ายไม่น้อยกว่า 480 เมตรต่อชั่วโมง ด้วยความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 1,320 รอบต่อนาที ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่า 2 เท่า สร้างมูลค่ารายได้ให้ชุมชน ลดการใช้แรงงาน และสามารถนำเศษใยเหลือทิ้งกลับมาใช้งานได้</p> ชนินทร์ มหัทธนชัย เสรี ปานซาง สุกิจ ทองแบน บุษราภรณ์ มหัทธนชัย นภารัตน์ จิวาลักษณ์ จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 7 2 101 113