วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru <p>วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ หรือที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>ISSN 2774-0838 (Print)</p> <p>ISSN : 2774-0757 (Online)</p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น</p> thippawan.sk@bru.ac.th (Thippawan Saenkham) kittikoon.bk@bru.ac.th (Kittikoon Boonkate) Fri, 27 Dec 2024 10:56:24 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกแบบสร้างรถสามล้อไฟฟ้าด้วยมอเตอร์กระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน โดยประยุกต์ใช้การการอัดประจุแบตเตอรี่จากโซลาเซลล์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255461 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างรถสามล้อไฟฟ้าด้วยมอเตอร์ไร้แปรงถ่านและศึกษาการทำงานของการขับเคลื่อนรถสามล้อไฟฟ้า การออกแบบใช้มอเตอร์ไร้แปรงถ่านขนาด 24 โวลต์ 350 วัตต์ ควบคุมความเร็วรอบด้วยไอซีสำเร็จรูป MC33035 ด้านบนมีแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์&nbsp;(Mono crystalline) ขนาด 250 วัตต์ แรงดัน 31.2 โวลต์ กระแส 8.02 แอมป์ จำนวน 2 แผงต่อขนานผ่านวงจรอัดประจุเพื่อเก็บสะสมพลังงานเข้าแบตเตอรี่ จากการทดลองพบว่าที่ระยะทาง 100 เมตร รับน้ำหนักสูงสุดที่ 100 กิโลกรัม มีความเร็ว 7.16 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 91.60 นาที จากนั้นทดสอบวงจรอัดประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์เต็ม ที่แรงดัน 24.90 โวลต์ ใช้เวลา 6 ชั่วโมง เมื่อแบตเตอรี่อัดประจุเต็มแล้วทดสอบการขับเคลื่อนต่อเนื่องรวมระยะทางทั้งสิ้น 4,000 เมตร แรงดันลดลงเหลือ 21.60 โวลต์ ใช้เวลา 29.20 นาที จึงหยุดการเคลื่อนที่</p> ดุสิต อุทิศสุนทร, คมสันต์ บันลือหาญ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255461 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาไคโตซาน/คอลลาเจนไฮโดรเจลที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และมีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียโดยใช้อนุภาคนาโนเงินชีวสังเคราะห์ จากสารสกัดน้ำกระชายขาวเพื่อการปลูกถ่ายกระดูก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254203 <p>ไฮโดรเจลที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกเพื่อส่งเสริมการสร้างกระดูกใหม่และนำส่งสารออกฤทธิ์ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะเตรียมไคโตซาน/คอลลาเจนไฮโดรเจลที่มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียโดยการเติมอนุภาคนาโนเงินสังเคราะห์ทางชีวภาพ สารสกัดน้ำของกระชายขาว (<em>โบเซนเบอร์เกียโรทุนดา</em>) ถูกใช้เป็นตัวรีดิวซ์สำหรับการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงิน ดังนั้น อนุภาคนาโนเงินจึงถูกแสดงคุณลักษณะโดยการทดสอบสเปกโตรโฟโตเมตรี สัณฐานวิทยา และสมบัติทางชีวภาพ อนุภาคนาโนเงินเป็นรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 20-40 นาโนเมตร โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ <em>สแตฟิโลค็อกคัสออเรียสและซูโดโมนาสแอรูจิโนซา</em> อนุภาคนาโนเงินที่สังเคราะห์ขึ้นถูกผสมกับไคโตซาน/คอลลาเจนไฮโดรเจลให้มีความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และถูกตรวจสอบคุณสมบัติทางรีโอโลยี ทางโครงสร้าง ทางเคมี และทางชีวภาพ ผลที่ได้พิสูจน์ว่าการเติมอนุภาคนาโนเงินส่งผลต่ออุณหภูมิการเกิดเจลและเวลาในการเกิดเจล รวมทั้งมอดุลัสของไฮโดรเจล สัณฐานวิทยาเชิงโครงสร้าง (ขนาด และความพรุน) ของไฮโดรเจลเปลี่ยนแปลงกับการเติมอนุภาคนาโนเงินที่สังเคราะห์ขึ้น นอกจากนี้ไฮโดรเจลที่เติมอนุภาคนาโนเงินยังแสดงประสิทธิภาพการต้านแบคทีเรียที่ดีกว่าไฮโดรเจลปราศจากอนุภาคนาโนเงิน</p> ชานนท์ สมจิตรกุล, เอกรัฐ หิตโกเมท, ชิราวุฒิ เพชรเย็น, ปัญจพร วงศ์วิทยากูล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254203 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การผลิตเครื่องดื่มคอมบูชาจากรากบัว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254678 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตคอมบูชาจากรากบัวอบแห้งที่มีอุณหภูมิในการอบแห้งรากบัวหลวงที่แตกต่างกันโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกซึ่งมีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งของวัตถุดิบทั้งหมด 3 สภาวะคือ ที่อุณหภูมิ 50(T50) 55(T55) และ 60(T60) องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยได้มีการวิเคราะห์ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความหวาน จำนวนจุลินทรีย์ สารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารฟลาโวนอยด์ จากระยะเวลาในการหมัก 15 วัน พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของตัวอย่างมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ค่าความหวานมีค่าที่เพิ่มขึ้น และลดลงในบางตัวอย่าง ในขณะที่จำนวนจุลินทรีย์ในคอมบูชาจากรากบัวที่อบแห้งอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสมีจำนวนจุลินทรีย์สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ เท่ากับ 8.7× &nbsp;cfu/ml ในวันที่ 15 ของการหมัก นอกจากนี้คอมบูชาจากรากบัวอบแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระที่สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือเท่ากับ 90.03 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ที่สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือเท่ากับ 342 mgCE/mlDW &nbsp;นอกจากนี้ยังพบว่าคอมบูชาจากรากบัวอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระ และมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ใกล้เคียงกับ&nbsp;&nbsp;&nbsp; คอมบูชาจากรากบัวอบแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ซึ่งถ้าต้องการผลิตในทางการค้าที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตแล้วนั้น คอมบูชาจากรากบัวที่มีการอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมในการนำไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป</p> พันธ์ระวี หมวดศรี, ธีระยุทธ เตียนธนา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254678 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเกม 2 มิติ อิงพิกัดระบบภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254737 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของเกม 2 มิติ อิงพิกัดระบบภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเกม 2 มิติ อิงพิกัดระบบภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมและการท่องเที่ยวจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) เกม 2 มิติ อิงพิกัดระบบภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์2) แบบประเมินคุณภาพของเกม 2 มิติ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเกม2 มิติ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของเกม 2 มิติ โดยผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เล่นที่มีต่อเกม 2 มิติ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม , ณัฐพัฒน์ วิเศษทรานนท์, อิทธิพล สมเสมอ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254737 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลทางด้านจุลินทรีย์และกายภาพของขนมปังที่ห่อด้วย ผ้าเคลือบไขผึ้งห่ออาหาร https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254964 <div> <p><span lang="TH">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผ้าเคลือบไขผึ้งห่ออาหารได้รับความนิยมเนื่องจากทำมาจากวัสดุธรรมชาติ </span><span lang="TH">ถือเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในการ</span><span lang="TH">ใช้</span><span lang="TH">ทดแทนถุงพลาสติกและพลาสติกห่ออาหาร สามารถช่วย</span><span lang="TH">ป้องกันการเน่าเสียและ</span><span lang="TH">ลดการเกิดเชื้อก่อโรคในอาหาร</span><span lang="TH">ได้</span><span lang="TH"> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผ้า</span><span lang="TH">ฝ้าย</span><span lang="TH">เคลือบไขผึ้งทั้งทางด้านจุลินทรีย์ และทางกายภาพในการห่อขนมปัง โดยได้วิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าเคลือบไขผึ้ง จำนวน 3 สูตร เป็นระยะเวลา 14 วัน จากผลการทดลองพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าเคลือบไขผึ้ง สูตรที่ </span>3<span lang="TH"> ซึ่งมีส่วนประกอบของไขผึ้ง </span>70 <span lang="TH">กรัม ยางสน </span>20<span lang="TH">กรัม และน้ำมันมะพร้าว </span>10 <span lang="TH">กรัม มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักของขนมปัง อีกทั้งยังไม่พบการเจริญของเชื้อราบน</span> <span lang="TH">ขนมปัง</span></p> </div> นงลักษณ์ สายเทพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/254964 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพอิเล็กโทรด SPCE ด้วยอนุภาคนาโนของทองคำและแพลทินัมเพื่อปรับปรุงการตรวจจับภาวะเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255377 <p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสังเคราะห์อนุภาคนาโนทองคำและแพลทินัมเพื่อปรับปรุงขั้วไฟฟ้า SPCE สำหรับใช้ในการพัฒนาเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรีเพื่อตรวจจับภาวะเครียดออกซิเดชันในอนาคต โดยผลการวิเคราะห์ด้วยภาพจากกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscopy: TEM) แสดงขนาดอนุภาคที่ค่าเฉลี่ย 6.4 นาโนเมตร และผลทดสอบด้วยเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray Diffractometer: XRD) แสดงตำแหน่งการเลี้ยวเบนของอนุภาคนาโนทองคำและแพลทินัมที่ 2 theta ประมาณ 38.1°, 44.4°, 64.8°, 77.6° และ 81.8° ซึ่งตำแหน่งสุดท้ายเป็นของแพลทินัม หลังจากการสังเคราะห์ อนุภาคนาโนถูกชุบไฟฟ้าลงบนขั้วไฟฟ้า SPCE โดยใช้สารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride: KCl) ผสมกับอนุภาคนาโนทองคำและแพลทินัมที่ให้กระแสไฟฟ้า -0.25 โวลต์, -0.5 โวลต์, -0.75 โวลต์ และ -1 โวลต์ ผลการทดสอบด้วยรามานสเปกโทรสโคปี พบพีคที่ 1200-1450 cm<sup>-</sup>¹ และ 1500-1600 cm<sup>-</sup>¹ ซึ่งเป็นพีคของคาร์บอน ทองคำและแพลทินัมที่ทับซ้อนกัน การทดสอบด้วยเทคนิคกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscopy: SEM) แสดงลักษณะอนุภาคนาโนทองคำและแพลทินัมที่ชัดเจน เมื่อทดสอบขั้วไฟฟ้าที่ชุบไฟฟ้าด้วยเทคนิค ไซคลิกวอลเทมเมตรี พบว่าการชุบที่กระแสไฟฟ้า -0.25 โวลต์ ให้สัญญาณที่ปรับปรุงชัดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับกระแสไฟฟ้าอื่นๆ รวมถึงขั้วไฟฟ้าที่ไม่ได้ปรับปรุง การศึกษานี้สรุปว่าการใช้อนุภาคนาโนทองคำและแพลทินัมสามารถปรับปรุงสัญญาณของขั้วไฟฟ้า SPCE ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในงานวิจัยการตรวจจับภาวะเครียดออกซิเดชันในอนาคต</p> สนธยา พงษ์ธานี, หยาดนภา ผาเจริญ, ศีตกานต์ นัดพบสุข, ชิราวุฒิ เพชรเย็น Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255377 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเพาะเลี้ยงเมล็ดในหลอดทดลองและการผลิตเมล็ดเทียมจากเอื้องไม้เท้าฤาษีในสภาพปลอดเชื้อ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255865 <p>เมล็ดกล้วยไม้ถูกนำมาตรวจสอบการมีชีวิตโดยการใช้ 0.8% TTC พบว่าเอมบริโอย้อมติดสีแดงทั้งจำนวนเมล็ดบางส่วนและทุกเมล็ดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เขี่ยเมล็ดลงบนอาหารเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS และ 1/2MS ที่เติมน้ำตาลซูโครสเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ (15, 20 และ 30 กรัมต่อลิตร) เป็นเวลา 8 และ 12 สัปดาห์ พบว่า เมล็ดพัฒนาเป็นโปรโตคอร์มร้อยละ 100 ของเมล็ดในขวดในอาหารทุกสูตร การกำจัดน้ำออกจากเมล็ดเทียม 0-6 ชั่วโมง พบร้อยละปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในเมล็ดเทียมชั่วโมงที่ 6 อยู่ที่ 30.27 ร้อยละการรอดชีวิตอยู่ที่ 85±13.69 จากนั้นนำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร 1/2MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญ BA (0, 0.5, 1, 2 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) ร่วมกับ NAA (0, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร) เพาะเลี้ยงต้นอ่อนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตรมีผลทำให้กล้วยไม้แสดงจำนวนยอดต่อต้น จำนวนรากต่อต้นและความสูงต้น เท่ากับ 2.07±0.68 ยอด 0.53±0.72 ราก และ 0.87±0.34 เซนติเมตร ตามลำดับ</p> จิราภรณ์ นิคมทัศน์, นิศากร สุวรรณ, จรัญ มากน้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255865 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานพัสดุตามแนวคิดแบบลีน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255986 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานพัสดุตามแนวคิดแบบลีน และ2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้งานระบบ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสนเทศในการวางแผนและบริหารจัดการพัสดุขององค์กรให้มีความรวดเร็ว โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานพัสดุ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนการพัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ ที่ทำการศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของงานพัสดุองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงความต้องการที่มีต่อระบบงานใหม่ จากนั้นทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยหลักการเชิงวัตถุโดยนำแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์เพื่อลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานพัสดุ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาคือ ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษาพีเอชพี (PHP) ลาราเวลเฟรมเวิร์ก (Laravel Framework) และระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ผลการวิจัยพบว่า ระบบทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันสำคัญในการทำงาน คือ 1) จัดการข้อมูลพื้นฐาน 2) จัดสรรข้อมูลงบประมาณ 3) ขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อ และ 4) เบิกจ่ายพัสดุ เมื่อศึกษาการทำงานของระบบระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 ระบบสามารถช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้ร้อยละ 22 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.56, S.D. = 0.12)</p> จุฑาทิพย์ โล้เจริญรัตน์, วิไลรัตน์ ยาทองไชย, ณปภัช วรรณตรง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ออนไลน์) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/255986 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700