@article{กุลนาวิน_ชมพูวิเศษ_เปียโคกสูง_2022, title={การสร้างต้นแบบออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช}, volume={7}, url={https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/245362}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างต้นแบบออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชช่วยในค้นหาสารสนเทศและองค์ความรู้จากคำสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชจากฐานองค์ความรู้ โดยมีแบ่งการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 กำหนดความต้องการออนโทโลยี โดยการศึกษาปัจจัย 2 ด้าน คือ (1) ศึกษาลักษณะและประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษาออนโทโลยีด้านวัฒนธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนาออนโทโลยี โดยนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาปัจจัยในระยะที่ 1 เพื่อออกแบบคลาส และความสัมพันธ์ระหว่างคลาส แล้วสร้างออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช โดยใช้โปรแกรมโปรทีเจ (Protégé) รุ่น 5.0.0 และระยะที่ 3 การประเมินออนโทโลยีด้วยการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของการค้นคืนความรู้จากออนโทโลยี ผลการวิจัยพบว่า ออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชที่สร้างขึ้นประกอบด้วยคลาสหลัก จำนวน 167 คลาส ตัวอย่างเช่น ตัวแสดง ตัวบรรยาย มรดกทางวัฒนธรรม บุคคลสำคัญและปราชญ์ และวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ส่วนคุณสมบัติเชิงวัตถุจำนวน 88 และคุณสมบัติเชิงบรรยายจำนวน 11 คุณสมบัติ มีประสิทธิภาพการค้นคืนความรู้ในด้านค่าระลึกที่ 0.985 ค่าความแม่นยำที่ 0.664 และค่าสัมประสิทธิ์เอฟที่ 0.752 ซึ่งบ่งชี้ว่าออนโทโลยีที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นฐานความรู้สำหรับการค้นคืนความรู้ทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา}, author={กุลนาวิน ขนิษฐา and ชมพูวิเศษ ขนิษฐา and เปียโคกสูง สมจิน}, year={2022}, month={พ.ค.}, pages={39–49} }