https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/issue/feed วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2024-06-07T15:55:06+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราวรรณ อุ่นเมตตาอารี sci.vijai@nrru.ac.th Open Journal Systems <p><a title="ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรื่อง อัตราค่าลงทะเบียนเพื่อลงตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา" href="https://drive.google.com/file/d/1WbdMvEtiCXxn5V9Pc4Z-_Uws-89EUlNm/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener"><strong>ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา </strong><strong>เรื่อง อัตราค่าลงทะเบียนเพื่อลงตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัย</strong><strong> วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</strong><strong> มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา </strong></a></p> <p><em><strong>เก็บค่าลงทะเบียน ตั้งแต่เล่มปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เป็นต้นไป </strong></em></p> <p>อัตราค่าลงทะเบียน มีดังนี้</p> <p>1. บุคคลภายใน ค่าลงทะเบียน 2,500 บาทต่อบทความ</p> <p>2. บุคคลภายนอก ค่าลงทะเบียน 3,000 บาทต่อบทความ</p> <p><strong>วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา</strong></p> <p><span data-contrast="auto"><strong> ISSN (Print) : 2465-4507</strong> <br /><strong>ISSN (Online) : 2730-3160</strong></span></p> <p><span data-contrast="auto">ได้รับการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบ 4 พ.ศ.2564 ให้อยู่ในกลุ่ม 2</span></p> <p><span data-contrast="auto">รับผลงานทางวิชาการที่เป็นต้นฉบับในรูปบทความวิจัย </span><span data-contrast="auto">บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">และบทความวิชาการปริทรรศน์</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">สามารถส่งได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">มีขอบเขตบทความวิจัยที่สามารถลงตีพิมพ์</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">ได้แก่</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์สุขภาพ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">และวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมและชุมชน</span><span data-ccp-props="{&quot;469777462&quot;:[284,1418],&quot;469777927&quot;:[0,0],&quot;469777928&quot;:[1,1]}"> รูปแบบการอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม ให้ใช้รูปแบบ <span class="fontstyle0">APA 6</span><span class="fontstyle0">th </span><span class="fontstyle0">edition</span> Style </span></p> <p><strong><em>กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ </em></strong></p> <p><strong><em>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน </em></strong></p> <p><strong><em>ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</em></strong></p> https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/250431 สมาชิกของริงที่สอดคล้องกับการหารลงตัวบางรูปแบบ 2023-09-28T16:04:28+07:00 กัญญาภัค ภัยแคล้ว kanyaphak.l@nrru.ac.th ญาณภัทร ทองร่อน yanapat.t@nrru.ac.th สุภัทรา เกิดมงคล supattra.k@nrru.ac.th นิติภูมิ อัศวธิติสกุล nitiphoom.a@nrru.ac.th <p>กำหนดให้ R เป็นริงสลับที่ที่มีเอกลักษณ์ 1 และ m≥n เรานิยาม d∈R ที่สอดคล้องเงื่อนไขสองข้อต่อไปนี้<br>(bx^n-b) | (ax^m+d) ถ้า b | a และ<br>(bx^n-1) | (ax^m+d) ถ้า b^k | a<br>โดยที่ k คือผลหารจากการหาร m ด้วย n และ a, b∈R</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/251703 ผลของอนุภาคเชิงซ้อนโปรตีนรำข้าว-แอนโทไซยานินต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเนื้อสัมผัสของชีสแปรรูป 2023-11-22T12:51:16+07:00 Paradorn Ngamdee paradorn.n@lawasri.tru.ac.th <p>อนุภาคเชิงซ้อนโปรตีนรำข้าว-แอนโทไซยานิน (PAP) ถูกเตรียมขึ้นเพื่อใช้แทนที่เกลือโซเดียมอิมัลซิไฟเออร์ในการเตรียมชีสแปรรูป โดยมีโปรตีนรำข้าวที่สกัดจากรำข้าวนึ่งและแอนโทไซยานินที่สกัดจากปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่ การเตรียม PAP ใช้สารละลายแอนโทไซยานิน 5 (PAP5), 10 (PAP10) และ 15 (PAP15) มิลลิลิตร ซึ่งเกิดเป็นอนุภาคเชิงซ้อนกับโปรตีนรำข้าวได้ร้อยละ 79.8, 15.4 และ 58.2 ตามลำดับ โดย PAP-15 มีฤทธิ์ต้าน DPPH สูงที่สุดเท่ากับ 331 µg GAE/g และถูกเลือกเพื่อใช้เตรียมชีสแปรรูป (PC) โดยใช้แทนที่เกลืออิมัลซิไฟเออร์ในสูตรควบคุมในปริมาณ 4 (PC/PAP4), 8 (PC/PAP8) และ 12 (PC/PAP12) กรัม ซึ่งปริมาณ PAP-15 ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีค่าความสว่างลดลง แต่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงกว่าสูตรควบคุมประมาณ 1.1-1.3 เท่า แต่ค่าความแข็งของชีสแปรรูปผสม PAP-15 ทุกตัวอย่างมีค่า (184.31-295.40 กรัม) ต่ำกว่าค่าของชีสแปรรูปกลุ่มควบคุม (595.42 กรัม) อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกิดจากอนุภาค PAP-15 รบกวนการสร้างโครงร่างตาข่ายของโปรตีนในชีสแปรรูป ดังนั้นจึงอาจมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงเนื้อสัมผัส เช่น การใช้ร่วมกับไฮโดรคอลลอยด์หรืออิมัลซิไฟเออร์ชนิดอื่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีสแปรรูปผสม PAP ที่มีฤทธิต้านอนุมูลอิสระที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/250921 การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-22T15:11:44+07:00 วัฒนา ชยธวัช vadhana.j@ptu.ac.th นุชนาถ ชำนิเชิงค้า vadhana.j@ptu.ac.th วลัยนารี พรมลา vadhana.j@ptu.ac.th <p>จำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางอากาศเขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา เพิ่มขึ้นจาก 344,919 คนปี พ.ศ. 2564 เป็น 452,387 ในปี พ.ศ. 2565 และในเวลา 7 เดือน ของปี พ.ศ. 2566 มีรายงานผู้ป่วย 292,798 คน ประมาณการเต็มปีอาจสูงถึง 501,939 คน&nbsp; เนื่องจากข้อมูลรายเดือน พ.ศ. 2564 และ 2565 มีส่วนประกอบทั้งฤดูกาลและแนวโน้ม การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยรายเดือนจากข้อมูลสองปีที่ผ่านมา ก็สามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานการให้บริการผู้ป่วยอย่างเหมาะสม จึงจะใช้วิธีการแยกส่วนประกอบ ตัวแบบการคูณ เปรียบเทียบระหว่างวิธีอัตราส่วนต่อแนวโน้มกับวิธีอัตราส่วนต่อค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error - MAPE) ของวิธีอัตราส่วนต่อแนวโน้มมีค่าร้อยละ 12.89 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ10-20 ใช้พยากรณ์ได้ดีกว่าวิธีอัตราส่วนต่อวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยทั้งปี 420,382 คน การพยากรณ์จากตัวแบบเป็นการนำสิ่งที่ดำเนินไปในอดีตมาทำนายอนาคต แต่ปัจจัยที่จะที่กระทำต่อจำนวนผู้ป่วย ได้แก่ มาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศ การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการดูแลตนเองมีส่วนที่จะทำให้ค่าสังเกตุหรือค่าจริงที่เกิดขึ้นต่างไปจากค่าพยากรณ์ของตัวแบบที่ใช้เพียงข้อมูลตามที่เคยเป็นมาในอดีตบางส่วนเท่านั้น</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/252697 ข้อมูลพฤกษศาสตร์และการตรวจสอบหาสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญบางชนิดของต้นหญ้านางแดง (Bauhinia strychnifolia) 2024-03-19T17:35:37+07:00 สุรางค์รัตน์ พันแสง spunsaeng137@gmail.com พวงผกา แก้วกรม puangpaka.kae@pcru.ac.th <p>การศึกษามุ่งหมายตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยา วิสัย และชีพลักษณ์ที่สำคัญของต้นหญ้านางแดง รวมทั้งวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ คือ ฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ รวมถึงการออกฤทธิ์ต้านทานสารอนุมูลอิสระด้วยวิธีการ DPPH assay จากสารสกัดหยาบที่ได้จากส่วนลำต้น ใบ และกิ่งก้าน ผลการศึกษาพบว่าหญ้านางแดงมีวิสัยเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะสัณฐานที่สำคัญ คือ ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะเป็นร่องๆ สีออกเทาน้ำตาล และมีมือพัน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ สีเขียวเข้ม ผิวใบมัน&nbsp; ใบมีลักษณะรูปไข่ ปลายใบมีลักษณะกลม และโคนใบเว้า ดอกเป็นแบบช่อกระจะ ดอกมีสีแดง ดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง รูปทรงกระบอกแคบ และโค้งเล็กน้อย เมื่อตรวจสอบสารพฤกษเคมีพบว่าสารสกัดของต้นหญ้านางแดงทุกส่วนมีสารฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ อีกทั้งยังออกฤทธิ์ในการต้านทานสารอนุมูลอิสระ</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/252877 การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนโดยใช้เทคนิคการปรับให้เรียบ เทคนิค ARIMA และ เทคนิค Support Vector Machine 2024-05-08T13:02:13+07:00 ณพฐ์ โสภีพันธ์ nop.s@nrru.ac.th นฤเบศ ลาภยิ่งยง Narubet.L@nrru.ac.th ขนิษฐา ชมภูวิเศษ nop.s@nrru.ac.th วิวรรณ กาญจนวจี nop.s@nrru.ac.th สุภาวดี สุวิธรรมา nop.s@nrru.ac.th นิภาดา จรัสเอี่ยม nop.s@nrru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่องานวิจัยนี้ มุ่งเน้นไปที่การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้วิธีพยากรณ์ของวินเตอร์(Winter’ s Method) และเทคนิควิเคราะห์อนุกรมเวลาของบอกซ์-เจนกินส์ (Box-Jenkins) หรือ ARIMA method และ วิธี Support Vector Machine โดยเมื่อพยากรณ์แล้วจะเปรียบเทียบการพยากรณ์และหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสารสนเทศในการวางแผนและเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำฝนและสภาพอากาศของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย&nbsp; พบว่า&nbsp; เทคนิคการปรับให้เรียบสามารถใช้ได้กับตัวแบบ Winter’s method ส่วนวิธีการของ ARIMA พบว่าตัวแบบที่เหมาะสมคือ &nbsp;&nbsp;&nbsp;ซึ่งนำมาวิเคราะห์ค่าที่เหมาะสมที่สุดจากสถิติ Akaike Information Criterion (AIC) ที่ให้ค่าน้อยที่สุด&nbsp; วิธีพยากรณ์ของ Support Vector Machine (SVM)&nbsp; ได้ใช้ตัวแบบ Support Vector Regression โดยตัวแบบทั้งสามและทำการพยากรณ์ได้ค่าความคลาดเคลื่อนกับข้อมูลชุดที่ 1 Training Set วิธีที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ARIMA มีค่าวัดความคลาดเคลื่อน RMSE เป็น 62.28357&nbsp; สำหรับการพยากรณ์ข้อมูลล่วงหน้า 3 ปี Testing Set&nbsp; วิธีที่เหมาะสมมากที่สุดคือ SVM มีค่าวัดความคลาดเคลื่อน RMSE เป็น 33.84099</p> 2024-06-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา