วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal <p><a title="ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรื่อง อัตราค่าลงทะเบียนเพื่อลงตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา" href="https://drive.google.com/file/d/1WbdMvEtiCXxn5V9Pc4Z-_Uws-89EUlNm/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener"><strong>ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา </strong><strong>เรื่อง อัตราค่าลงทะเบียนเพื่อลงตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัย</strong><strong> วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</strong><strong> มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา </strong></a></p> <p><em><strong>เก็บค่าลงทะเบียน ตั้งแต่เล่มปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เป็นต้นไป </strong></em></p> <p>อัตราค่าลงทะเบียน มีดังนี้</p> <p>1. บุคคลภายใน ค่าลงทะเบียน 2,500 บาทต่อบทความ</p> <p>2. บุคคลภายนอก ค่าลงทะเบียน 3,000 บาทต่อบทความ</p> <p><strong>วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา</strong></p> <p><span data-contrast="auto"><strong> ISSN (Print) : 2465-4507</strong> <br /><strong>ISSN (Online) : 2730-3160</strong></span></p> <p><span data-contrast="auto">ได้รับการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบ 4 พ.ศ.2564 ให้อยู่ในกลุ่ม 2</span></p> <p><span data-contrast="auto">รับผลงานทางวิชาการที่เป็นต้นฉบับในรูปบทความวิจัย </span><span data-contrast="auto">บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">และบทความวิชาการปริทรรศน์</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">สามารถส่งได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">มีขอบเขตบทความวิจัยที่สามารถลงตีพิมพ์</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">ได้แก่</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์สุขภาพ</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</span><span data-contrast="auto"> </span><span data-contrast="auto">และวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมและชุมชน</span><span data-ccp-props="{&quot;469777462&quot;:[284,1418],&quot;469777927&quot;:[0,0],&quot;469777928&quot;:[1,1]}"> รูปแบบการอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม ให้ใช้รูปแบบ <span class="fontstyle0">APA 6</span><span class="fontstyle0">th </span><span class="fontstyle0">edition</span> Style </span></p> <p><strong><em>กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ </em></strong></p> <p><strong><em>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน </em></strong></p> <p><strong><em>ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</em></strong></p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ <br>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น</p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราวรรณ อุ่นเมตตาอารี) [email protected] (นางสาวธมนวรรณพร ค้าคุ้ม (ผู้จัดการวารสาร)) Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คณิตศาสตร์ง่ายนิดเดียว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/251977 <p>คณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ผู้เรียนจำนวนมากยังไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ มีเพียงความเชื่อที่ว่าคนเก่งเท่านั้นที่จะเรียนคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งไม่เป็น ความจริง คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝนเพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้กระบวนการคิด นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน อีกทั้งวิธีการที่จะทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายนั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งจะนำไปสู่การชื่นชอบในวิชาคณิตศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียน เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจแนวคิดคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน จะทำให้เกิดความสุขในการเรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่</p> กัญญาภัค ภัยแคล้ว, นาตยา ปิลันธนานนท์, ศลิษา ณรงค์เลิศฤทธิ์, สิรินาถ จงกลกลาง Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/251977 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาผลกระทบด้านการรับกำลังอัดและมลพิษสำหรับคอนกรีตสีเขียว ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้ว https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/247409 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการรับกำลังแรงอัดของคอนกรีตสีเขียวผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วเพื่องานก่อสร้าง โดยนำอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วมาผสมกับส่วนผสมแบบปกติ การเปรียบเทียบกับคอนกรีตแบบปกติที่ไม่มีส่วนผสมของอีพีเอสโฟม และการประเมินต้นทุนของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้ว การทดสอบความสามารถรับกำลังอัดระหว่างคอนกรีตแบบปกติและคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนในอัตราส่วน 0.1% 0.2% 0.3% 0.4% 0.5% 0.6% และ 0.7% ต่อน้ำหนักมวลรวมละเอียดและช่วงอายุการบ่มของคอนกรีตที่อายุ 7 14 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า คอนกรีตสีเขียวที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อค่าการรับกำลังแรงอัดที่ลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตแบบปกติ สัดส่วนของอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วที่เหมาะสม คือ ระดับไม่เกินร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักมวลรวมละเอียดและมีค่าเฉลี่ยรับกำลังแรงอัดประมาณ 218 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่นของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมเมื่อเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของคอนกรีตปกติลดลงที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 6 ต้นทุนของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วโดยประมาณ 1,980 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดลงจากต้นทุนของคอนกรีตแบบปกติประมาณร้อยละ 3 การลดปริมาณ CO<sub>2</sub> ที่ปลดปล่อยจากการกำจัดขยะอีพีเอสโฟมสำหรับการผสมในคอนกรีตมีค่าอยู่ที่ระดับ 0.02 ถึง 0.17 กิโลกรัมต่อคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร</p> จรัล รัตนโชตินันท์ Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/247409 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมเชิงมุมในคาบวงโคจรของระบบดาวคู่อุปราคา วี 1851 โอไรโอนิส https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/247329 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาบวงโคจรและลักษณะทางกายภาพของดาวคู่ วี 1851 โอไรโอนิส ซึ่งเป็นระบบดาวคู่อุปราคาประเภท W Uma โดยข้อมูลทางกายภาพเดิมบ่งชี้ว่าดาวคู่วี 1851 โอไรโอนิส กำลังเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพจากประเภทระบบดาวคู่แบบแตะกันเป็นระบบดาวคู่แบบแยกกัน &nbsp;คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนเพื่อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางกายภาพใหม่ด้วยเทคนิคโฟโตเมทรี โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร เชื่อมต่อกับระบบซีซีดีโฟโตมิเตอร์ผ่านแผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นสีน้ำเงิน (B) สี&nbsp;&nbsp; ที่ตามองเห็น (V) และสีแดง (R) ตามระบบมาตรฐาน ยูวีบี ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และในระหว่างวันที่ 22 - 23 ธันวาคม พ.ศ.2563 ผลปรากฏว่า ได้สมการ linear ephemeris ใหม่ คือ HJD = 2452617.7356 + 0.27695E คาบวงโคจรของดาวคู่วี 1851 โอไรโอนิส มีคาบเพิ่มขึ้นในอัตรา 5.02294198 × 10<sup>-17</sup> วินาทีต่อปี&nbsp; เมื่อทำการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพด้วยโปรแกรม PHOEBE พบว่า มีค่าอัตราส่วนมวลเท่ากับ 0.64694 มุมเอียงของระนาบวงโคจรเท่ากับ 87.78448 องศา อุณหภูมิของดาวปฐมภูมิและดาวทุติยภูมิเท่ากับ 5,711 เคลวิน และ 6,000 เคลวิน ตามลำดับ ดาวปฐมภูมิและดาวทุติยภูมิมีมวลเท่ากับ 18.761285 และ 12.137425 เท่าของดวงอาทิตย์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า&nbsp; ดาวคู่ วี 1851 โอไรโอนิส เป็นระบบดาวคู่&nbsp;&nbsp;&nbsp; อุปราคา ประเภท W Uma ดาวฤกษ์ทั้งสองดวงเป็นดาวแคระ มีชนิดสเปกตรัมอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่ม G0 ระบบดาวคู่นี้มี คาบวงโคจรที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าดาวฤกษ์ทั้งสองดวงของระบบดาวคู่นี้กำลังเคลื่อนห่างออกจากกัน&nbsp; ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิวัฒนาการดาวฤกษ์ตามทฤษฎีการลดลงของโมเมนตัมเชิงมุม</p> ธนวัฒน์ รังสูงเนิน; ปาจไน จอหอนอก, ปิยะนัฐ โพธิ์โหน่ง, สมานชาญ จันทร์เอี่ยม Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/247329 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 สภาวะที่เหมาะสมต่อผลิตเอทานอลจากกากกาแฟ โดย Saccharomyces cerevisiae https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/248521 <p>กากกาแฟเป็นวัสดุเศษเหลือที่เกิดจากกระบวนการชงกาแฟผงด้วยน้ำร้อนหรือไอน้ำ เป็นของเสียที่ได้จากการเตรียมกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งกากกาแฟที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นี้ถูกนำไปทิ้ง โดยไม่มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับสภาพกากกาแฟและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเอทานอล จากการศึกษาพบว่ากากกาแฟมีองค์ประกอบของเซลลูโลสร้อยละ 41.78±4.66 เฮมิเซลลูโลสร้อยละ 28.02±3.38 ลิกนินร้อยละ 29.10±0.92 และเถ้าร้อยละ 1.10±0.01 โดยน้ำหนักแห้ง นำกากกาแฟมาปรับสภาพด้วยวิธีการทางเคมีร่วมกับความร้อน และย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสความเข้มข้น 13 ยูนิต พบว่าการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกความเข้มข้นร้อยละ 1 ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที และย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลส ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 3.564±0.234 กรัมต่อลิตร จากนั้นนำกากกาแฟที่ผ่านการปรับสภาพแล้วมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอทานอลโดย <em>Saccharomyces cerevisiae </em>พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเอทานอลคือ การใช้แอมโมเนียมฟอสเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28 องศาเซลเซียส และให้อัตราการเขย่าที่ 150 รอบต่อนาที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง โดยให้การผลิตเอทานอล อัตราการใช้สารตั้งต้น และอัตราการผลิตเท่ากับ 7.92±0.02 กรัมต่อลิตร, 0.01±0.001 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และ 0.11±0.001 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ ดังนั้นกากกาแฟสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกในอนาคตได้</p> กนกรัตน์ ใสสอาด, เบญจมาศ หนูแป้น Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/248521 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/248412 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ดูแลระบบที่ปฏิบัติหน้าที่พัสดุ จำนวน 2 คน และกลุ่มผู้ใช้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการรับ-จ่ายพัสดุ จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เว็บแอปพลิเคชันระบบตรวจสอบครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ พัฒนาด้วยภาษา PHP ร่วมกับ Bootstrap Framework รวมถึงการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ดูแลระบบ 3) แบบศึกษาความต้องการระบบ 4) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สำหรับผลการวิจัยพบว่า ปัญหาจากการดำเนินงานระบบงานเดิมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ความต้องการระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 สำหรับผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีการทำงานได้อย่างถูกต้องครบทุกฟังก์ชัน ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 โดยแยกประเด็นเป็นรายด้าน ด้านที่ 1 การตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ด้านที่ 2 ด้านการใช้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ด้านที่ 3 การทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82</p> สุพัชชา คงเมือง, มรกต การดี Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sciencenrrujournal/article/view/248412 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700