@article{หวังเจริญ_ชุติมาสกุล_2021, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={The efficiency study of remote healthcare technology in stimulating development of early childhood with developmental delay: a pilot study: การศึกษาประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลกับการกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า: การศึกษานำร่อง}, volume={7}, url={https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/244055}, abstractNote={<p>การกระตุ้นพัฒนาการเด็กช่วงขวบปีแรกเป็นช่วงที่สำคัญ เพราะสมองเด็กในช่วงนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะเด็กที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จำเป็นต้องอาศัยการกระตุ้นที่ถูกวิธี และต้องได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์หรือนักกระตุ้นพัฒนาการวิชาชีพ แต่ท่ามกลางปัญหาการเฝ้าระวังช่วงโควิด-19  การเดินทางไปพบแพทย์มีความลำบาก เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย การเฝ้าติดตามอาการและการวินิจฉัย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการกับทีมแพทย์ โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการกระตุ้นพัฒนาการผ่านเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลกับแบบเดิม ในเด็กที่มีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเด็กอายุ 2–18 เดือน จากคลินิกพัฒนาการทารกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้แบบประเมินความก้าวหน้าพัฒนาการของ MSEL และการสัมภาษณ์ รวมทั้งการใช้ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าการกระตุ้นพัฒนาการผ่านเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ต่างกับการกระตุ้นพัฒนาการแบบตัวต่อตัว แต่อย่างไรก็เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการรับดูแลอย่างต่อเนื่อง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ}, author={หวังเจริญ สโรญา and ชุติมาสกุล วิเชียร}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={73–81} }